SHARE

คัดลอกแล้ว

เศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19 ได้รับแรงส่งหลักจากภาคการท่องเที่ยวมาโดยตลอด แต่หากไม่นับรวมการท่องเที่ยวจะพบว่าเศรษฐกิจไทยในส่วนที่เหลือหดตัวมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2565 

จากเศรษฐกิจที่ติดลบต่อเนื่องสะท้อนว่าภาคเศรษฐกิจในส่วนอื่นๆ ของไทยที่ไม่รวมการท่องเที่ยว เช่น ภาคอุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจในประเทศอาจเรียกว่าอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งสะท้อนความอ่อนแอของเศรษฐกิจไทยที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว

แต่ทำไมที่ผ่านมา นักวิเคราะห์กลับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยสูงเกินไปมาตลอด เหตุมาจากสองเรื่องสำคัญ คือ

1) เศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงไม่ได้เกิดจากปัจจัยชั่วคราว แต่เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ไม่ฟื้นขึ้นมาเองเมื่อเวลาผ่านไป 

2) ความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกระทบเศรษฐกิจระหว่างปีและเศรษฐกิจโตได้ต่ำกว่าที่คาด 

โดย KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในความจริงแล้วสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากนโยบายภาษีของทรัมป์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง

[ นโยบายการค้าโลกส่งผลลบต่อไทย ]

เศรษฐกิจที่อ่อนแออยู่แล้วได้รับผลจากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าเพิ่มเติม KKP Research ประเมินว่าในที่สุดระดับภาษีที่สหรัฐ ฯ คิดกับไทยและประเทศอื่นๆในโลกจะค้างอยู่ที่ระดับ 10% ภายใต้ข้อสมมติว่าเราเจรจากับสหรัฐให้ลดอัตราภาษีนำเข้าลงมาได้ ในขณะที่อัตราภาษีนำเข้ากับจีน ที่เริ่มมีการตกลงเบื้องต้นเพื่อลดภาษีนำเข้าลงมาได้แล้ว และน่าจะอยู่ในระดับที่สูงว่าประเทศอื่น

ภายใต้สถานการณ์นี้ผลกระทบจากภาษีต่อไทยจะเกิดขึ้นผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ 

  • ผลกระทบทางตรงต่อการส่งออกไปสหรัฐ ฯ ในกรณีที่มีการขึ้นภาษี 10% ต่อสินค้าส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ KKP Research ประเมินว่า GDP ไทยอาจได้รับผลกระทบติดลบประมาณ 0.15 เปอร์เซ็นต์
  • การให้ข้อแลกเปลี่ยนในระหว่างการเจรจาอาจกระทบเศรษฐกิจบางภาคส่วน  หากสหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยเปิดตลาดในภาคเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะหมู เนื้อวัว และนม จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดย GDP ภาคเกษตรมีสัดส่วน 8-9% และหมู-ไก่ 1.3% แต่ภาคเกษตรยังคงมีบทบาทในการจ้างงานในชนบทอย่างกว้างขวางโดยคิดเป็นกว่า 31% ของการจ้างงานทั้งหมด  
  • ผลกระทบทางอ้อมจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว KKP Research ประเมินว่าในอดีต ทุกๆ การลดลงของ GDP โลก 1% จะส่งผลให้ GDP ไทยลดลงประมาณ 0.6%

[ ไทยอาจโตต่ำลงเรื่อยๆ หากไม่เปลี่ยนแปลง ] 

ทาง KKP Research ชวนตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยด้วยกัน 3 ข้อ คือ 

1.นับตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไปจะเป็นปีที่ไม่เหลือแรงส่งให้เศรษฐกิจเติบโตได้อีกแล้วและยากที่แต่ละ Sector จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการเติบโตทางเศรษฐกิจเหมือนในอดีตจะทำให้ GDP โตต่ำกว่า 2%

