SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัจจุบันจำนวนเกษตรกรของไทยกำลังลดลงเรื่อยๆ สาเหตุหลัก คือแรงงานในภาคเกษตรลดน้อยลง และส่วนใหญ่กำลังอยู่ในช่วงวัยเกษียณ จนทำการเกษตรไม่ไหว ขณะที่ลูกหลานยุคใหม่ไม่ได้ต้องการสานต่ออาชีพเกษตรกรรม เน้นการหางานทำในเมืองอย่างที่เราคุ้นชินว่าส่วนใหญ่มาทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต หรือทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนกันซะมากกว่า 

[ ช่วงเวลา 10 ปี เกษตรกรหายไปแล้ว 3.5 ล้านคน ]

ตัวเลขเปรียบเทียบจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทำให้เห็นว่าตั้งแต่ปี 2555 มีแรงงานในภาคการเกษตรอยู่ราว 15.4 ล้านคน แต่ 10 ปีถัดมา คือ ปี2566 มีแรงงานในภาคเกษตรกรเหลือเพียง 11.9 ล้านคน พูดง่ายๆ ว่าแรงงานในอุตสาหกรรมการเกษตรหายไปถึง 3.5 ล้านคน 

ขณะเดียวกันแรงงานปัจจุบันที่มีอยู่ก็ค่อยๆ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แม้ว่าแรงงานกลุ่มนี้โดยมากจะเกษียณช้า โดยอายุเฉลี่ยของเกษตรกรเกษียณอยู่ที่ 62 ปี 

จากสถานการณ์ตัวเลขวัยทำงานในภาคเกษตรสะท้อนแล้วว่าอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ

[ เงินเกษตรไม่ได้หอมหวาน เหมือนเงินจากอุตสาหกรรมอื่น ]

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของรายได้ที่ยังเป็นตัวกำหนดให้ภาพลักษณ์ของอาชีพเกษตรกรดูไม่น่าดึงดูดเท่าไหร่นัก โดยปกติแล้วรายได้เฉลี่ยของ เกษตรกร 1 คน/ปี อยู่ที่ราวๆ 128,000 บาท ขณะที่อาชีพอื่นๆ มีรายได้เฉลี่ย 1 คน/ปี อยู่ที่ 580,000 บาท

‘ดร.ธิติ มหบุญพาชัย’ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาภักดีพณิชยการและเทคโนโลยี ให้ความเห็นว่า เรื่องของรายได้เกษตรกรอาจจะยังเป็นอีกเรื่องน่าห่วงที่ประเทศไทยต้องเผชิญ เพราะถ้าหากในอนาคตอันใกล้นี้รัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงเกษตรกรสู่ 600 บาท จะทำให้กลุ่มนายจ้างจะต้องแบกต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ขณะที่ผลผลิตเกษตรก็ขายได้ราคาไม่สูงเท่าไหร่นัก หรือถ้าหากจำเป็นจะต้องกู้ยืมเงินมาหมุนเวียนก็จะต้องเผชิญกับเรื่องของสินเชื่อเกษตรกรค่อนข้างยาก

ทำให้เราอาจจะเห็นภาพที่นายทุน เจ้าของไร่ เลือกใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น ลดการจ้างคนน้อยลง หรือทำความเข้าใจง่ายๆ ว่ากลุ่มแรงงานในการเกษตรที่มีน้อยอยู่แล้วก็จะยิ่งตกงานเข้าไปอีก 

[ เป้าหมายต้องดันรายได้เกษตรกร 4 ปีเติบโต 3 เท่า ] 

ในเรื่องของผลักดันรายได้เกษตรกร ‘สุมาลี ชิณวงศ์’ ผู้อำนวยกลุ่มส่งเสริมพืชเส้นใยและพืชหัว กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้เกษตรกรไทยต้องมีรายได้เติบโต 3 เท่าภายในระยะเวลา 4 ปี เริ่มนับตั้งแต่ปีนี้ ซึ่งการจะไปให้ถึงเป้าหมายรายได้เช่นนั้น จำเป็นจะต้องส่งเสริมความรู้เรื่องผลผลิตของเกษตรกรในปัจจุบันเสียก่อน โดยจะต้องเน้นให้ความรู้เรื่องผลิตมากขึ้น สร้างผลผลิตที่เกรด A มากขึ้น ลงทุนในผลผลิตที่สามารถส่งออกและขายได้ในราคาสูงมากขึ้น 

พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ใช้โดรนสำรวจหน้าดิน ใช้รถแทรกเตอร์มาปรับหน้าดินหรืออื่นๆ มาช่วยเสริมไปด้วย โดยที่เทคโนโลยีที่มีสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์เกษตรกรให้ดูไม่เหนื่อยเท่าเมื่อก่อน  และเมื่อเกิดการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ขึ้นจะนำพามาสู่ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีผลผลิตเกรด A มากขึ้นรายได้ก็จะต้องเพิ่มขึ้นมากไปด้วย ส่งอานิสงส์ให้เด็กรุ่นใหม่เห็นภาพชัดขึ้นก็จะเป็นแรงจูงใจให้กลับสู่ตลาดการเกษตรมากขึ้นด้วย

[ คนเรียนเกษตรน้อยลง-ปรับหลักสูตรเน้นเทคโนโลยีช่วยมากขึ้น ]

ในส่วนของเรื่องการให้ความรู้ ‘ศาสตราจารย์ ดร. อุมา สีบุญเรือง’ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการระหว่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าให้ฟังว่า แม้ปัจจุบันคนจะเลือกเรียนเกษตรน้อย ทำให้มหาวิทยาลัย สถานศึกษาต่างๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเองให้ความรู้ไม่ใช่แค่กับนักศึกษาเท่านั้น แต่ต้องให้ความรู้กับเกษตรกรทั้งมือเก่าและมือใหม่ให้สามารถต่อยอดความรู้ สร้างผลผลิตให้มากขึ้นได้

การศึกษาในห้องเรียนก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนหลักสูตรให้ได้ใช้เทคโนโลยีช่วยในการเกษตรมากขึ้น ส่งไปฝึกงานตามโรงงานใหญ่ๆ มากขึ้น เพื่อที่ตัวนักเรียนเองจะได้ลงมือทำจริงและมีแรงจูงใจในการทำเกษตรจริงๆ

[ ส่งเสริมภาคเกษตรสู้การผลิตของจีน เพิ่ม GDP ]

‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ ประธานบอร์ดสภาพัฒน์ กล่าวไว้กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า โมเดลเศรษฐกิจของไทยที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิตมายาวนานหลายทศวรรษนั้นล้มเหลวแล้ว ตอนนี้จีนกำลังพยายามส่งออกสินค้าทุกประเภท และสินค้าราคาถูกเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับเราจริงๆ

ดังนั้นประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงเน้นการผลิตสินค้าที่จีนไม่ได้ส่งออก ในขณะที่ต้องเสริมสร้างภาคการเกษตรของประเทศให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขใด

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เราคงจะได้เห็นแล้วว่าปัจจุบันภาคเกษตรกรไทยกำลังประสบปัญหาอยู่ไม่น้อย แต่สิ่งที่สำคัญเลยคือทุกภาคส่วนจำเป็นจะต้องช่วยกันผลักดันให้รายได้กลับสู่เกษตรกรมากขึ้น แม้ว่าภาคการเกษตรจะถูกมองว่ามีส่วนในการเติบโตของ GDP ประเทศแค่ 8% แต่หากไทยวางรากฐานและต่อยอดใหม่ได้ดี จะทำให้ GDP จากภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ในจุดที่ประเทศไทยก็อาจจะกลับมาได้เปรียบและเข้มแข็งได้ ในยุคที่กำลังกังวลว่า เราอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจเติบโตต่ำระยะยาว

ดังนั้น การจูงใจเด็กรุ่นใหม่ให้สนใจทำการเกษตรในรูปแบบที่มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น คำพูดประเภทที่ว่า เด็กรุ่นใหม่ไม่ทำเกษตรแล้ว หรือดราม่าคำพูดที่ว่า แล้วใครจะปลูกข้าวให้เรากิน ก็จะลดน้อยลง เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่’ กับ ‘เทคโนโลยี’ ผนวกเข้ากันได้ ถึงตอนนั้นก็เชื่อว่าจะเป็นพลังสำคัญ ที่จะช่วยทำให้ภาคอุตสาหกรรมเกษตรและการเกษตรไทย มีบทบาทสำคัญเข้ามาสร้างรายได้ช่วยกระตุ้นการเติบโตของประเทศ และเหนือสิ่งอื่นใดเป็นอาชีพที่มั่นคงและทุกคนกล้าโดดมาทำ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า