Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อใบปริญญาไม่ได้เป็นแค่เพียงวุฒิการศึกษาทางวิชาการ แต่กลายเป็นใบเบิกทางสู่ชีวิตที่ดีขึ้น คอนเนกชั่นที่กว้างไกล หรืออาจเป็นเส้นทางสู่ ‘เก้าอี้’ ที่มีอำนาจ

แต่การศึกษาไทยกำลังไปถูกทิศหรือเปล่า เมื่อกระบวนการเรียนรู้ขาดการสนับสนุนที่เพียงพอ เด็กแห่ออกจากระบบการศึกษาเพราะปัญหาเศรษฐกิจ และการศึกษาระดับปริญญากำลังให้คุณค่ากับ ‘กระดาษแผ่นเดียว’

NATION WHY คุยเมืองไทยในบริบทโลก ชวน ครูจุ๊ย — กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า มาวิเคราะห์และมองไปข้างหน้าจากถึงเรื่องวุฒิการศึกษาที่เป็นดราม่าต่อเนื่องหลายสัปดาห์นี้ สู่แนวทางแก้ปัญหาการศึกษาไทย

วุฒิการศึกษา = ใบเบิกทางสู่อนาคตที่ดีขึ้น

“ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันก็ทำให้เราเห็นว่าจริงๆ แล้วมันคือใบเบิกทางสำหรับหลายๆ คน เขารู้สึกว่ามันจะนำพาชีวิตเขาไปสู่ในรูปแบบที่ดีขึ้นกว่าวันนี้” กุลธิดาแสดงความเห็นต่อกรณีคำร้องที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า น.ส.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภาใช้วุฒิการศึกษาปลอมประกอบการสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หรือไม่ ยังไม่รวมก่อนหน้านี้ที่มีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจำนวนไม่น้อยถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับวุฒิการศึกษา

ครูจุ๊ยมองว่าเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า วุฒิการศึกษาในสังคมไทยเป็นมากกว่าใบที่บอกว่าเรียนจบ มีทักษะความรู้อะไร แต่มันมีอีกฟังก์ชันนึงในสังคมไทย คือเป็นใบเบิกทางไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น สถานะทางสังคมที่ดีขึ้น คอนเนกชั่นที่กว้างขวางขึ้น ดังนั้นมันไม่ได้มีฟังก์ชันเชิงวิชาการ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นอย่างที่มันเป็น

เช่นเดียวกับคำนำหน้าต่างๆ นานา อันเป็นชุดอคติที่นำมาซึ่ง ‘Privilege’ (สิทธิพิเศษ​) หรือคอนเนกชั่นบางอย่าง ที่หากมีคำนำหน้าเหล่านั้นแล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรบางอย่างจากมัน ครูจุ๊ยมองว่าในต่างประเทศหากคุณมีคำนำหน้าเชิงวิชาการเหล่านี้ มันอาจจะทำให้คนมองคุณว่ามีทักษะความรู้ด้านใดด้านหนึ่งที่ลึกขึ้น แต่มันอาจไม่ได้นำมาซึ่งคอนเนกชั่นหรือนำมาซึ่งผลประโยชน์อื่นใดอย่างที่มันเป็นในสังคมไทย

“เราดันหลงลืมฟังก์ชันที่แท้จริงของมัน ฟังก์ชันที่แท้จริงของมันคือ คุณเรียนมันแล้วคุณก็ผลิตองค์ความรู้อะไรบางอย่างออกมา ซึ่งสังคมจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่คุณทำ นั่นแหละ ดังนั้นคุณค่าของมันคือสิ่งที่คุณทำ กระบวนการที่คุณทำไปทั้งหมดมันมีส่วนต่อยอดให้องค์ความรู้บางอย่างของสังคมวิชาการในประเทศเรา นี่แหละคือคุณค่าของมันที่เราอาจจะลืมมันไป เพราะเราไปโฟกัสกับอีกก้อนมากกว่า” ครูจุ๊ยกล่าว

สังคม ‘บ้าใบปริญญา’ ที่ไม่มีพื้นที่พัฒนาทักษะ

คำว่า ‘บ้า’ อาจดูแรงในสายตาของครูจุ๊ย แต่เธอให้ความเห็นว่าไม่ใช่ไม่มีข้อเท็จจริงในนั้นเลย หากมองย้อนกลับไป ที่เกิดปรากฏการณ์นี้เพราะว่าทุกคนในสังคมต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด เนื่องจากสังคมไทยไม่ได้เหลือพื้นที่ให้คนทำผิดทำพลาด หรือไปเรียนอย่างอื่นตามที่อยากเรียน การจะเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นคือการมีรัฐสวัสดิการ อย่างประเทศแถบสแกนดิเนเวียซึ่งการร่ำเรียนไม่ได้เป็นภาระสำหรับครอบครัว ทำให้นักเรียนเกิดพื้นที่ให้ได้ค้นคว้า ได้ลองศึกษาด้านต่างๆ “เขามีความหรูหราในชีวิต…ในขณะที่เราไม่ได้มีโอกาสนั้นหรอก เราต้องรีบเรียนอะไรก็ได้เพื่อให้มันจบ และเข้าสู่ตลาดแรงงาน” 

มิหน่ำซ้ำความ ‘บ้าใบปริญญา’ ก็อาจไม่ใช่ใบปริญญาจากที่ไหนก็ได้ เมื่อครูจุ๊ยอธิบายว่าการเดินเข้าสู่เส้นทางปริญญาตรี ก็ยังต้องเผชิญกับการมีภาพจำว่ามหาวิทยาลัยไหนเท่านั้น เมื่อเราพูดว่าการศึกษาเป็นโอกาสที่ดีขึ้นของชีวิต แต่ทุกวันนี้มันเป็นจริงแค่กับบางคนที่เลือกมหาวิทยาลัยที่ ‘ถูกต้อง’ มีวุฒิการศึกษาที่ทุกคนรู้สึกว่าใช่

