SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาระหว่างเด็ก โรงเรียน ครู และผู้ปกครอง คือหนึ่งในสิ่งที่ถูกนำมาถกเถียง และพูดถึงนับครั้งไม่ถ้วน ภาพความรุนแรงในสถานศึกษา หรือปัญหาต่างๆ ถูกเผยแพร่ และสะท้อนให้เห็นอย่างแจ่มชัดในสังคมยุคปัจจุบัน แล้วอะไรคือจุดศุนย์รวมของปัญหาเหล่านี้ แล้วจะกระบวนการแก้ไข เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างไร

ครูทิว ว่าที่เรือตรี ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนวัดธาตุทอง แอดมินเพจครูขอสอน จะมาสะท้อนปัญหา และนำเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ ในโรงเรียน ผ่านรายการ Workpoint Today เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเป็นพื้นที่ของเด็ก เพื่อให้ครูและสถานศึกษาปรับวิธีคิดในการดูแลนักเรียน และเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแชร์ความคิดเห็น และความต้องการ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันของทุกฝ่าย

ปัญหาในโรงเรียนของเด็กไทย

เราจะเห็นว่าวัฒนธรรมที่มันเกิดความรุนแรง หรือการละเมิดสิทธิบางอย่างในโรงเรียน เรากลับทำให้มันเหมือนเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องเคยชิน แต่มันเกิดเป็นประเด็นในช่วงหลังๆ มาจากการการเด็กมีช่องทางในการสื่อสารหรือการส่งเสียงมันเพิ่มมากขึ้น ทำให้เด็กเริ่มมีเวทีเพื่อแสดงความคิดเห็น ทำให้สังคมเริ่มถกเถียงเรื่องนี้กัน ซึ่งรายละเอียดของปัญหาต่างๆ ในโรงเรียนมีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรงผม, เครื่องแต่งกาย, เรื่องเสื้อซับใน หรือเรื่องของการใช้ความรุนแรง โดยรวมแล้วปัญหามันอยู่ที่วัฒนธรรมอำนาจนิยมในสถานศึกษา ที่เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาต่างๆ และเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียนด้วย

คือเราต้องมาตั้งคำถามกันก่อนว่าเราไปโรงเรียนทำไม แล้วเป้าหมายของการมีโรงเรียนเนี่ยมีไว้ทำไม ซึ่งกลุ่มครูขอสอนเองก็เคยทำแบบสอบถามในหัวข้อเราไปโรงเรียนทำไม แล้วเราก็มีตัวเลือกเช่น ไปรับการถ่ายทอดวิชาความรู้, การไปถูกขัดเกลาอบรมสั่งสอน, การไปพัฒนาร่างกาย-จิตใจ, การได้ไปค้นพบตัวเอง หรือการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคม ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ตอบ พัฒนาตัวเอง, ค้นพบตัวเอง, เปลี่ยนแปลงสังคม

ถามย้อนกลับมาว่าโรงเรียนในปัจจุบันมันตอบโจทย์ตามนั้นหรือเปล่า ส่วนใหญ่ยังเป็นระบบธนาคารความรู้หรือเปล่า พูดง่ายๆ คือ เราฝากความรู้ไว้กับเด็ก เด็กคนไหนสะสมได้มากก็จะเป็นคนที่ดีเยี่ยมเป็นคนเก่ง หรือจะเป็นระบบการศึกษาที่ขัดเกลามีธงอยู่แล้วว่าแบบไหนที่ดี แล้วเราก็เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกเพื่อให้เด็กเป็นในแบบที่เราต้องการ แต่เราเคยถามเด็กมั้ยว่าเขาต้องการเป็นแบบไหน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ก็สะท้อนว่า โรงเรียนตั้งธงไว้อยู่ว่า ฉันจะคอยขัดเกลาเธอนะ เธอจะต้องเป็นตามนี้ ซึ่งมันค่อนข้างขัดกับโรคยุคปัจจุบันและความต้องการของเด็กเขา

กฎระเบียบที่บังคับใช้ คือปัญหาที่สร้างปัญหาในการใช้ชีวิตในโรงเรียนของเด็กหรือป่าว

คือผมไม่ได้บอกว่าไม่ควรจะมีกฎระเบียบ แต่ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับหลักเหตุและผล คือกฎระเบียบบางอย่างมันดูไม่มีเหตุผล บางอย่างมันเหมือนเอาตามใจว่าผู้ใหญ่ ว่าแบบนี้สวย, ดี หรือเรียบร้อย ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าโรงเรียนอยากให้ทุกคนเหมือนกัน นักเรียนที่ดีจะต้องทำตามที่โรงเรียนกำหนด คิดเหมือนกันทำเหมือนกัน แต่จริงๆ มันควระจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลาย เด็กเปรียบได้กับต้นไม้ ที่เจริญเติบโตไม่เหมือนกัน พวกเขาจะเติบโตตามสไตล์ของตัวเอง

