SHARE

คัดลอกแล้ว

10 แบงก์ไทยไตรมาส 1 ปี 2566 ทำกำไรไปแล้ว 6 หมื่นล้านบาท โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่า ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น

ไตรมาสแรกของปีนี้ (ไตรมาส 1 ปี 2566) หุ้นในกลุ่มธนาคารมีกำไรรวมกันกว่า 6 หมื่นล้านบาท (60,276 ล้านบาท) โดยธนาคารที่ทำกำไรได้สูงสุด คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ที่ 10,995 ล้านบาท

แต่ธนาคารที่กำไรเติบโตมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คือ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ที่เติบโต 42% จาก 7,118 ล้านบาท มาอยู๋ที่ 10,129 ล้านบาท

ส่วนธนาคารที่กำไรหดตัวเมื่อเทียบ YoY คือ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT ที่กำไรลดลง 22% จาก 1,061 ล้านบาท มาอยู่ที่ 830 ล้านบาท

Thai banks made profit more than 60 billion in the first quarter

‘ภาสกร หวังวิวัฒน์เจริญ’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (ASPS) บอกว่า รายได้หลักของธนาคารมาจาก 3 ส่วนด้วยกัน หากอิงจากรายได้ปี 2565 จะได้สัดส่วนดังนี้

1. ดอกเบี้ยรับสุทธิ (Net Interest Income: NII) ประมาณ 70%

2. ค่าธรรมเนียม (Fee Income) ประมาณ 20%

3. รายได้ที่ไม่ใช่การดำเนินการหลัก เช่น มูลค่าเงินลงทุน การขายทรัพย์สิน ปันผลที่ได้รับจากการลงทุน ฯลฯ ประมาณ 10%

ขณะที่ภาพรวมไตรมาส 1 ที่ผ่านมา รายได้ของกลุ่มธนาคารออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ประมาณ 8% แม้ว่าจะเติบโตกว่า 45% เมื่อเทียบไตรมาสก่อน (QoQ) และเติบโต 14% YoY

แน่นอนว่า รายได้ดอกเบี้ยเติบโต 17% เพราะได้อานิสงส์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2565 จนถึงไตรมาสปัจจุบัน

สำหรับค่าใช้จ่าย พบว่า ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองหนี้สูญ ลดลง QoQ แต่เพิ่มขึ้น YoY จากที่บางธนาคารตั้งสำรองไว้เพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

หากพิจารณา 8 ธนาคารที่ บล.เอเซีย พลัส จัดทำบทวิเคราะห์ครอบคลุม (ไม่รวม CIMBT และบริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ LHFG) พบว่า ทำกำไรสุทธิไปได้แล้วประมาณ 28% จากคาดการณ์ทั้งปีที่ 2.1 แสนล้านบาท

สอดคล้องกับคาดการณ์โมเมนตัมในช่วงที่เหลือของปีนี้ว่ากำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโตต่อเนื่อง โดยได้ปัจจัยบวกจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

สำหรับการลงทุน ฝ่ายวิจัยแนะนำแบงก์ที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ทั้งในแง่อัตราการตั้งสำรองที่สูง และอัตราหนี้สินต่อดอกเบี้ยที่ไม่เกิดรายได้ (NPL) ที่ต่ำ

โดย 2 ตัวแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ราคาเหมาะสม 20.30 บาทต่อหุ้น และ BBL ราคาเหมาะสม 174.00 บาทต่อหุ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า