SHARE

คัดลอกแล้ว

จากอดีต 35 ลำ ปัจจุบัน สายการบิน ‘ไทย ไลอ้อน แอร์’ ที่มีเครื่องบินเหลือแค่เพียง 11 ลำหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 มานั้นกำลังเร่งรับเครื่องบินใหม่อย่างเต็มที่ เพื่อเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ใกล้เคียงกับดีมานด์ของผู้โดยสารที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

โดยในปีนี้กำหนดเพิ่มฝูงบิน 7 ลำ รับเข้ามาแล้ว พร้อมใช้งานในช่วงสงกรานต์นี้ 2 ลำ และจะรับเข้ามาเพิ่มในเดือนพฤษภาคมอีก 2 ลำ และเดือนกรกฎาคมอีก 3 ลำ แบ่งเป็นเครื่องโบอิ้ง 737-800 และ 737-900 ในจำนวนใกล้เคียงกัน

เครื่องบินที่เพิ่มขึ้นทำให้สายการบินตัดสินใจขยับเพิ่มความถี่เส้นทางบินเดิมที่มีอยู่ แบ่งเป็น

ในประเทศ 14 เส้นทางบิน ได้แก่  เชียงใหม่, เชียงราย, พิษณุโลก, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี, กระบี่, ภูเก็ต, หาดใหญ่, ตรัง, นครศรีธรรมราช และมีเส้นทางการบินข้ามภูมิภาคในประเทศ ได้แก่ อุดรธานี – หาดใหญ่ และ อู่ตะเภา – เชียงใหม่

เส้นทางบินระหว่างประเทศ เชียงใหม่, เชียงราย, พิษณุโลก, อุบลราชธานี, อุดรธานี, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี, กระบี่, ภูเก็ต, หาดใหญ่, ตรัง, นครศรีธรรมราช และมีเส้นทางการบินข้ามภูมิภาคในประเทศ ได้แก่ อุดรธานี – หาดใหญ่ และ อู่ตะเภา – เชียงใหม่

และเปิดเส้นทางบินใหม่อย่าง ‘บังคาลอร์’ ประเทศอินเดีย

พอจบปี 2566 นี้ สายการบิน ‘ไทย ไลอ้อน แอร์’ จะมีเครื่องบินรวม 18 ลำ ยังห่างจากจำนวนก่อนโควิดอยู่ประมาณ 17 ลำหรือราวครึ่งหนึ่ง

แต่สายการบิน ‘ไทย ไลอ้อน แอร์’ คาดว่า ด้วยจำนวนเครื่องที่เพิ่มขึ้น ความถี่การบินที่เพิ่มขึ้น และเส้นทางบินที่เพิ่มขึ้น “ภายในปีนี้น่าจะสามารถพลิกกลับมาเริ่มทำกำไรได้”

ไทย ไลอ้อน แอร์ ดูเหมือนจะมอง ‘จีน’ เป็นตลาดเรือธงสำคัญ จากเดิมให้บริการบินอยู่ 6-7 เมืองแบบไม่เต็มความถี่ ปัจจุบันสามารถเพิ่มความถี่และให้บริการบินตรงสู่จีนกว่า 8-10 เมือง  มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารกว่า 80% ราว 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ต่อเส้นทาง และมีแผนที่จะขยายเส้นทางบินสู่จีนเพิ่มอีก อาทิ อู่ฮั่น หางโจว เซินเจิ้น ฯลฯ เพราะก่อนโควิด-19 เคยบินอยู่กว่า 10 จุดบิน

ปัจจุบัน กว่า 80% ของนักท่องเที่ยวจีนเดินทางกับไทย ไลอ้อน แอร์ในรูปแบบ ‘กรุ๊ปทัวร์’ ขณะที่อีก 20% เป็นนักท่องเที่ยวอิสระ โดยในปี 2566 สายการบินจะใช้ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารกับตลาดจีนก่อน ส่วนตลาดอื่นๆ จะเน้นฤดูพีคมากกว่า

ในภาพรวมเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2565 จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 30% และสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย ไลอ้อน แอร์ เพิ่มขึ้นจากต่ำกว่า 10% มาเป็น 12-15% และตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายในไตรมาส 2 นี้

ไตรมาส 1 ไทย ไลอ้อน แอร์มีจำนวนผู้โดยสารกว่า 9 แสนคน อัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย 75% และวางเป้าหมายว่าในไตรมาส 2 จะต้องมีจำนวนผู้โดยสารเกิน 1 ล้านคน อัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย 80% และภาพรวมตลอดปี 2566 เกิน 5 ล้านคน

คาดว่าสัดส่วนผู้โดยสารเส้นทางระหว่างประเทศจะขยับไปอยู่ประมาณ 60-70% จากเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ทยอยเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าระยะยาวเอาไว้ 50-60% ส่วนส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ตอนนี้อยู่ในสัดส่วนราวๆ 25-30% คาดเป็นท็อป 2 ในภาคใต้และท็อป 3 ในภาคอีสาน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า