SHARE

คัดลอกแล้ว

ในภาวะที่การท่องเที่ยวไทยแทบจะหยุดชะงักในปีที่ผ่านมาจากการระบาดของ COVID-19 วัคซีนที่เป็นความหวังของอุตสาหกรรมยังอยู่ในช่วงค่อยเป็นค่อยไป และอาจไม่ได้ทำให้การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ และนอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาประเทศไทยเพียง 5 ล้านคนจากเดิมที่มากถึง 40 ล้านคน

ประเทศไทยที่เคยใช้โมเดลการท่องเที่ยวแบบเน้นนักท่องเที่ยวจำนวนมาก (Mass Tourism) แต่ทุกวันนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยกลับลดลงหลายเท่าตัว ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้มาร่วมถอดบทเรียนการท่องเที่ยวไทย พร้อมเปิดกลยุทธ์ที่จะทำให้การท่องเที่ยวไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

บทเรียนจาก COVID-19 ต้องมุ่งเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ

ศิริปกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยในปีที่ผ่านมาว่าเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างหนัก ผู้ประกอบการยังคงประคับประคองธุรกิจเพื่อให้เกิดการจ้างงาน หลายพื้นที่หลักของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่ที่รับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ไม่ถึง 20% ส่วนที่เหลือคือรอให้สถานการณ์ดีขึ้นและรอนโยบายการจัดการการท่องเที่ยว นั่นก็คือวัคซีนที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวกล้าเข้ามาท่องเที่ยว ส่วนผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ก็กล้าเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย

นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกว่านอกจากการสร้างความเชื่อมั่นด้วยวัคซีนและมาตรการผ่อนคลายแล้ว ยังต้องมองไปถึงการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินไปให้ได้ด้วย

“เราอยู่กับโควิดมา 1 ปีแล้ว มีธุรกิจที่หายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ที่หายไป เป็นเรื่องต่อจากนี้ที่เราต้องรีบตัดสินใจ ไม่ใช่แค่มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเท่านั้นแล้ว แต่มาตรการใหม่ที่เราต้องเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ เพราะธุรกิจเอกชนประคองตัวได้จนถึงวันนี้เก่งมากแล้ว แต่เขาอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีรายได้ ดังนั้นต้องประคองและเยียวยากันต่อไปโดยมาตรการที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการ ทั้งมิติของนักท่องเที่ยวคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ”

วัคซีน มาตรการผ่อนคลาย ความเชื่อมั่นที่ต้องมาให้ทันการณ์

ในส่วนของการวัคซีน COVID-19 ซึ่งเป็นหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นในการท่องเที่ยวในไทย ศิริปกรณ์มองว่า การจัดสรรวัคซีนอาจเริ่มที่ให้กลุ่มท่องเที่ยวหลักซึ่งรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา ชลบุรี เกาะสมุย เขาหลัก พังงา เป็นต้น ซึ่งหากกลุ่มท่องเที่ยวนี้ได้รับการกระจายวัคซีนไปก่อน จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นไปยังประเทศต้นทางได้ รวมทั้งการออกมาตรการผ่อนคลายที่ควรเร่งออกมาให้รวดเร็วเพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการวางแผนธุรกิจและการตลาด

โดย ศิริปกรณ์ ระบุว่า หากเริ่มประกาศมาตรการผ่อนคลายในเดือน เม.ย.นี้ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนเข้ามาท่องเที่ยวในไทยได้แล้ว อาจจะยังได้นักท่องเที่ยวจำนวนไม่มาก เนื่องจากนโยบายประเทศต้นทางที่ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวออกนอกประเทศมากนัก รวมถึงหลายประเทศยังมีการระบาดของ COVID-19 ซ้ำเป็นระลอกที่ 3 จึงคาดการณ์ว่าช่วงเวลาสำคัญที่ไทยควรเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้คือช่วงเดือน ก.ค. ที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยว หรือช่วง Summer’s Holidays ของต่างชาติ โดยประชากรในพื้นที่ท่องเที่ยวของไทยที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวก็ควรได้รับวีคซีนล่วงหน้าประมาณ 2 เดือน หรือประมาณเดือน พ.ค. 2564

นักท่องเที่ยวไทยและการเที่ยวในประเทศยังคงสำคัญ

นอกจากการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้การท่องเที่ยวไทยเดินหน้าต่อไปได้ในภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปีที่ผ่านมาก็คือ นักท่องเที่ยวไทย ซึ่งคิดเป็น 35% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งในปีที่ผ่านมา มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศอย่างโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่เป็นในลักษณะของการที่ภาครัฐจ่ายเงินสนับสนุนค่าครองชีพการท่องเที่ยวนั้นนับเป็นการตัดสินใจที่ถูก

