Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เขาว่ากันว่า ‘คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก’ ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนๆ หากมีความตั้งใจจริง คนไทยก็สามารถไปถึง แต่ ‘หนังไทย’ จึงห่างหายจากความสำเร็จในเวทีโลก ภาณุ อารี ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ บริษัท สหมงคงฟิล์ม อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ช่วย workpointTODAY ถอดบทเรียน Soft Power ทั่วโลกสู่ไทย หาเหตุว่าทำไม T-Wave ถึงเป็นคลื่นที่มาแล้วก็ไปไม่ยั่งยืน

หนังไทยก็เคยมียุครุ่งเรือง

ภาณุ เล่าว่า ไม่ใช่แค่เกาหลีเท่านั้นที่สามารถส่งออกสินค้าจากอุตสาหกรรมบันเทิงจนสร้างแรงกระเพื่อมเกิดเป็น K-Wave ไปทั่วโลก เพราะแท้จริงแล้ว ‘หนังไทย’ ก็เคยมียุครุ่งเรืองและวงการภาพยนตร์ไทยก็มีช่วงที่สามารถสร้างคลื่นลูกใหญ่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและเอกลักษณ์ให้กับวงการภาพยนตร์ไทยเช่นกัน

ในช่วงปี 2540 ระหว่างที่วงการภาพยนตร์ไทยจะง่อนแง่นจากวิกฤติศรัทธา ‘หนังไทยจะตายรึยัง?’ ภาพยนตร์ ‘2499 อันธพาลครองเมือง’ ก็ได้ปลุกกระแสภาพยนตร์ไทยให้กลับมาบูมอีกครั้ง โดยเป็นภาพยนตร์ที่มีกระแสตอบรับดีเยี่ยมทั้งในไทยและต่างประเทศ ทำรายได้รวมไปกว่า 70 ล้านบาท 

เพราะ 2499 อันธพาลครองเมือง จากฝีมือของ อุ๋ย-นนทรี นิมิตรบุตร ถือเป็นภาพยนตร์ไทยคุณภาพที่เล่าเรื่องในภาษาสากลและทำให้ภาพยนตร์จากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ได้รับความสนใจจากนักวิจารณ์ต่างชาติและเริ่มถูกหยิบไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ

ความสำเร็จและฝีมือของ ‘อุ๋ย-นนทรี นิมิตรบุตร’ สร้างแรงบันดาลใจให้กับทั้งผู้กำกับหน้าใหม่ รวมถึงสตูดิโอที่เคยสงสัยในการลงทุนกับผู้กำกับเลือดใหม่สัญชาติไทย ทำให้มีภาพยนตร์คุณภาพที่ใกล้เคียงกับออกมาอีกหลายเรื่อง และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์ไทยถูกนำไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

หลังจากนั้นภาพยนตร์เรื่องต่อมาของนนทรีอย่าง นางนาก ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก สร้างรายได้รวมกว่า 150 ล้านบาท ก่อน สิน-ยงยุทธ ทองกองทุน จะสร้างภาพยนตร์ สตรีเหล็ก ที่เป็นอีกหนึ่งแรงกระเพื่อมสำคัญ เพราะภาพยนตร์ถูกฮ่องกงซื้อไป ก่อนว่าจ้างดาราชื่อดังของฮ่องกงอย่าง ‘เจิ้งลี่เจี้ยน’ พากษ์เสียงเป็นภาษากวางตุ้งและออกฉาย ทำให้ความนิยมในภาพยนตร์ไทยก่อตัวและรุนแรงไปทั่วโลก

ความมั่นใจจากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้วงการภาพยนตร์ไทยผลิตภาพยนตร์คุณภาพที่โด่งดังและมีชื่อเสียงอีกหลายเรื่องตามมา ไม่ว่าจะเป็น องค์บาก ภาพยนตร์แอคชันที่ทำให้ผู้นิยมภาพยนตร์แอคชันฮ่องกงหันมาสนใจภาพยนตร์แอคชันไทย ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ภาพยนตร์สยองขวัญชื่อดังที่ทำให้หนังผีไทยเป็นที่รู้จัก และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย

ภาณุ อารี

‘ย้ำรอยความสำเร็จ’ ไม่เท่ากับ ‘ความสำเร็จ’