ถึงเวลา ‘เปลี่ยนสมัย’ การศึกษาไทย

ผู้อำนวยการหญิงของมูลนิธิคณะก้าวหน้า ฉายภาพให้เห็น ‘ปัญหา’ การศึกษาไทยตั้งแต่เด็ก โดยให้ตั้งต้นด้วยการมองภาพคนไทยส่วนมาก และตัดภาพเด็กที่เกิดในบ้านซึ่งมีฐานะพอที่จะส่งเรียนเอกชนหรือมีพี่เลี้ยงได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว คนไทยจำนวนมากเมื่อมีลูกต้องเอาไปฝากปู่ย่าตายาย เนื่องจากช่องว่างระหว่าง 0-2 ขวบ การเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทำได้ยาก และต้องเผชิญกับข้อจำกัดของสวัสดิการไทยที่พ่อกับแม่ไม่สามารถรวมกันลาเลี้ยงลูกได้ 300 วันอย่างประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

อย่างไรก็ตามศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทยต้องเผชิญกับปัญหากฎเกณฑ์ด้านงบประมาณ ที่ครูจุ๊ยมองว่านอกจากจะทำให้ขาดบุคลากรที่จะมาช่วยดูเด็กเล็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงที่พัฒนาการก้าวกระโดดที่สุด แต่ไทยลงทุนต่ำไปมากในทุกมิติ งบประมาณที่ไม่เพียงพอยังทำให้ท้องถิ่นขาดองค์ความรู้ด้านการจัดการดูแลและอาจนำงบไปทำอย่างอื่นที่ง่ายกว่า

เมื่อโตขึ้นเข้าสู่การศึกษาภาคบังคับ ครูจุ๊ยชี้ให้เห็นว่าเมื่อเทียบสัดส่วนการลงทุนตาม GDP กับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ไทยลงทุนในการศึกษาภาคบังคับเยอะ แต่เป็นการใช้เงิน “ที่ไม่มีประสิทธิภาพ” งบประมาณกระจายตัวไม่ทั่วถึง ส่งผลให้โรงเรียนขนาดเล็กขาดแขลนต่อไป ส่วนโรงเรียนใหญ่ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ 

“พื้นฐานเรากระง่อนกระแง่นมาตั้งแต่ต้น” ขณะที่กว่าจะก้าวสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษา ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญคือการหลุดออกจากระบบการศึกษา ครูจุ๊ยอธิบายว่านี่ไม่ได้พังกับแค่เรื่องการศึกษา แต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจของครัวเรือนด้วย เพราะการเข้ารับศึกษามีภาระที่ครอบครัวต้องแบก ไม่ใช่เรื่องค่าเทอม แต่มีเรื่องค่าเดินทาง ต้นทุนเวลา ต้นทุนค่าเดินทาง เหล่านี้เป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทั้งสิ้น เรื่องถนนหนทางที่มันอาจจะไม่ดี เรื่องระบบขนส่งสาธารณะที่มันไม่มี เขาก็ต้องไปจ่ายเพิ่มเพื่อให้ได้เรียน ถ้าครอบครัวไปไม่ไหวก็หลุดไปเรื่อยๆ ก็จะเหลือเด็กไม่กี่กลุ่มที่จะได้เรียนต่อ”

นอกจากนั้นผลการประเมินต่างๆ ที่ออกมายังคงสะท้อนว่าเด็กไทยยังขาดทักษะ หรือบุคลากรคุณภาพที่สำเร็จการศึกษา ส่วนหนึ่งครูจุ๊ยเสนอให้ภาครัฐกำหนดทิศทางให้ชัดว่าใน 10 ปี ต้องการบุคลากรด้านใดมากขึ้น หรือในบางสาขาอาจลดจำนวนนักศึกษาลง แต่หันไปเพิ่มคุณภาพให้มากขึ้น 

ใช้วุฒิปลอมต้องถูกลงโทษ

แม้ว่ากรณี ‘หมอเกศ’ ที่ถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่าใช้วุฒิการศึกษาปลอมหรือไม่ และจะถือเป็นการหลอกหลวงเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นเลือกเป็น สว. หรือไม่ ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบของ กกต. 

แต่หากไม่พูดถึงกรณีนี้ ครูจุ๊ยมองว่า สมมติมีกรณีที่ใช้วุฒิปลอมจริง หรืองานวิจัยที่เกิดการก๊อบปี้ เราเริ่มเห็นว่ามันมีบทลงโทษหรือความรับผิดรับชอบที่ตามมาบ้างในบางกรณี แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นในทุกกรณีอย่างที่มันควรจะเป็น คุณใช้วุฒิปลอมแล้วมันเป็นความผิด มันก็ต้องผิดไง คุณก็ต้องรับผิดรับชอบ คุณจะโดนถอดถอนอะไรต่างๆ นาๆ มันก็ควรจะเกิดขึ้น

“จุ๊ยอยากให้ความรับผิดรับชอบเป็นเรื่องที่มันเกิดขึ้นในบ้านนี้เมืองนี้ มันไม่พ้นผิดลอยนวลอะ แล้วจะบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องการศึกษาเนอะ มันคือทุกเรื่องในประเทศนี้” กุลธิดากล่าวทิ้งท้าย

ชมรายการ NATION WHY เต็มๆ ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=kMNMsCAnlK8 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า