SHARE

คัดลอกแล้ว

ถนอม เกตุเอม หรือ ‘พรี่หนอม’ แห่ง TAXBugnoms บล็อกเกอร์-อินฟลูเอนเซอร์ด้านภาษี เล่าถึงบทเรียนชีวิตหลังเกษียณในรายการ AIM NIGHT ว่า ทำไมถึงต้องเตรียมพร้อมก่อนเกษียณ โดยเล่าถึงชีวิตของคุณพ่อที่ช่วงสุดท้ายป่วยเป็นอัลไซเมอร์ และไม่ได้เตรียมการใดๆ ไว้ ทำให้ ‘พรี่หนอม’ เห็นถึงความสำคัญ และได้เข้ามาช่วยเตรียมข้อมูลที่จำเป็นหลายๆ อย่างใส่ Google sheet ไว้ให้คุณพ่อ จนถึงจุดที่คิดถึงตัวเองว่า “ถ้าเราเตรียมไว้ด้วยก็คงจะดี”

พรี่หนอมเล่าว่า สำคัญมากที่ควรจะต้องมีการดีไซน์ออกแบบไว้เลย โดยทั่วไปเราไม่ค่อยดีไซน์ชีวิตตอนตาย แต่ดีไซน์ไว้ว่า ปีหน้าต้องได้โปรโมทเลื่อนตำแหน่ง ซื้อบ้านตอนไหน แต่ไม่ดีไซน์วันสุดท้ายของชีวิตเราว่าเป็นอย่างไร

จึงคิดว่าหากเราเตรียมพร้อมไว้ก็จะเป็นประโยชน์

“เพราะสุดท้ายวันหนึ่งชีวิตเราอายุ 60 ปี ทำงาน หากจากโลกนี้ไปตอนอายุ 80 ปี เท่ากับครึ่งชีวิตที่ทำมาคือสิ่งที่รับส่วนที่เหลือ ดังนั้นเราเตรียมพร้อมอะไรบ้างหรือไม่..เรื่องนี้สำคัญ”

พรี่หนอม อธิบายว่า วันนี้ถ้าถามว่าคนไทยมีความพร้อมเรื่องเกษียณแค่ไหน เท่าที่ดูเฉลี่ยอายุ 42 ปี จะเริ่มคิดเรื่องเกษียณ ซึ่งถ้าพอให้มีชีวิตรอดตอนนี้อย่างต่ำต้องมี 4-7 ล้านบาท คิดเผื่อเงินเฟ้อ อันนี้เรียกว่า ‘พอรอด’ ซึ่งตัวเลขนี้ก็ต้องมีบ้านแล้วด้วย

ดังนั้นเราต้องตระหนักและเตรียมให้พร้อม แต่คิดว่าคนส่วนใหญ่ลืมเรื่องนี้ และมักจะลืมว่าเราจะมีวันนั้น วันที่หยุดทำงาน ซึ่งเราอาจไม่ใช่เกษียณที่อายุ 60 ปีก็ได้ ดังนั้นพอเราไม่ได้คิดถึงวันนั้น จึงไม่เห็นภาพ เห็นแต่ภาพปัจจุบันเงินเดือนเข้า ทำงานไปทนๆ ไป เห็นอนาคตแบบปีหน้าสู้ใหม่ ถ้าออกจากงานก็หางานใหม่

“แต่ต้องคิดว่า มันจะมีวันหนึ่งที่ไม่ได้จริงๆ ถ้าวันนั้นมาถึง ผมอาจจะพูดได้ ต่อให้คุณเก็บเงินเกษียณ หรือไม่เก็บเงิน คุณรับสภาพคุณได้หรือไม่ หรือถ้าโอเครับได้ วันนี้ขอใช้ชีวิตให้มีความสุข วันเกษียณช่างมัน อย่างนี้คุณโอเคจริงหรือเปล่า แต่ถ้าไม่โอเค ก็ต้องมีเก็บให้เท่าพื้นฐานก็น่าจะดี”

ใครที่พออายุถึง 42 ยังไม่ได้เริ่มต้น แบบนี้ต้องมีอะไรบ้าง?

พรี่หนอม บอกว่า เช็กก่อนตอนนี้มีอะไรบ้าง อย่างน้อยไม่ได้มีหนี้ภาระใหญ่ ถ้าเหลือหนี้บ้านผ่อนอีกหน่อยได้บ้าง อันนี้ก็โอเค ถ้าไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงิน ทุกเดือนมีสภาพคล่องที่ดี คือมีเงินเหลือต่อเดือน จะมากน้อยแต่เหลือ และมีหนี้ที่จัดการได้ มีปลายทางที่ดี แบบนี้พอมองและวางแผนเพิ่มเติมได้ แต่วันนี้ถ้ากลับไปเช็กไม่มีแบบที่บอกมา อย่างนี้น่ากลัว

ดังนั้นอายุ 40 ปี จะเป็นวัยที่ต้องตอบให้ได้ว่าในวันที่เลิกทำงาน ต้องการเงินเท่าไหร่ ถึงจะพอโอเคกับชีวิต