เปิด 3 ประการ ครูต้องแบ่งเวลาไปทำอย่างอื่น ไม่มีเวลาสอน

ครูในระบบการศึกษาของไทยไม่ได้ทำหน้าที่ครูจริงๆ เราเลยมาตั้งคำถามว่าจริงๆ ครูควรทำอะไรบ้าง คือครูควรจะสอนแล้วก็เป็นผู้ที่จะสร้างกระบวนการพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตอย่างที่เขาควรจะเป็น แต่ทุกวันนี้เรากลับถูกเบียดบัง หรือมีภาระงานอื่นที่มันเข้ามา แล้วทำให้ครูไม่สามารถสอนหรือทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่

โดยหลักแล้วหน้าที่ครูในปัจจุบันก็คือ ปะรการแรก สอนหนังสือเป็นหลัก เรื่องของวิชาการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ประการที่ 2 คือการช่วยเหลือนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นช่วงโฮมรูม ไปเยี่ยมบ้าน ดูแลสารทุกข์สุขดิบ มานั่งปรับทุกข์ และดูว่านักเรียนมีปัญหาอะไรยังไง หรือใครเก่งด้านไหนเราก็ส่งเสริมเขา

ประการที่ 3 ผมขอเรียกว่าเป็นภาระแล้วกัน ในที่นี้หมายถึงมีหน้าที่งานฝ่ายต่างๆ คือเหมือนกับเราเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งในโรงเรียนที่จะต้อง คอยหมุนเพื่อให้โรงเรียนดำเนินงานไปได้ โอเคว่าบางงานอย่างในงานวิชาการ งานหลักสูตร ต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นเรื่องของครูที่ต้องรับผิดชอบ แต่อย่างบางงานเช่น อาคารสถานที่ ต้องมาเฝ้าช่างทำห้องน้ำใหม่ ฝ่ายพัสดุจะต้องมานั่งคีย์เลข คีย์ราคาทำการประมูล ฝ่ายการเงินที่จะต้องทำบัญชีทุกวัน เงินเข้าเงินออก โรงเรียนเบิกจ่ายอะไรไปเท่าไหร่ หรืองานบุคคลที่จะต้องดูใครขาด,ลา,มาสายอะไรยังไง

ซึ่งผมมองว่าภาระงานส่วนนี้ บางอย่างมันไม่จำเป็นต้องให้ครูทำก็ได้ ควรจะมีคนที่มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะมาทำหน้าที่ตรงนี้ ครูเองก็จะได้ไม่ต้องพะวง เพราะงานตรงนี้เราก็ทิ้งไม่ได้ ทำให้เราพะวง พอเราพะวงแล้วบางครั้งมันก็ไปเบียดเบียนการสอน ทุกวันนี้ระบบในสังคมเราทำให้โรงเรียนกลายเป็นสินค้า แล้วบรรดาครูก็มีสถานะเหมือนเป็นพนักงานที่คอยผลิตสินค้า แล้วเราก็ต้องแข่งให้สินค้าเราได้มาตรฐาน มีอะไรมาการันตีเพื่อให้ลูกค้าเข้า ดังนั้นเราก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อการันตีว่าโรงเรียนฉันมีคุณภาพ ซึ่งส่วนตัวผมมองว่ามันผิดลู่ผิดทาง

อำนาจนิยมในโรงเรียน

ผมเข้าใจมุมมองของผู้ปกครองหลายท่าน ที่เรียกร้องโหยหาการบังคับหรือระเบียบวินัยที่เข้มงวด เพราะผู้ปกครองรู้สึกว่าเด็กวินัยหละหลวมจนเกิดไป แต่ในความเป็นจริงแล้วเราอยู่ในศตวรรษนี้ หรือในศตวรรษก่อนก็ตาม เรื่องพวกนี้ถามว่าทำไมมันเกิดความรุนแรง และการใช้อำนาจนิยม หรือการเรียกร้องหาไม้เรียวๆ เพื่อที่จะให้เด็กมีวินัย ให้เด็กเป็นเด็กดี มันเกิดจากการที่เราต้องการควบคุม หมายความว่าตัวครูเอง ตัวโรงเรียนเอง หรือแม้แต่สังคมไทยเราเอง เราไม่มีวิธีการอื่นในการขัดเกลาหรือเลี้ยงดูเขา เราใช้วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ “ทำให้กลัว” ทำให้เข็ดหลาบ ทำให้จำว่าถ้าไม่ทำอย่างนี้เธอเจ็บนะ เธอจะโดนตี พอทำไปซ้ำๆ มันก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ว่า อ่อฉันจะต้องทำแบบนี้ถึงจะไม่โดนตี

