SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/2280986395508404/

หลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2562  นี้ ทุกคนที่ได้ดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคาร จะต้องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่ได้จากเงินฝากไปยังกรมสรรพากร มิเช่นนั้นจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากดอกเบี้ยดังกล่าว แต่สำหรับคนที่ได้ดอกเบี้ยเงินฝากรวมเกินปีละ 20,000 บาท จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% อยู่แล้ว ไม่ว่าจะยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดังกล่าวให้กรมสรรพากรหรือไม่

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. กรมสรรพากรออกประกาศฉบับใหม่เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้จาก ‘ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร’ โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือการกำหนดเงื่อนไขของผู้ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากใหม่

จากเดิมคนที่ได้ดอกเบี้ยรวมกันทุกบัญชีของทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 บาท/ปี ทุกคน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15%

แต่หลังจากวันที่ 15 พ.ค. นี้เป็นต้นไป คนที่ได้ดอกเบี้ยรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีก็ต่อเมื่อยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวให้กับกรมสรรพากรเท่านั้น หากไม่ยินยอมให้ส่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่ว่าดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นจะน้อยเพียงใดก็ตาม

สำหรับผู้ที่ได้ดอกเบี้ยรวมเกิน 20,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% อยู่แล้วไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรหรือไม่

เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.50 คนที่จะได้รับดอกเบี้ยมากกว่า 20,000 บาทต่อปี จะต้องมีเงินในบัญชีทุกธนาคารรวมกันมากกว่า 4,000,000 บาท

ในขณะที่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเดือน ก.พ. 62 ระบุว่า บัญชีเงินฝากในประเทศที่มีเงินในบัญชีมากกว่า 1,000,000 บาท มีอยู่แค่ประมาณ 1% จากบัญชีเงินฝากทั้งหมดกว่า 88 ล้านบัญชี การปรับเงื่อนไขใหม่นี้จึงไม่ได้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องเสียภาษีมากขึ้น แต่ผู้มีบัญชีเงินฝากอาจต้องไปแจ้งให้ความยินยอมกับธนาคารทุกแห่งที่เปิดบัญชีไว้

ด้านกรมสรรพากรยืนยันว่า มาตรการใหม่นี้ไม่กระทบประชาชนส่วนใหญ่ แต่ปรับเงื่อนไขยกเว้นภาษีเงินฝากเพื่อแก้ปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ที่เงินฝากจำนวนมาก เพราะที่ผ่านมาข้อมูลของแต่ละธนาคารไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้ผู้ฝากเงินสามารถเปิดบัญชีกระจายไปหลายๆ ธนาคาร เมื่อดูดอกเบี้ยที่ได้จากธนาคารแห่งเดียวอาจไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่จริงๆ เมื่อรวมดอกเบี้ยที่ได้รับจากทุกบัญชีธนาคารแล้วกลับได้ดอกเบี้ยเกินเกณฑ์ หรือบางคนก็หลบเลี่ยงโดยการปิดบัญชีก่อนได้ดอกเบี้ยเกินเกณฑ์ แล้วเปิดบัญชีใหม่

ดังนั้น เมื่อเพิ่มเงื่อนไขให้ผู้ฝากเงินต้องยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากเงินให้กับกรมสรรพากรปีละ 2 ครั้ง กรมสรรพากรก็จะทราบข้อมูลทั้งหมดว่ามีใครบ้างที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า