SHARE

คัดลอกแล้ว

       ความเหลื่อมล้ำ เป็นปัญหาที่ฉุดรั้งคุณภาพของระบบการศึกษาไทยมานานกว่า 20 ปี ปัจจุบันไทยมีโรงเรียนขนาดเล็ก 12,000 แห่งที่ครูไม่ครบชั้น มีนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ม.6 กว่า 3.2 ล้านคนที่ขาดแคลนหนังสือเรียน และมีเด็กชั้นประถมอีกประมาณ 1.4 แสนคนที่อ่านหนังสือไม่ออก

       ปีการศึกษา 2561 ไทยมีโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนน้อยกว่า 120 คน) อยู่ทั้งสิ้น 15,089 แห่ง หรือคิดเป็น 50% ของโรงเรียนทั้งประเทศ ในจำนวนนั้น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ประเมินว่า โรงเรียนขนาดเล็กซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนระดับอนุบาล-ประถมกว่า 12,000 แห่ง มีครูไม่ครบชั้น

       เนื่องจากเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดให้โรงเรียนขนาดเล็กมีครูได้ 1 คน ต่อนักเรียน 20 คน ดังนั้น ถ้าโรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 80 คน ก็เท่ากับว่าจะมีครูได้ 4 คน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โดยเฉลี่ยโรงเรียน 1 แห่ง มักมี 8 ห้องเรียน คือชั้นอนุบาล-ป.6

       เมื่อจำนวนครูไม่สอดคล้องกันจำนวนชั้นเรียน ครูในโรงเรียนขนาดเล็กจึงจำเป็นต้องสอนเด็กมากกว่า 1 ระดับชั้น หรือสอนในวิชาที่ตนเองไม่เชี่ยวชาญ และอย่างที่เราเห็นข่าวอยู่เป็นประจำคือโรงเรียนหลายๆ แห่งพยายามช่วยเหลือตนเองโดยการทอดผ้าป่า หาเงินมาจ้างครูเพิ่มด้วยเงินเดือนไม่กี่พันบาท

       ปัญหาครูไม่ครบชั้นและขาดแคลนครูที่มีความเชี่ยวชาญในบางวิชา จึงอาจส่งผลต่อคุณภาพด้านการศึกษาของนักเรียนกว่า 900,000 คน ซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนขนาดเล็กเหล่านั้น

       นอกจากปัญหาขาดแคลนครูแล้ว นักเรียนไทยอีกหลายล้านคนยัขาดแคลนหนังสือเรียน ชุดนักเรียน เครื่องเขียน และอาหารกลางวันด้วย

       ข้อมูลจากสำนักนโยบายและแผนงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบุว่าในปีการศึกษา 2561 นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3,231,424 คน หรือคิดเป็น 47% ของนักเรียนทั้งหมด ขาดแคลนหนังสือเรียน ในขณะที่มีนักเรียนชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3,552,487 คน ขาดแคลนชุดนักเรียน อีก 3,454,961 คน ขาดแคลนเครื่องเขียน และยังมีนักเรียน 3,214,572 คน ขาดแคลนอาหารกลางวัน

       สืบเนื่องจากความขาดแคลนด้านต่างๆ เด็กจำนวนหนึ่งจึงอาจไม่ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ ทำให้ปัจจุบันมีเด็กประถมประมาณ 140,000 คน อ่านหนังสือไม่ออก

       เมื่อไม่นานมานี้ นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) แถลงผลการดำเนินนโยบายพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ระบุว่าในภาพรวมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ทั่วประเทศ อ่านออกเขียนได้ในระดับพอใช้-ดีมาก

       โดยเฉลี่ยแล้วเด็กชั้น ป.1-6 กว่า 96.8% “อ่านคำ” ได้ และ 94.3% “อ่านรู้เรื่อง” แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง ก็หมายความว่าในประเทศไทยยังมีเด็กชั้น ป.1-6 อีกประมาณ 3% หรือคิดเป็นเด็ก 140,000 คน ที่อ่านหนังสือไม่ออก

       ผู้ใหญ่หลายคนอาจบอกว่าหน้าที่หลักของเด็กคือ “เรียนหนังสือ” แต่สำหรับเด็กบางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้น ปีการศึกษาที่ผ่านมา ข้อมูลจากสำนักนโยบายและแผนงานการศึกษาขั้นพื้นฐานระบุว่า มีนักเรียนออกจากโรงเรียนกลางคันทั้งสิ้น 4,039 คน ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ (1) ย้ายตามผู้ปกครอง (2) มีปัญหาครอบครัว (3) มีปัญหาการปรับตัว และ (4) ต้องหาเลี้ยงครอบครัว

       นักเรียนชั้น ป.1 – ม.6 จำนวน 526 คน หรือคิดเป็น 13% ของนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนกลางคันในปีการศึกษา 2561 ออกจากโรงเรียนเพราะต้องหาเลี้ยงครอบครัว ในขณะที่มีเด็กอีกประมาณ 2,900 คน เรียนไปด้วยและทำงานหาเลี้ยงครอบครัวไปด้วย

       จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวส่งผลต่อระดับการศึกษาของเด็ก แม้ที่ผ่านรัฐจะมีนโยบายอุดหนุนเงินด้านการศึกษา แต่ยังมีเด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เรียนต่อเพราะปัญหาทางการเงิน

       เว็บไซต์ thai-inequality.org ซึ่งนำเสนอข้อมูลความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ ของประเทศไทย ระบุโดยอ้างอิงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่า ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทยจะเริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงมัธยมปลาย

       เมื่อดูอัตราการเข้าเรียน ม.ปลาย ในปี 2558 พบว่า เด็กฐานะยากจน กลุ่ม 10% ล่างสุดของประเทศ มีโอกาสเรียนต่อ ม.ปลาย เพียงแค่ 38.9% ในขณะที่เด็กฐานะดี กลุ่ม 10% บนสุดของประเทศ มีโอกาสเรียนต่อ ม.ปลาย (รวม ปวช.) มากถึง 70.1% หรือแตกต่างกันเกือบเท่าตัว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า