แต่ที่จริงแล้วมันมีวิธีอื่น แล้วมันเป็นวิธีที่ดีกว่าคือ เราต้องคุย เราต้องใช้หลักประชาธิปไตยมากกว่าอำนาจนิยม ผมขออธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจในโรงเรียนอย่างนี้ครับว่า ในสังคมเองหรือในโรงเรียนมันมีอำนาจอย่างนี้ 3 ตัว 1.อำนาจเหนือ 2.อำนาจร่วม และ 3.อำนาจภายใน อำนาจเหนือคือสิ่งที่เราใช้กันอยู่ตลอดอยู่แล้ว เพื่อที่จะควบคุม-บังคับคนในสังคม หรืออย่างครูบังคับเด็ก ผู้ปกครองบังคับลูก

สิ่งที่เราขาดไปแล้วผมอยากให้มีเพิ่มมากขึ้นในสังคมนี้ โดยเฉพาะในห้องเรียนคือ อำนาจร่วม หมายความว่า เราเอง (ครู) ในฐานะที่มีแหล่งที่มาของอำนาจสูงกว่า ทำยังไงที่เราจะแชร์ เช่น เราให้กำลังใจเขา เราฟังเขาโดยที่ไม่ตัดสิน คอยแบ่งปันความรู้และข้อมูล หรือแชร์การตัดสินใจ ซึ่งอันนี้สำคัญมาก เพราะในสังคมไทยเราไม่ว่าจะเป็นในครอบครัวหรือในโรงเรียน ผู้ใหญ่ไม่ค่อยแชร์อำนาจกราตัดสินใจให้กับเด็ก ซึ่งผู้ใหญ่มักจะเป็นคนคอยกำหนดทิศทางว่า เด็กจะต้องไปซ้าย เด็กจะต้องไปขวา เด็กจะต้องไปข้างหน้า แต่อย่างน้อยๆ ถึงเราจะเป็นคนตัดสินใจแต่ก็ควรรับฟังความเห็นเขาบ้าง เช่นถามเด็กก่อนว่า ถ้าพ่อจะทำแบบนี้ลูกคิดว่ายังไง หรือครูจะทำแบบนี้นักเรียนคิดว่าโอเคหรือเปล่า ซึ่งทางเราสร้างวัฒนธรรมแบบนี้ได้ในชั้นเรียนมันจะเปลี่ยนสังคม

โรงเรียนจำลองสังคม หรือโรงเรียนสร้างสังคม?

คือมันก็มีข้อโต้เถียงเหมือนกันว่า โรงเรียนมันจำลองสังคมมา หรือจริงๆ แล้วโรงเรียนเป็นตัวสร้างสังคมต่างหาก ดังนั้นผมมองว่าถ้าเราไม่เริ่มที่โรงเรียนแล้วเราจะไปเริ่มที่ไหน คือคิดว่าโรงเรียนมันเป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็คือที่บ้าน ซึ่งมันจะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ต้องสร้างความเข้าใจวางเป้าหมายร่วมกัน และไปสู่จุดหมายพร้อมกัน

ความร่วมมือของผู้ปกครองและคุณครู

ผมว่าผู้ปกครองและครูต้องร่วมมือกันมากขึ้น เราต้องพูดคุยกัน ผู้ปกครองฟังครู ครูฟังผู้ปกครอง ฟังกันและกันให้มากขึ้น เราต้องเปิดใจและสร้างพื้นที่ๆ ปลอดภัยสำหรับครูและผู้ปกครอง โดยส่วนตัวผมเองผมเปลี่ยนการประชุมผู้ปกครอง จากปกติที่ผู้ปกครองมาประชุมแล้วมานั่งฟังผู้อำนวยการและครูพูดอะไรนิดหน่อย แล้วก็พูดแต่ปัญหาเรื่องเด็ก แต่ได้เปลี่ยนให้ผู้ปกครองได้คุยกันมากขึ้น ให้ผู้ปกครองได้มีพื้นที่ที่เขาจะได้แลกเปลี่ยนกัน แล้วเราเองก็ได้รับฟังไปด้วย และให้ผู้ปกครองรู้สึกได้มีส่วนร่วม ผู้ปกครองก็จะมีความสะบายใจในการคุยปัญหาเรื่องลูกและครูและผู้ปกครองด้วยกันเอง ซึ่งก็จะก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีตามมา

 

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก : ธนวรรธน์ สุวรรณปาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า