2.ปัญหาของภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงไม่ได้เกิดจากเฉพาะปัจจัยระยะสั้นเช่นภาษีของทรัมป์ที่จะทยอยดีขึ้นเอง (เช่น หากมีการเจรจาการค้าสำเร็จ) แต่เป็นภาพสะท้อนปัญหาระยะยาว

3.เศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอจากหนี้ครัวเรือนในขณะที่โลกกำลังผ่านจุดสูงสุดของโลกาภิวัฒน์ทำให้ไทยไม่เหลือแรงส่งจากทั้งในและต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กลับมาเป็นคำถามต่อผู้วางนโยบายเศรษฐกิจของไทยว่า เศรษฐกิจไทยจะโตต่อไปได้อย่างไรในช่วงหลังจากนี้

KKP Research ประเมินว่าภาครัฐต้องไม่ยึดติดกับการทำนโยบายแบบเดิมๆ และควรต้องมีการประสานด้านนโยบาย ตัวอย่างที่น่าสนใจคือบทเรียนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิด Abenomics เพื่อตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างยืดเยื้อถูกจัดวางภายใต้กรอบ “ลูกศรสามดอก” 

ประกอบด้วยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายที่เน้นเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ นโยบายการคลังแบบขยายตัว และการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ บทเรียนของญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีความครบถ้วนทั้งในมิติของระยะสั้นและระยะยาว และต้องมีทั้งนโยบายด้านอุปสงค์และนโยบายด้านโครงสร้าง การใช้นโยบายการเงินหรือการคลังเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางของเศรษฐกิจได้ หากขาดการปฏิรูปเชิงโครงสร้างควบคู่กันไป

[ ไทยจะกลับไปโต 3% ได้ไหม? ] 

KKP ประเมินภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคตจากข้อมูลเศรษฐกิจในฝั่งอุปทานว่าค่อนข้างยากที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยกลับไปเติบโตที่ 3% แม้จะไม่มีมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ ฯ ก็ตาม เพื่อที่จะรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจให้ใกล้เคียง 3% สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น คือ

ในกรณีแรก : ภาคการท่องเที่ยวจะต้องขยายตัวมากถึงปีละประมาน 7 – 10 ล้านคนเหมือนช่วงที่จีนเข้ามาท่องเที่ยวไทยใหม่ ๆ หรือจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังไทยต้องขยายตัวไปถึงประมาน 70 ล้านคนในปี 2573 เพื่อชดเชยกับภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลง

ในกรณีสอง : ภาคการผลิตไทยต้องกลับไปเติบโตเฉลี่ยปีละประมาน 5% เหมือนในช่วงปี 2543 ก่อนที่การท่องเที่ยวจะขยายตัวก้าวกระโดด ซึ่งเป็นไปได้ยากเมื่อพิจารณาการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงหลังโควิดที่โตได้เฉลี่ยเพียง -0.59% ต่อปี 

ในกรณีสุดท้าย : การใช้ภาคเกษตรเป็นตัวนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เพราะมีขนาดที่เล็กเกินไปเพียงประมาน 8% ของ GDP  นอกจากนี้ในปัจจุบันการส่งออกในภาคเกษตรที่เติบโตติดลบในปี 2568 เนื่องจากข้าวไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับข้าวอินเดียได้

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ในปีนี้ KKP Research ได้ปรับ GDP ลงเหลือ 1.7% ในปี 2568 ซึ่งลดลงจากประมาณการก่อนหน้าที่ 2.3% ส่วนหนึ่งสะท้อนผลจากนโยบายการค้าสหรัฐ ฯ ต่อการส่งออก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลกซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคและลงทุน

เศรษฐกิจไทยที่เปราะบางอยู่แล้วแต่ยังต้องมาเจอปัญหารอบด้าน การแก้ไขที่ต้นเหตุอย่างโครงสร้างเศรษฐกิจอาจเป็นสิ่งต้องหันกลับมามองใหม่ เพราะไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องแก้จากต้นเหตุจริงๆ ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจไทยอาจจะต้องโตต่ำกว่า 2% อย่างถาวร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า