Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สมาคมนักวางแผนการเงินไทย’ เดินหน้าภารกิจเปลี่ยน Mindset คนไทยที่คิดว่า ‘เงินน้อยไม่ต้องวางแผน’ โดยย้ำว่า ‘การวางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน’ ยิ่งเงินน้อย ยิ่งต้องวางแผน

‘วิโรจน์ ตั้งเจริญ’ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย (Thai Financial Planners Association – TFPA) เปิดเผยว่า สมาคมนักวางแผนการเงินไทยหรือ TFPA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ก่อตั้งมากว่า 16 ปี

และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงินหรือ FPSB (Financial Planning Standards Board Ltd.) หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

โดยปี 2566 มีนักวางแผนการเงิน CFP จำนวน 223,770 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้เป็นนักวางแผนการเงิน CFP จากประเทศไทย 593 คน

สมาคมฯ  มีหน้าที่หลัก 2 ด้านคือ

1. สร้างนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ที่มีความรู้ความสามารถและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพตามมาตรฐานสากลเพื่อให้บริการวางแผนการเงินแก่ประชาชนให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวและ

2. ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการวางแผนการเงินและเริ่มลงมือวางแผนการเงินอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายที่จะทำให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความมั่นคงทางการเงิน

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยมีความตื่นตัว และหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องวางแผนการเงินเพิ่มมากขึ้น

โดยจากรายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2565 จัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยเพิ่มพูนทักษะความรู้ทางการเงินและมีพฤติกรรมการเงินที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 ที่มีค่าเฉลี่ย 67% เพิ่มเป็น 71% และมีการออมเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินเพิ่มขึ้นจาก 67.2% เป็น 71.7%

ขณะเดียวกันการออมเงินเพื่อการเกษียณกลับมีแนวโน้มลดลงจาก 66% เหลือ 61.1% จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งปลูกฝังให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการวางแผนการเงิน’ ทั้งในส่วนของการออมฉุกเฉิน’ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้

ควบคู่กับการออมเพื่อวัยเกษียณ’ เพื่อให้คนไทยมีฐานะการเงินที่มั่นคง สามารถเกษียณได้อย่างมีความสุข ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง

ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดว่าการวางแผนการเงินมีไว้สำหรับคนมีเงินเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงการวางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน’ ยิ่งคนที่มีเงินจำกัดยิ่งต้องวางแผนเพื่อใช้เงินให้ถูกต้องและคุ้มค่าที่สุด

ซึ่งจากการสำรวจความคิดเห็นเรื่องเงินและพฤติกรรมทางการเงินของผู้เยี่ยมชมบูธของสมาคมฯ ในงาน SET in the City 2024 จำนวน 340 คน เรื่องที่ทำประชาชนเครียดมากที่สุด 42% คือเรื่องเงิน

และสาเหตุอันดับต้นๆ ของความเครียด 56% มาจากการไม่มีเงินออมเพื่อการเกษียณ และ 46% เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตลดลง

ดังนั้น สมาคมฯ จึงต้องเร่งส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการเงินและชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ควรเริ่มต้นวางแผนแต่เนิ่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเกษียณในอนาคต

โดยมีการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของบทความและคลิปวิดีโอผ่านโซเชียลมีเดียของสมาคมฯ รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการวางแผนการเงิน เช่น

กิจกรรม Financial Planning Workshop ฝึกวางแผนการเงินเบื้องต้นกับนักวางแผนการเงิน CFP กิจกรรม Financial Planning Clinic รับคำปรึกษาวางแผนการเงินจากนักวางแผนการเงิน CFP และโครงการมนุษย์เงินเดือน มนุษย์เงินดี มีสุข Happy Salary Man’ เป็นต้น

นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของนักวางแผนการเงิน CFP จึงต้องเร่งสร้างการรับรู้ว่านักวางแผนการเงิน CFP แตกต่างจากผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ

เพราะนักวางแผนการเงิน CFP คือมืออาชีพที่ให้คำแนะนำโดยมองภาพรวมทุกๆ ด้านของลูกค้า และให้คำแนะนำโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของลูกค้าเป็นหลัก จึงทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าจะสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้รับคำปรึกษามีความสุขในการใช้ชีวิต

นายกสมาคมฯ ยังกล่าวต่อว่า จำนวนนักวางแผนการเงิน CFP ของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ถือว่ายังมีจำนวนน้อยสุดคือ 593 คนจากประชากร 70 ล้านคน ขณะที่ประเทศมาเลเซียมีนักวางแผนการเงิน CFP 2,509 คน จากจำนวนประชากร 33.46 ล้านคน

เป็นนโยบายเร่งด่วนที่สมาคมฯ ต้องเร่งผลิตนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ที่มีคุณภาพ ในฐานะผู้ให้บริการวางแผนการเงินที่มีความเป็นมืออาชีพ น่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการวางแผนการเงินที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

พร้อมกับมีแผนในการเข้าพบและประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิต

และสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในวงกว้าง และยกระดับการเทียบเคียงคุณวุฒินักวางแผนการเงิน CFP กับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแล

ทั้งนี้ นายกสมาคมฯ ยังบอกอีกว่า บริการวางแผนทางการเงินของสมาคมนั้น ไม่มีขั้นต่ำในการให้บริการ หากเป็นคำแนะนำง่ายๆ ค่าบริการก็ยิ่งต่ำมาก หรือไปจนถึงไม่เก็บค่าบริการเลย จึงแนะนำประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมฯ เพื่อรับคำปรึกษาก่อนตัดสินใจใช้บริการ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า