“น่าเสียดายอย่างที่พวกเราเข้าใจกัน คำว่า Wave หมายถึงคลื่น โดยธรรมชาติของคลื่นเมื่อมันซัดเข้าฝั่ง สุดท้ายมันก็จะต้องออกจากฝั่งไป คลื่นเก่ามันก็ออกไปและคลื่นลูกใหม่ๆ เคลื่อนเข้ามา ทำให้หลังจากนั้นกระแสของภาพยนตร์ไทยเริ่มดรอปลงและมีชาติใหม่ๆ เข้ามา”

ภาณุ อธิบายว่า นอกจากเหตุผลว่าคลื่นลูกเก่าไปคลื่นลูกใหม่มาแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กระแสภาพยนตร์ไทยจางหายไปมาจากการ ‘ขาดความต่อเนื่อง’ และความพยายามในการ ‘ย้ำรอยความสำเร็จ’ มากเกินไป อย่างที่ภาพยนตร์เรื่ององค์บากหรือชัตเตอร์ฯ กลายเป็นโมเดลตั้งต้นที่มีภาพยนตร์ในโมเดลเดียวกันออกมาอีกมากมายทำให้ผู้ชมในประเทศไม่เห็นความแตกต่างของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ในขณะที่นอกประเทศมีภาพยนตร์ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมาในตลาดจำนวนมากและกลืนกินพื้นที่ที่ภาพยนตร์ไทยเคยเฉิดฉายไปจนหมด

“แต่ช่วงเวลา 2540-2550 ผมถือว่าเป็นช่วงเวลาที่หนังไทยน่าจดจำและเป็นประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ไทย”

จุดเริ่มต้นของ ‘เกาหลีใต้’ เจ้าแห่ง Soft Power

นอกจากสหรัฐอเมริกาที่เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและกระแสหลักของโลกภาพยนตร์ เกาหลี ถือว่ามีบทบาทโดดเด่นอย่างยิ่งในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัฒนธรรมหรือว่า Soft Power ในการสร้างรายได้และชื่อเสียงไปทั่วโลก ภาณุจึงชวนเราร่วมถอดบทเรียนจากหนทางใช้ Soft Power เกาหลีสู่โอกาสของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในตลาดโลก

ภาณุ เล่าว่า หลายคนเข้าใจผิดว่าเกาหลีมีความพยายามที่จะออกแบบอุตสาหกรรมบันเทิงเพื่อส่งออกมาตั้งแต่ต้น แต่จริงๆ แล้วนั้นในยุคที่เกาหลีใต้ปกครองด้วยรัฐบาลทหาร ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถเบ่งบานได้และเกาหลีใต้ก็ประสบปัญหาวิกฤตศรัทธาอุตสาหกรรมบันเทิงภายในประเทศเช่นเดียวกัน

จนมาถึงยุคที่เกาหลีใต้จำเป็นจะต้องเปิดประเทศรับวัฒนธรรมจากนานาชาติ ทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้หวั่นว่าเยาวชนเกาหลีใต้ที่นิยมวัฒนธรรมญี่ปุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งตอบรับกระแสของอุตสาหกรรมบันเทิงญี่ปุ่นที่ไหลหลั่งเข้ามามากขึ้นอีก ทำให้รัฐบาลในขณะนั้นตัดสินใจทุ่มเทความพยายามในการสร้าง ‘วัฒนธรรม’ ของชาติที่แข็งแกร่ง เพื่อต้านการไหลเข้ามาของวัฒนธรรมญี่ปุ่น 

ก่อนอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้จะประสบความสำเร็จอย่างมากภายในประเทศ และนำไปสู่การตัดสินใจขยายผลความสำเร็จ โดยการผลักดันออกสู่ระดับนานาชาติในที่สุด

คีย์ความสำเร็จ = เล่าเรื่องสากลด้วยภาษาไทย ไม่ใช่เล่าความเป็นไทยแบบดั้งเดิม

หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ ‘ภาณุ’ พยายามชี้ให้เห็นจากความสำเร็จของ Soft Power เกาหลี คือ เกาหลีใต้ไม่ได้ประสบความสำเร็จ เพราะเลือกเล่าเรื่องวัฒนธรรมประจำชาติเกาหลี แต่เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จเพราะเลือกเล่าเรื่องที่คนทั้งโลกสนใจด้วยวิธีการเล่าเฉพาะตัวของเกาหลี เหมือนกับที่ภาพยนตร์ Parasite เล่าเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซีรีส์ Start Up เล่าเรื่องเทคโนโลยี

