SHARE

คัดลอกแล้ว

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าในปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของไทยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 5.9% สูงสุดในรอบ 24 ปี เตือนรับมือวิกฤตของแพง ต้นทุนค่าแรงพุ่ง

ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยเฉลี่ยทั้งปี 2565 จะเร่งตัวขึ้นสูงถึง 5.9% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 24 ปี เช่นเดียวกับทั่วโลก

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในประเทศต่างๆ คือ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน และมาตรการ Zero Covid ของจีน ซึ่งทำให้ปัญหาอุปทานคอขวดที่เดิมถูกกระทบจากโควิด-19 รุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ การเพิ่มของค่าแรงจากปัญหาตลาดแรงงานตึงตัว ก่อให้เกิดภาวะ Wage-price Spiral หรือภาวะที่เงินเฟ้อติดลมบน เพราะราคาสินค้าและค่าแรงเพิ่มขึ้นจนเกิดวงจรเงินเฟ้อที่แก้ยาก

แต่ก็ยังมีโอกาสที่ค่าแรงจะทยอยปรับตัวลดลงหลังจากนี้ เพราะคาดการณ์ว่าอุปทานในตลาดแรงงานจะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ

สำหรับภาวะเงินเฟ้อของไทย สาเหตุหลักมาจากต้นทุนพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น การลดมาตรการอุดหนุนค่าครองชีพต่างๆ จากภาครัฐ รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจมายังผู้บริโภค ซึ่งทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น และอาจส่งผลกระทบให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นด้วย

โดยตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดของไทยเดือน พ.ค. 2565 อยู่ที่ 7.1% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์เอาไว้ ส่วนหนึ่งเป็นเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งอุปทาน หรือผู้ผลิต ที่เดิมถูกกระทบจากโควิด-19 และตอนนี้ถูกกระทบภาวะสงครามที่ทำให้ราคาวัตถุดิบต่างๆ ปั่นป่วน

หากดูตัวเลขเงินเฟ้อผู้ผลิต (PPI) จะเห็นว่าอยู่ที่ 13.3% สูงกว่าเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) เกือบเท่าตัว

ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ตัวเลขเงินเฟ้อไทยยังมีความเสี่ยงสูงต่อเนื่อง เพราะมีเงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์เข้ามาผสมโรง หรือความต้องการซื้อของผู้บริโภคที่เริ่มกลับมาตามการเติบโตเศรษฐกิจหลังโควิด-19 นั่นเอง

สำหรับผลกระทบ แน่นอนว่าทำให้กำลังซื้อของคนในประเทศลดลง และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องในภาคธุรกิจชะลอการลงทุน โดย EIC คาดว่ารายได้ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเติบโตช้าตามตลาดแรงงานที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จะเป็นข้อจำกัดในการรับมือกับค่าครองชีพที่เร่งตัวสูงในปีนี้

โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งมีจำนวนถึงกว่า 7 ล้านครัวเรือนหรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด

ดังนั้น ปัญหาเงินเฟ้อสูงในปี 2565 จะซ้ำเติมทำให้สถานะทางการเงินของประชาชนไทยถดถอยลง ทั้งจากสภาพคล่องที่ลดลงและหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น จากที่บางส่วนต้องกู้มาใช้จ่ายเพื่อชดเชยรายได้ที่ไม่เพียงพอ ถือเป็นความเปราะบางของภาคครัวเรือนไทยที่เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจจะประสบปัญหาจากภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งยังสามารถส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้จำกัด โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็น (Discretionary)

สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหา คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในไตรมาส 3 ปี 2565 หรืออย่างเร็วที่สุดในการประชุมวันที่ 10 ส.ค.นี้ ซึ่งจะช่วยให้คาดการณ์เงินเฟ้อและความกังวลของตลาดลดลง

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติช่วยให้เงินเฟ้อในฝั่งอุปสงค์ปรับตัวลงเท่านั้น แต่ในฝั่งอุปทานยังมีปัญหาจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่คาดหวังว่าการเพิ่มกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกพลัส และความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จะช่วยให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงในท้ายที่สุด

ในภาวะแบบนี้ ดร.สมประวิณ แนะนำว่า หากมีรายได้ควรนำมาใช้หนี้ก่อน เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง ส่วนภาคธุรกิจจะต้องปรับตัวต่อเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่ออนาคต

ส่วนคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2565 ล่าสุด EIC คาดว่าจะเติบโต 2.9% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 2.7% จากปัจจัยหนุนการท่องเที่ยวและภาคบริการที่จะฟื้นตัวในช่วงท้ายปี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า