SHARE

คัดลอกแล้ว

TCEB คาดปี’ 64 อุตสาหกรรมไมซ์ ทำรายได้เข้าประเทศ 23,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 3.5% หลังมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังจากภาพรวมไมซ์ปี’63 ติดลบ 70.38% เร่งขับเคลื่อนแผนแม่บท “ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์” กระตุ้นและสนับสนุนการจัดงานไมซ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ พร้อมจัด Thailand International Air Show ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2566

นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการสายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) หรือ TCEB เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ ซึ่งไมซ์เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งในและต่างประเทศ ปี 2563 (ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เกิดค่าใช้จ่ายจากการจัดกิจกรรมไมซ์ (Expenditure) รวมมูลค่ากว่า 165,823 ล้านบาท ติดลบ 70.38% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 (559,840 ล้านบาท) ก่อให้เกิดรายได้ประชาชาติ (GDP Contribute) รวมมูลค่า 162,976.01 ล้านบาท

ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้จากการจัดกิจกรรมไมซ์ 11,590 ล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไมซ์เพื่อการจัดงาน 95,314 อัตรา ซึ่งการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการจัดกิจกรรมไมซ์ในประเทศไทย ทำให้ภาพรวมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ทุกประเภทในปีงบประมาณ 2563 ลดลงกว่า 60% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

“โควิดส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ทำให้ลดลง 70% แต่ถ้าเทียบกันกับประเทศเพื่อนบ้าน เรายังสามารถจัดงานได้ใน 30% ในขณะที่เพื่อนบ้านหายไปเลย 100% ดังนั้นมีหลายส่วนที่ต้องขอบคุณของนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสาธารณสุข ในขณะเดียวกันเรายังมีงานไมซ์ในประเทศที่เป็นตัวแปร พยุงเศรษฐกิจในด้านนี้อยู่ค่ะ” นิชาภา กล่าว

หลังจากในปี 2562 ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เกิดค่าใช้จ่าย 559,840 ล้านบาท เฉพาะไมซ์ในประเทศมูลค่า 279,330 ล้านบาท, ไมซ์ต่างประเทศมูลค่า 280,510 ล้านบาท คิดเป็น GDP=3.27%

เกิดการจ้างงาน 321,918 อัตรา และในสถานการณ์ปกตินักเดินทางไมซ์จะมีการใช้จ่ายต่อคนต่อทริป อยู่ที่ประมาณ 70,000 บาท ซึ่งจะสูงกว่านักเดินทางทั่วไป

ขณะที่ภาพรวมกิจกรรมงานแสดงสินค้านานาชาติ หรือ Exhibitions ในปี 2562 ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เกิดค่าใช้จ่าย 307,620 ล้านบาท คิดเป็น 54.95% ของอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งหมด จากการจัดการแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ 430 งาน

  • ไมซ์ในประเทศมูลค่า 216,800 ล้านบาท จำนวนงานในประเทศ B2B & B2C จำนวน 300 งาน
  • ไมซ์ต่างประเทศมูลค่า 90,820 ล้านบาท จำนวนงานงานแสดงสินค้านานาชาติ B2B จำนวน 127 งาน

นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการสายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) หรือ TCEB

นิชาภา ยังเปิดเผยกับ workpointTODAY อีกว่า TCEB ตั้งเป้าหมายอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้านานาชาติในปี 2564 จะเติบโตขึ้น 3.5% คาดการณ์รายได้เข้าประเทศ 23,000 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลของประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด หากใช้ได้ผลจริงๆ ก็เชื่อว่าในไตรมาสสอง ปี 2564 จะสามารถเปิดน่านฟ้าได้ ซึ่งคาดว่าจะมีนักเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาอีกจำนวนมาก เพราะปัจจุบันนี้มีกลุ่มของนักธุรกิจที่เป็นชาวต่างชาติจ่อ ขอเข้ามาสู่ในประเทศไทย เพื่อจะทำธุรกิจเพิ่มเติมอยู่ประมาณเกือบ 200 กรุ๊ป

ปี 2566 เตรียมจัดงานนิทรรศการการบิน “Thailand International Air Show” ครั้งแรกในไทย และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะเดียวกัน TCEB ได้เร่งผลักดันแผนแม่บทอุตสาหกรรม “ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์” หนึ่งในแคมเปญสำคัญของการกระตุ้นและสนับสนุนการจัดงานไมซ์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนฟื้นฟูธุรกิจสาขาต่าง ๆ โดยแผนแม่บทฯ นี้เป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนและส่งเสริมงานแสดงสินค้านานาชาติในกลุ่มโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน (Logistics & Infrastructure หรือ ล็อก-อิน) พร้อมประกาศพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและเอกชน

ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์ อยู่ในแผนการดำเนินงานของ TCEB ต่อเนื่อง 3 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมล็อก-อิน และอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยงานแสดงสินค้านานาชาติ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน สร้างการค้า ต่อยอดการลงทุน ส่งเสริมธุรกิจตั้งแต่ขนาดย่อมจนถึงขนาดใหญ่ เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะในแต่ละอุตสาหกรรม นำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าสู่ประเทศไทย โดยไม่ได้กระจุกตัวเพียงศูนย์กลาง แต่ยังกระจายโอกาสและรายได้สู่ภูมิภาค ตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในแต่ละอุตสาหกรรมกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และเสริมสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านงานแสดงสินค้านานาชาติ และจุดหมายปลายทางธุรกิจระดับโลก นำไปสู่การสร้างงาน Thailand International Air Show ซึ่งจะเป็นงานจัดแสดงสินค้าของกลุ่มการบินและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทยในฐานะผู้นำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมแสดงสินค้านานาชาติ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปูทางพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์แบบก้าวกระโดดขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

“ซึ่งในปีนี้มีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแผนแม่บทฯ ถึง 5 งาน ภายใต้ 3 อุตสาหกรรมภายใต้แผนแม่บทฯ นี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมด้านการเดินเรือ และอุตสาหกรรมด้านเมืองอัจฉริยะ และคาดว่าจะมีงานแสดงสินค้านานาชาติภายใต้แผนแม่บทฯ ทั้งงานที่มีการขยายโพรไฟล์ในอุตสาหกรรม ภายใต้แผนแม่บทฯ และงานจัดในพื้นที่อีอีซี รวมถึง 15 งานด้วยกัน ภายในปี 2568” นิชาภา กล่าว

สำหรับงานแสดงสินค้าระดับโลกด้านอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อย่าง Thailand International Air Show จะจัดเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2566 และจัดงานอย่างเต็มรูปแบบในปี 2568 ตั้งเป้าว่าจะมีการจัดงานทุกๆ 2 ปี และหมุนเวียนไปจัดตามหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศด้วย

“ทีเส็บมีความตั้งใจทำจะ Thailand International Air Show เพื่อประกาศศักยภาพประเทศไทย เบื้องต้นได้มีการคุยกับออแกไนเซอร์จากประเทศอังกฤษ ที่อยากจะนำงาน Farnborough International Airshow ใหญ่เป็นที่สองของโลกนำงานมาจัดที่เมืองไทย แต่ด้วยสถานการร์โควิด เรามีแผนรองรับไว้ว่าถ้าหากเขาไม่สามารถนำงาน Farnborough มาจัดในไทย เอเชียเวอร์ชั่นได้ เราก็จะมีการพัฒนางานในประเทศให้ออแกไนซ์ที่มีโปรไฟล์นี้ด้วย”

“การจัดงานแอร์โชว์นานาชาติถือว่าเป็นการเร่งรัดให้การพัฒนาการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของบ้านเราให้เติบโตไปอีกระดับหนึ่ง และเป็นระดับที่เป็นมูลค่าสูง ถ้าได้อย่างนั้นประเทศไทยก็จะมีรายได้ที่มั่นคงขึ้น ยาวนานขึ้น และยั่งยืนขึ้น นี่คือวัตถุประสงค์

เหตุผลที่เลือกพื้นที่อีอีซี เพราะว่าสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งอู่ตะเภามีแผนที่จะอัปเกรดของสนามบิน ต่อไปก็จะไปเป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ ทีเส็บคิดว่าถ้าจะประกาศตัวเป็นสนามบินเชิงพาณิชย์ ก็น่าจะเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักของทั่วโลก วิธีการเปิดตัวง่ายสุด ก็คือเอาคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทางด้านการบินทั้งหมดมางานแอร์โชว์”  นิชาภา กล่าวเพิ่มเติม

ความหวังนิทรรศการอุตสาหกรรมอากาศยาน กับภาวะธุรกิจสายการบินที่กำลังขาดทุน

การตัดสินใจจัดงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน แน่นอนว่าย่อมมาพร้อมกับคำถามถึงช่วงเวลาในการจัดงานที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะเมื่อช่วงปีที่ผ่านมาสภาวะล็อกดาวน์ หยุดการเดินทางจากผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมนี้ทั่วโลกต้องหยุดชะงัก พากันขาดทุนอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ในมุมมองของนิชาภา เชื่อว่าสถานการณ์ภาพลบที่เกิดขึ้น ทั้งหมดเป็นผลจากโควิด ถ้าไม่มีโควิดการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมอากาศยานจะเติบโต 16% แล้วไทยอยู่ในอันดับต้นของการพัฒนาอากาศยาน และทางด้าน Maintenance Repair and Overhaul (MRO) ประกอบกับ Aerospace Aviation (การบินและอวกาศ) ก็เป็นหนึ่งในเรื่องหลักของอีอีซี และภาครัฐ ซึ่งเชื่อมั่นว่า Thailand International Air Show จะทำให้นโยบายการสนับสนุนมีความชัดเจน รูปแบบของโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวของกับการบินและอวกาศมีความชัดเจนมากขึ้น เชื่อมั่นว่าจากนโยบายต่างๆ ของภาครัฐจะให้ความมั่นใจกับนักลงทุนได้ว่ามีนโยบายภาครัฐรองรับในระยะยาว และคุ้มค่ากับการลงทุน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า