SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีดีอาร์ไอ เตือนปรับลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าต้องศึกษาให้รอบด้าน หลังรมว.คมนาคม มีแนวคิดจะลดราคาเหลือ 15 บาทตลอดสายมองจะเป็นภาระที่ต้องชดเชยหนักมาก สนับสนุนที่ราคา 30 บาทต่อเที่ยว

สุเมธ องกิตติกุล ภาพจาก / Thailand Development Research Institute (TDRI)

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นกรณีการแก้ปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้า ที่มีแนวคิดจาก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่พูดถึงตัวเลขราคา 15 บาทตลอดสาย ว่า การกำหนดราคาค่าโดยสารเท่าไหร่จะเหมาะสม จำเป็นต้องศึกษาจากองค์ประกอบรอบด้าน เช่น ฐานรายได้ต่อเดือนของผู้ใช้บริการ รายละเอียดของโครงข่ายเส้นทางและอื่นๆ

ยกตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลในต่างประเทศ ต้นทุนค่าเดินทางในระบบรถไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายต่อเดือน สิงคโปร์ ค่าเดินทางจะอยู่ที่ 4-5 % ส่วนของคนไทยนั้น ข้อมูลเบื้องต้นค่าโดยสารเดินทางไปกลับต่อวันของรถไฟฟ้า ไม่ควรเกิน 100 บาท เมื่อวางเป็นโจทย์แล้ว มาคิดต่อว่าถ้าค่าเฉลี่ยของรถไฟฟ้าเดินทางต่อเที่ยวอยู่ที่ 30 บาท หรือไปกลับวันละไม่เกิน 60 บาท ประชาชนที่มีฐานเงินเดือนประมาณเดือนละ 18,000 บาท มีต้นทุนค่าโดยสารต่อเดือนประมาณ 1,200 บาท ถือเป็นต้นทุนที่ผู้ใช้บริการจะพอแบกรับไหว ประเมินเบื้องต้นว่า ค่าเดินทางระบบรถไฟฟ้าทั้งโครงข่าย 30 บาทต่อเที่ยว ถือเป็นราคาที่เหมาะสม

นายสุเมธ ยอมรับว่า การกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ต้องนำไปสู่การชดเชยให้กับเอกชนผู้ถือสัมปทานนั้น ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอยู่ในพื้นฐานที่ไม่เป็นภาระมากเกินไป ส่วนประเด็นว่า หากมีการกำหนดกรอบค่าโดยสารไม่ว่าจะเป็น 15 บาทต่อเที่ยว หรือ 30 บาทต่อเที่ยว ในส่วนสัมปทานเดินรถไฟฟ้าที่ภาครัฐกับเอกชนมีในปัจจุบัน จะต้องจ่ายชดเชยมากแค่ไหนนั้น

กรณีกำหนดค่าโดยสารต่อเที่ยว 15 บาทนั้น คิดง่ายๆ ว่า หากคำนวณจากผู้โดยสาร เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอสวันละ 800,000 คน รถไฟฟ้าใต้ดิน 300,000 คน รถไฟฟ้าสีม่วงอีก 100,000 คน แอร์พอร์ตลิ้งค์ 100,000 คน ไปคำนวณกับค่าโดยสารเฉลี่ยของผู้โดยสารปัจจุบันคนละ 30 บาท เห็นชัดเจนว่าจะต้องไปชดเชยให้แก่การเดินทางของประชาชนเฉลี่ยคนละ 15 บาทต่อวัน ส่วนนี้ถือว่าเป็นภาระค่อนข้างหนัก

ทั้งนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ต้องศึกษาในรายละเอียดด้วย เช่น การนำระบบตั๋วพิเศษ เช่น ตั๋วรายสัปดาห์ ตั๋วเดือน มาเป็นกลไกช่วยลดภาระให้แก่ประชาชน นอกจากนี้ การปรับลดค่าโดยสาร ทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้น จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างที่อยู่อาศัยภายในเมืองตามแนวรถไฟฟ้าด้วย ขณะที่ กรมการขนส่งทางราง มีการศึกษาเรื่องการชดเชยต้นทุนค่าเดินทางให้แก่ประชาชนนั้น จะดำเนินการลักษณะนำเงินภาษีท้องถิ่นหรือมีการตั้งกองทุน แบบใดจึงจะเหมาะสม ถือว่าเป็นเรื่องต้องไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทางด้านนายอาณัติ อาภาภิรม ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ระบุว่า ทางบีทีเอสเองพร้อมที่จะปรับลดค่าโดยสารลงตามแนวทางของ รัฐมนตรีคมนาคม คนใหม่ ที่มีแนวทางจะลดค่าโดยสารบีทีเอสเป็น 15 บาทตลอดสาย แต่ทั้งนี้ก็ต้องมาดูด้วยว่าหลังจากลดค่าโดยสารแล้ว ทางภาครัฐมีมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างไร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า