Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เรื่องการฟื้นฟูกิจการ “การบินไทย”รับความสนใจอีกครั้ง หลังกระทรวงคมนาคมได้นำแผนฟื้นฟู โดยมีข้อเสนอให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพราะประสบกับภาวะขาดทุนและมีภาระหนี้สินที่สูงกว่า 2.4 แสนล้านบาท ทำให้สมาชิกสหกรณ์ต่างๆ ที่ถือหุ้นกู้ของการบินไทยรีบถอดเงิน เนื่องจากเกรงว่าจะไม่มีเงินจ่ายหาก “การบินไทย” ถูกยื่นล้มละลาย

เจ้าหนี้การบินไทยคือใคร-ใครมีสิทธิ์ยื่นล้มละลาย
ผู้ที่มีอำนาจยื่นศาลล้มละลายมี 3 ฝ่าย คือ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และองค์กรของรัฐ ในฐานะเจ้าหนี้และลูกหนี้ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ส่วนหนี้การบินไทยกว่า 2.4 แสนล้านบาท นั้น มีกลุ่มเจ้าหนี้ 3 กลุ่ม 1.กลุ่มผู้ถือหุ้นกู้ เช่น กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ต่าง ๆ 2.กลุ่มสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย 3.เจ้าหนี้การค้า เช่นค่าเครื่องบิน

การบินไทยต้องใช้หนี้หุ้นกู้ กว่า 1,100 ล้านบาท

หุ้นกู้ คือตราสารหนี้ชนิดหนึ่ง คล้ายกับการระดมทุน คล้ายกับการกู้ยืมเงิน โดยบริษัทเป็นผู้ออกเงินกู้ตามสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยเท่าไร และจะมีสัญญาเริ่มต้น สิ้นสุดที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดชำระหุ้นกู้ก็จะถูกได้รับเงินคืนตามสัญญา

บริษัทการบินไทย มีกำหนดครบชำระหนี้ในรอบเดือน ส.ค. และ ก.ย. 2563 จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นเงินกว่า 1,100 ล้านบาท
และบริษัทการบินไทย มีกำหนดชำระหุ้นกู้สหกรณ์ 82 แห่ง ระหว่างปี 2563-2577

โดยในปี 2564 ครบกำหนดชำระหนี้ 3,200 ล้านบาท ปี 2565 จำนวน 4,900 ล้านบาท ปี 2568 กว่า 5,000 ล้านบาท

แห่ถอนเงินกระทบมากกว่า “การบินไทย” ผิดนัดจ่าย

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ขอให้สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ อย่าตื่นตระหนก แห่ถอนเงิน หลังพบว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่น้อยกว่า 7 แห่ง แห่ถอนเงินมากกว่า 100-200 ล้านบาทต่อวัน จากปกติเฉลี่ยไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยขณะนี้ สหกรณ์ยังสามารถหาสภาพคล่อง หมุนเวียนการถอนเงินได้ ประกอบกับสหกรณ์บางแห่งเริ่มจำกัดวงเงินถอนเงิน เพื่อลดความเสี่ยง
พร้อมชี้แจงว่าฐานะการเงินและสภาพคล่องของสหกรณ์ที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทการบินไทย 82 แห่ง ล้วนเป็นสหกรณ์ที่มีความเข้มแข็งสูง มีมูลค่าสินทรัพย์สูงกว่า 1.17 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับวงเงินลงทุนหุ้นกู้ บริษัทการบินไทย 4.2 หมื่น ล้านบาท และลงทุนในหุ้นสามัญเพียง 273 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.62 ของสินทรัพย์ ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์

“หากสมาชิกสหกรณ์ ยังคงถอนเงินไม่หยุดเช่นนี้ อาจกระทบสภาพคล่องสหกรณ์ มากกว่าปัญหาการผิดนัดชำระของบริษัทการบินไทย ”

ทางกรมฯเตรียมผ่อนเกณฑ์การกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญ ไม่ต้องตั้งกันสำรอง 100% เพื่อไม่กระทบการจ่ายปันผลสมาชิก รวมทั้งเตรียมแผนรับมือ หากบริษัทการบินไทย ประกาศล้มละลาย

การบินไทยล้มละลาย?

การบินไทยยังไม่ล้มละลาย เป็นเพียงการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ยังไม่ถึงขั้นตอนล้มละลาย เพราะในระหว่างขั้นตอนฟื้นฟู อาจจะเจรจาให้มีทางเลือกอื่น เช่น เปลี่ยนหนี้เป็นทุน ลดหนี้บางส่วน ยืดเวลาชำระหนี้ หรือแม้แต่ปรับโครงสร้างหนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้ช่องทางนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ครบถ้วน และให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม ภารกิจที่หนักอึ้งและเร่งด่วนของการบินไทยในตอนนี้คือ สิ้นเดือน พ.ค.นี้การบินไทยต้องมีเงิน 9 พันล้านบาท มาเป็นค่าใช้จ่ายในองค์กร เช่น เงินเดือนพนักงาน ยังไม่รวมชำระหนี้ดอกเบี้ยเงินกู้ค่าเช่าเครื่องบินที่จะต้องขอเจรจายืดการชำระหนี้ไปก่อน
จากเดิมจะนำเงินที่ขอกู้ มาเป็นค่าใช้จ่ายเดือน พ.ค.นี้ เพื่อประคองสภาพคล่อง ก่อนไปสู่กระบวนการต่าง ๆ แต่ปัญหาคือไม่มีแบงก์ให้กู้ 5.4 หมื่นล้านบาท เพราะหนี้สินต่อทุนสูง 21 เท่า รัฐถึงต้องเข้าไปค้ำประกันให้ แต่ต้องทำแผนฟื้นฟูกิจการให้คนมั่นใจว่า จะไม่ใช่การตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

หากแผนกู้เงินของการบินไทยไม่ได้ข้อสรุปภายในเดือน พ.ค. ที่ต้องพิจารณาด่วนคือจะนำเงินจากไหนมาเป็นค่าใช้จ่ายในองค์กร

ลุ้นบทสรุปสัปดาห์หน้า

ขณะนี้แผนฟื้นฟูการบินไทยยังไม่ได้สรุปชัดเจน และเวลาก็งวนเข้ามาทุกที อนาคตสายการบินแห่งชาติจะเป็นอย่สงไร ต้องติดตามผลการรายงานแผนฟื้นฟูต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ( คนร.)ในวันที่ 18 พ.ค.นี้

รวมถึงคาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจน หลังจากที่กระทรวงคมนาคมจะส่งเรื่องเข้า ครม. เพื่อปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นของ “ภาครัฐ” ในการบินไทยให้ต่ำกว่า 50% เพื่อให้พ้นจากกฎหมาย 2 ฉบับคือ 1. พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสําหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 2.พ.ร.บ.ว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

หาก ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอก็คาดว่าประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค.ก็จะสามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า