ส่วนสิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือการสร้างความเชื่อมั่นให้คนท่องเที่ยวตามมาตรฐาน Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวไทยกล้าออกไปเที่ยวในประเทศมากขึ้น โดยในอนาคตมีเป้าหมายว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นให้เป็น 40-50% เพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนภายในประเทศในอัตรส่วนที่มากขึ้น

ปรับ Supply Chain เปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นคู่ค้า

อีกหนึ่งความท้าทายของการท่องเที่ยวไทยที่เคยผ่านมาคือปัญหา Over Supply ซึ่งการมีผู้ประกอบการจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันทางราคาที่บริการคุณภาพสูงมีราคาที่ต่ำกว่าที่ควร ศิริปกรณ์ มองว่านี่คือโอกาสในการปรับเปลี่ยน Supply Chain ที่นำธุรกิจที่เคยเป็นคู่แข่งกันเข้ามาเป็นคู่ค้าแล้วเอื้อประโยชน์ให้กันและกัน

“Over Supply เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นคู่กับประเทศไทยมาโดยตลอด เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าก็จริง แต่ก็ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ราคาไม่สูง เพราะการแข่งขันสูง ตัวเลือกเยอะ เกิดการแข่งขันทางด้านราคา จนกลายเป็น Price War ในอดีตแม้ว่าคุณภาพบริการเราจะอยู่ในระดับสูง แต่ว่าเราขายได้ราคาในระดับที่ต่ำกว่า”

“ผมว่าเราต้องใช้โอกาสนี้ในการปรับ Supply Chain อะไรที่เคยเป็น Exclusive จะต้องกลายเป็น Inclusive ใครที่เคยเป็นคู่แข่ง วันนี้ต้องมาควบรวมเป็นคู่ค้า ใครที่เคยต่างคนต่างแสวงหาวัตถุดิบ วันนี้มาร่วมกันหา  รวมทุกคนที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมมาอยู่ในธุรกิจเดียวกันเข้ามาแล้วช่วยเหลือจัดสรรเอื้อประโยชน์กัน”

“สอง คือเราต้องมาอะไรที่เป็น Less for more มากกว่า More for less สถานการณ์ Over Supply เรามีการเปิดให้บริการจำนวนมาก More และ More มีมากมายมหาศาล แต่เราได้ส่วนแบ่งนิดเดียว ถ้าหากอีกนิดเราทำให้มันน้อยลง นำธุรกิจที่ได้ประโยชน์มารวมกัน”

“อย่างไอเดียหนึ่งคือถ้าหากยังมีการกักตัว 14 วัน ให้โรงแรมสองโรงแรม ทั้งโรงแรมซิตี้โฮเทลและโรงแรมบีชโฮเทลจับมือกัน ให้นักท่องเที่ยวสามารถฮอปปิ้งระหว่างสองโรงแรมได้ ช่วงแรกอยู่โรงแรมในเมือง ช่วงสองขยับออกไปอยู่โรงแรมที่ใกล้ชายหาด” 

เปลี่ยนปริมาณให้เป็นคุณภาพ เทรนด์ใหม่ที่ทำให้การท่องเที่ยวไทยยั่งยืน

ศิริปกรณ์ มองว่าโลกการท่องเที่ยวที่กลับมาใหม่ครั้งนี้จะไม่เหมือนเดิมและไม่ควรเหมือนเดิม โดยธุรกิจควรมองหานักท่องเที่ยวที่มีเซกเมนต์ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นตลาดฮันนีมูน ลักซัวรี แฟมิลี่ หรือเมดิคอล เพื่อลดการพึ่งพาจำนวนนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว พร้อมทั้งต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วไปไปพร้อมกัน ทำให้นักท่องเที่ยวอยู่นานวันขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่สูง แทนที่จะพึ่งพิงจำนวนเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเทรนด์การท่องเที่ยวแบบ ‘Responsible Tourism’ ที่สอดคล้องกับ BCG Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคที่นักท่องเที่ยวเริ่มให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์และสร้างการมีส่วนร่วมให้ธุรกิจท้องถิ่นมากกว่าที่เคยเป็นมา การคำนึงถึงการสร้างรายได้ให้ชุมชนจึงเป็นอีกหนึ่งโมเดลการท่องเที่ยวที่จะเข้ามามีบทบาทและทำให้การท่องเที่ยวไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน

รับชมเรื่องราวจาก ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในงาน THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ทอล์คความรู้ฉีดวัคซีนเศรษฐกิจไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า