“ในขณะที่หลายประเทศคิดว่า Soft Power คือการส่งออกทางวัฒนธรรม คือเราจะเอาวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมมาเลเซีย วัฒนธรรมอินโดนีเซียไปเผยแพร่ แต่จริงๆ การเล่นกับ Soft Power ของเกาหลีคือ การเล่นกับวัฒนธรรมในปัจจุบัน คนสนใจอะไร คนอยากฟังอะไร เสร็จแล้วเราก็ครีเอทมันให้มันแตกต่าง อย่าง Parasite คือการสื่อสารเรื่องความเหลื่อมล้ำด้วยวิธีการที่ไม่เคยมีใครเล่ามาก่อน”

“คอนเซปต์ของ Soft Power สมัยก่อนกับสมัยนี้อาจจะไม่เหมือนกัน คือสมัยก่อนเราอาจจะคิดว่าเราเผยแพร่อุดมการณ์แบบไทยอย่างรำไทย ความอ่อนช้อย ความเป็นไทย แต่ทุกวันนี้คนอาจจะไม่ได้สนใจความเป็นชาติแล้ว แต่คนสนใจในประเด็นความเป็นสากลที่ทุกคนรู้สึกได้เหมือนกัน เช่น สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ ถ้าเรายังยืนยันที่จะใช้ภาษาแบบเรา เป้าหมายที่เราต้องการไป เราอาจไปไม่ถึง”

โดย ‘ภาณุ’ อธิบายว่า ถ้าหากไทยต้องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้เข้าสู่ตลาดโลกได้ “อย่างแรกเลยคือเราต้องไม่ใช้นโยบายนำความคิดสร้างสรรค์ เราอาจจะซีเรียสเกินไปกับการใช้ Soft Power เผยแพร่ความคิดอุดมการณ์แบบไทย ความคิดแบบไทย วัฒนธรรมไทย โดยเลือกสนับสนุนคนที่สร้างสรรค์ผลงานที่ตอบโจทย์เรา เช่นมีกองทุนหนึ่งสนับสนุนหนังที่สร้างมาสื่อสารความเป็นไทย วัฒนธรรมไทย ผมว่าตรงนี้มันอาจจะผิดหลัก เพราะมันไม่ใช่ภาษาที่ทุกคนสื่อสารและไอเดียที่ทุกคนพูดถึง คือต่อให้ใช้เงินมากแค่ไหน หรือดาราที่มีคุณค่าแค่ไหนก็อาจจะไม่ได้ผล” 

ขณะเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐาน ของภาพยนตร์เป็นสิ่งที่ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐ หรือคือการผลักดันทุกความสร้างสรรค์ออกไปสู่สายตาชาวโลก โดยไม่เลือกเฉพาะแค่อุดมการณ์ความเป็นไทยแท้ให้การสนับสนุนทุกรูปแบบความสร้างสรรค์อย่างแท้จริง พร้อมทั้งลด การเซ็นเซอร์ ที่ยังคงเป็นอุปสรรคสำหรับคนทำงาน เพราะแม้จะมีการจัดเรตติ้ง แต่เรตห้ามฉายทำให้คนสร้างและสตูดิโอเลือกเซ็นเซอร์ตัวเอง ปิดกั้นความสร้างสรรค์และโอกาสอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย

“โจทย์ของเราหลังจากนี้ คือโลกหลังโควิดจะเป็นแผ่นดินเดียวกันมากขึ้น ความสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งภาครัฐและคนสร้างสรรค์จะต้องสื่อสารภาษาเดียวกับคนทั้งโลก แต่ทำให้โดดเด่นแตกต่างจากคนอื่นๆ”

 

รับชมเรื่องราวจาก ‘ภาณุ อารี’ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ในงาน THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ทอล์คความรู้ฉีดวัคซีนเศรษฐกิจไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า