SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยเสนอเป็นเจ้าภาพจัด 3 เมกะอีเว้นท์ ‘TCEP-Expo2028-มหกรรมพืชสวนโลก’ หนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รับนักท่องเที่ยว สร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบ 6 พื้นที่อุทยาน 3 จว.อันดามัน เสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

วันที่ 16 พ.ย. 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม.สัญจร เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการงานเมกะอีเว้นท์ รวม 3 รายการ ดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(ทีเส็บ) ประกอบด้วย 

การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก (ระดับบี) ที่จ.อุดรธานี ในปี 69 

การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก (ระดับเอ1) ที่จ.นครราชสีมาในปี 72 

และการจัดงานเอ็กซ์โปวาระพิเศษ จ.ภูเก็ต ในปี 71 

ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ ทีเส็บ จะเป็นผู้ยื่นประมูลสิทธิ์ให้ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้จัดงานต่อไป

ทั้งนี้ หากประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพเมกะอีเว้นท์ทั้ง 3 งาน กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ประเมินว่าจะสามารถสร้างเงินสะพัดในประเทศไทยรวม 100,173 ล้านบาท ผลักดันการเติบโตให้จีดีพีได้ 68,520 ล้านบาท สร้างรายรับภาษีให้ภาครัฐ 20,641 ล้านบาท และ สร้างการจ้างงาน 230,442 คน

สำหรับการเป็นเจ้าภาพการจัดงานเมกะอีเวนท์ดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อรองรับนักเดินทางจากทั่วโลก สร้างการจ้างงานผลักดันการเติบโตของจีดีพี พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านนวัตกรรมการเกษตร การแพทย์ ภาคบริการและภาคท่องเที่ยว ตลอดจนการพัฒนาหลังการจัดงานให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในระยะยาว

น.ส.ไตรศุลี ยังกล่าวอีกว่านอกจากนี้ ครม. ยังเห็นชอบให้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก ต่อศูนย์มรดกโลก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และ ครม.ยังได้เห็นชอบเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ทั้งนี้ ข้อมูลแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ที่เสนอครั้งนี้ เป็นพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ระนอง , จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต ประกอบด้วย 6 พื้นที่อุทยาน และ 1 พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่รวม 290,800 เฮกตาร์ หรือประมาณ 2,908 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นพื้นที่นำเสนอ 1,159.55 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่กันชน 1,748.45 ตารางกิโลเมตร ดังนี้

จ.ระนอง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง มีลักษณะเด่นคือ มีป่าชายเลนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ พบซุ้มหินชายฝั่งและถ้ำทะเลที่สวยงาม พบสัตว์หายากหลากหลายชนิด เช่น ชะนีมือขาว ค้างคาวแม่ไก่เกาะ , อุทยานแห่งชาติแหลมสน ลักษณะเด่น มีความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งที่อยู่อาศัยทางทะเลและชายฝั่งที่หลากหลายและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญ เช่น เต่าหญ้า และป่าชายเลนจังหวัดระนอง มีลักษณะเด่นคือ เป็นพื้นที่ป่าชายเลนแห่งแรกของโลกที่ได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

จ.พังงา ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีลักษณะเด่นคือ มีแนวปะการังขนาดใหญ่ที่ก่อตัวต่อเนื่องกันเป็นลักษณะซึ่งจัดได้ว่ามีการพัฒนาสูงสุดในประเทศไทย จึงเป็นแหล่งดำน้ำที่สวยงามและมีชื่อเสียงระดับโลก, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ลักษณะเด่น อุดมไปด้วยปะการังหลายชนิดที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศ โดยเป็นแนวปะการังน้ำลึกและเป็นที่อยู่ของสัตว์ทะเลหายาก เช่น กระเบนราหู วาฬหัวทุย และโลมา และอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง มีลักษณะเด่นคือ เป็นแหล่งวางไข่ที่สำคัญของเต่ามะเฟืองที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวบนชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย

จ.ภูเก็ต ได้แก่ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ มีลักษณะเด่นคือ มีแนวปะการังริมฝั่ง ทอดตัวยาวขนานกับชายฝั่งถึงเกาะภูเก็ตทางใต้

อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยจัดส่งเอกสารบัญชีรายชื่อเบื้องต้น พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ให้ศูนย์มรดกโลกได้ภายในวันที่ 15 เมษายน 2565 จะได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 45 เพื่อให้การรับรองการเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลกและจะสามารถจัดส่งเอกสารการนำเสนอเป็นมรดกโลกได้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า