อย่างมี 1 ล้านทำอะไร อยากจะเล่นหุ้น ลองแบ่งมาเล่นดูน้อยๆ ถ้าถูกทาง ทำเป็น มีความเข้าใจก็ค่อยๆ เพิ่มได้ แต่ถ้าเล่นหุ้นไม่ได้กำไร ให้กลับมาทบทวนความรู้ใหม่ คิดลงทุนในความรู้

แต่เรื่องหนึ่งที่ต้องย้ำ คือ เราอาจจะเปลี่ยนวิธีคิดได้ด้วยว่า “ผิดพลาดให้น้อย และรักษาเงินต้น”

“ถ้าเราไม่รู้ อันดับแรก ถ้าไม่รู้ รักษาเงินต้นไม่ให้หาย โอเคเงินเฟ้อกิน 1-2 ปี ไม่ตาย แต่ลงล้านหนึ่งไปหาย สูญหมด แต่เงินเฟ้อ 3 ปี กินไป 10% แบบนี้ไม่เจ็บปวดมาก เท่ากับลงอะไรไปไม่รู้และหายไปเลย”

พรี่หนอม เล่าถึงเคสตัวอย่างว่า ส่วนใหญ่ที่ได้ยินมา ผู้ใหญ่หลายคนพอรู้จะเกษียณได้เงินก้อน หลายคนไปซื้อรถให้ลูก แล้วตัวเองจะใช้อะไร บางคนไปลงทุนทำธุรกิจเจ๊งและหายไปหมด ดังนั้น รักษาเงินต้นให้ได้ก่อนดีกว่า ตราบใดมีเงินยังบริหารจัดการได้ แต่ไม่มี ถ้า หนึ่งล้านหมดไปตอนเกษียณ จะกลับมาไม่ได้ เพราะจะเสียกำลังใจ จะพลาดไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ดังนั้นการจัดการตัวเองตอนที่มีเงิน อย่าเอาไปใช้เรื่องที่ทำให้เสียเงิน แต่เก็บไว้เพื่อตัวเองก่อน

คนแก่คนเฒ่าที่หลงเอาเงินไปลงทุนให้กับธุรกิจเครือข่ายลูกโซ่ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

พรี่หนอม บอกว่า คนแก่คนเฒ่าเอาเงินไปลงทุน ส่วนหนึ่งถ้าไปถามคนรู้จักเคสนี้ (กรณีธุรกิจเครือข่ายที่เพิ่งเป็นข่าวโด่งดัง) พ่อแม่โดนเพียบ และหลายคนก็ทำงานในหน่วยงานราชการ มองแง่ดี คนส่วนใหญ่ที่โดนหลอก เพราะเงินเกษียณไม่พอ จึงอยากจะสร้างเพิ่มไม่ลำบากลูกหลาน

“มองแง่บวกทุกคนคิดแบบนั้น เพราะเรายิ่งแก่ เรากลัวคุณค่าเราหายไป ยิ่งเราอายุเยอะ เพราะเรารู้ว่าแรง พลังเราสู้เด็กๆ ไม่ได้ อดทนไม่ได้ ทำงานหนักกว่าก็ไม่ได้ เราไม่สามารถใช้ร่างกายตอนอายุเยอะสู้กับเด็ก ดังนั้นคุณค่าเราค่อยๆ หาย จึงเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ทำให้คุณค่าเราหายไปช้าที่สุดในมุมทุนคือ คุณยังหาเงินได้ จึงเป็นโจทย์ว่าทำไมคนแก่คนเฒ่าที่ไม่มั่นคงกับชีวิตถึงพยายามทำ เพราะนั่นคือคุณค่าที่เขาอยากมี”

‘พรี่หนอม’ ย้ำว่า ความน่ากลัวของวัยเกษียณที่ไม่เตรียมพร้อมส่วนใหญ่ คือ เงินหาย กลับมาทีี่โจทย์คือ จะพึ่งใคร ตัดเรื่องกตัญญูก็ได้ มันเป็นสิ่งที่คนถกเถียงว่าต้องช่วยหรือไม่ แต่ถ้าเราตัดเรื่องกตัญญูสุดท้ายถ้าเลี้ยงลูกคูณดี ลูกคุณไม่ทิ้งคุณ ผมเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดีเขาจะไม่ทิ้งเรา แต่คุณโอเคหรือไม่

ดังนั้นระวังอย่าเสี่ยง เพราะสุดท้ายถ้าคุณต้องพึ่งคนที่คุณรักที่สุด คุณเห็นเขาต้องลำบากเพราะคุณ คุณไม่โอเค หมดทั้งความเชื่อมั่น หมดทั้งความรู้สึกตัวเอง ถ้าทำได้ ระวังอย่าเสี่ยง

และถ้าเป็นไปได้ ทำอะไรอยากให้เก็บเงินเกษียณให้พร้อมและทำยังไงก็ได้อย่าให้เงินหายไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า