Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
มติ สพฐ. ยกเลิกสอบเข้า ป.1 ให้ผู้ปกครองสัมภาษณ์-จับฉลากแทน พร้อมปรับการเรียนการสอนลดการบ้าน และจำกัดจำนวนเด็ก 40 คน/ห้อง คาดเริ่มปีการศึกษา 2564

รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยกับทีมข่าว workpointTODAY ว่า ตาม พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 ในมาตรา 8 บอกไว้ว่า ห้ามจัดการศึกษาเพื่อสอบแข่งขัน ซึ่งโรงเรียนของ สพฐ.ส่วนใหญ่จะจับฉลากคัดเลือก แต่ก็มีบางโรงเรียนที่ใช้การสอบหรือสัมภาษณ์เด็ก เพื่อคัดเลือกเข้าห้องเรียนโปรแกรมพิเศษ ซึ่งจริงๆ ไม่ควรมีการสอบเข้า ป.1 ทั้งหมด เพราะเด็กทุกคนควรมีโอกาสเข้าเรียนเท่ากัน ไม่ควรสอบเพื่อคัดเลือก

จากมติคณะกรรมการ กพฐ. จะมีการให้ผู้ปกครองสัมภาษณ์และจับฉลากแทนเด็ก ซึ่งการสัมภาษณ์ผู้ปกครองเป็นการทำให้โรงเรียนและครูรู้จักและเข้าใจเด็กมากขึ้น จากสภาวะการเลี้ยงดูของครอบครัว เพื่อที่จะทำให้ครูดูแลเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม วางแผนพัฒนาเด็กพร้อมกับผู้ปกครอง และส่งเสริมเด็กให้ตรงจุด ไม่ใช่การสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกและตัดสินการเข้าเรียนของเด็ก ส่วนเรื่องให้ผู้ปกครองจักฉลากเข้าเรียนแทน ก็ไม่ควรพาเด็กมาดูด้วย เพื่อเป็นการลดความกดดันของเด็ก

นอกจากนี้ยังมีมติร่วมกันว่า ให้มีการจำกัดจำนวนเด็กแค่ 40 คนต่อห้อง และไม่เพิ่มจำนวนห้อง เพื่อให้ครูดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง และคาดว่าในปี 2565 จะลดจำนวนเหลือเพียง 35 คนต่อห้อง เพื่อให้การดูแลเด็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนการเรียนการสอนก็จะมีการปรับให้เน้นพัฒนาศักยภาพของเด็ก โดยลดการบ้านให้น้อยลง และเพิ่มการเรียนรู้ในห้องเรียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันทั้งครูและนักเรียน รวมถึงเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกด้วย ซึ่งมตินี้จะเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2564

ด้าน  ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์  จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ความเครียดความกดดันของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งสภาวะแวดล้อมหรือสภาวะครอบครัว ซึ่งการสอบแข่งขัน แน่นอนว่าตัวเด็กเองหรือครอบครัวต้องมีความกดดัน ความเครียด ความคาดหวังเกิดขึ้นอยู่แล้ว ถ้าเด็กบางคนไม่สามารถรับความคาดหวังนั้นได้ ก็อาจส่งผลกระทบทำให้รู้สึกว่าเขาไม่อยากเรียน เพราะเขายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการแข่งขัน พ่อแม่อาจจะอธิบายว่า การสอบเข้าก็เพื่อทำให้ลูกได้เรียนโรงเรียนดีๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราต้องมาดูว่าเด็กเข้าใจอย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่งด้วยวัยของเด็ก 5-7 ขวบ เขาอาจจะยังไม่เข้าใจมากนัก

ดร.นพ.วรตม์ กล่าวต่อว่า ในต่างประเทศส่วนใหญ่ก็เริ่มยกเลิกการสอบเข้าเรียนป.1 ของเด็กแล้ว เพราะเขาอาจจะมองว่าความจำเป็นในการสอบตัดสินของเด็กในช่วง ป.1 อาจจะตัดสินได้ยากด้วยการตอบคำถามไม่กี่ข้อ เพราะว่าเด็กคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จอาจจะวัดจากพัฒนาการด้านอื่นร่วมด้วย และในหลายประเทศก็เลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่แทน เพราะว่าเด็กวัย 5-7 ขวบ จะอยู่ที่โรงเรียนประมาณ 6-8 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้นเด็กอยู่ที่บ้าน ทัศนคติของผู้ปกครองจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการและการเติบโตของเด็กในอนาคต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า