Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยไลอ้อนแอร์ สายการบินลูกครึ่งไทย-อินโด ที่ทำธุรกิจมาแล้ว 8 ปี แต่ยังไม่เคยมีกำไร แถมยังมาเจอกับสองปีที่หนักและยาก หลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้การเดินทาง-การท่องเที่ยวหยุดนิ่งทั่วทั้งโลก 

สายการบินลูกครึ่งไทย-อินโดรายนี้ผ่านอะไรมาบ้าง พบเจอกับบทเรียนแบบไหน และกำลังตั้งท่าลุกขึ้นสู้อีกครั้งยังไง TODAY Bizview จะเล่าให้ฟัง 

[ ก่อนโควิด 6 ปีที่โตเร็ว เน้นขยายไว-ยังไม่มีกำไร ]

‘ไทยไลอ้อนแอร์’ เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี 2013 จากการร่วมทุนระหว่างสายการบินไลอ้อนแอร์จากประเทศอินโดนีเซียและกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย นำโดย ‘อัศวิน ยังกีรติวร’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ คนปัจจุบัน

สายการบินลูกครึ่งไทย-อินโด โด่งดังในประเทศไทยจากโปรโมชัน ‘ฟรีโหลดน้ำหนักกระเป๋า 15 กิโลกรัม’ ที่ให้บริการมานาน ก่อนยกเลิกไปในช่วงต้นปี 2019 หลังสายการบินเล็งเห็นว่า สามารถสร้างการรับรู้ในหมู่คนไทยและพร้อมแล้วที่จะขยับสู่ระดับต่อไป หันกลับมามุ่งพัฒนาเส้นทาง-จุดบินแทน

แม้จะเปิดให้บริการในไทยมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 8 ปี แต่ไทยไลอ้อนแอร์นั้นยังไม่เคยทำกำไรได้เลย เพราะเน้นสร้างการเติบโตและขยายสายการบินอย่างรวดเร็วเป็นเป้าหมายหลัก 

ซึ่งสายการบินก็มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจริง หากย้อนดูรายได้-กำไรของไลอ้อนแอร์หรือบริษัท ไทย ไลอ้อน เมนทารี จำกัด จะพบว่า

ปี 2016 รายได้ 9,564 ล้านบาท ขาดทุน 443 ล้านบาท

ปี 2017 รายได้ 14,256 ล้านบาท ขาดทุน 1,496 ล้านบาท

ปี 2018 รายได้ 20,884 ล้านบาท ขาดทุน 4,634 ล้านบาท

ปี 2019 รายได้ 23,794 ล้านบาท ขาดทุน 3,896 ล้านบาท 

ปี 2020 รายได้ 12,145 ล้านบาท ขาดทุน 1,522 ล้านบาท 

รายได้ของไทยไลอ้อนแอร์เติบโตต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2016 จนมาถึงปี 2019 โดยเติบโตปีละกว่าสองดิจิท หรือราว 10-30%

ทำให้แม้สายการบินจะยังไม่เคยเก็บกำไรได้ แต่มีกระแสเงินสดในมือและมีฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสะสมผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปีในช่วงท้ายก่อนเข้าสู่ยุคโควิด-19 ก็ทำให้สายการบินมีความมั่นใจจะขยายธุรกิจต่อไปในระดับที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขในปี 2020 ที่มีการระบาดเต็มปีของโควิดเป็นปีแรก จะสะท้อนให้ถึงผลกระทบของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อรายได้ของไทยไลอ้อนแอร์ให้รายได้ของสายการบินลดลงจากปีก่อนหน้าเกินกว่าครึ่ง 

ทั้งๆ ที่ในช่วงต้นปี 2019 ก่อนเกิดแพนดามิก ไทยไลอ้อนแอร์นั้นมีแผนปักหมุดขยายฐาน ณ ‘อู่ตะเภา’ ให้เป็นฮับทางการบินเอเชีย เพิ่มเส้นทางบินระยะใกล้และไกลสู่อินเดียและจีน จึงเตรียมจะขยายฝูงบินเพิ่มขึ้นอีก 50 ลำบวกเข้าไปจากของเดิม 30 ลำ พร้อมประกาศเตรียมรับพนักงานใหม่ 300 คนมาเติมในกลุ่มพนักงานกว่า 4 พันคนที่สายการบินมีอยู่เดิมก่อนมาชะงักงันเพราะโควิด-19

จากคำอธิบายของ ‘นันทพร โกมลสิทธิ์เวช’ ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ระบุว่า ปัจจุบันไทยไลอ้อนแอร์เหลือฝูงบินเพียง 11 ลำ และพนักงานราว 2,000 คน

[ ยืนระยะ 2 ปีกับแพนดามิก ]

ตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีของแพนดามิก ‘ไทยไลอ้อนแอร์’ เป็นหนึ่งในสายการบินที่ปักหลักต่อต้านคลื่นลมที่เชี่ยวกรากของโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง

เพราะมีสัดส่วนผู้โดยสารกว่า 60% เป็นผู้โดยสารจากเที่ยวบินระหว่างประเทศ ทำให้หลังทั่วโลกประกาศปิดต้อนรับนักเดินทางต่างชาติ ไทยไลอ้อนแอร์เหลือผู้โดยสารในมือแค่ 40% จากของเดิม ซึ่งใน 40% ที่ว่านั้นไม่สามารถเปิดบิน 100% ได้ตลอดเวลา ต้องเปิด-ปิดตามนโยบายสาธารณสุข

ตั้งแต่ตอนนั้น ‘ไทยไลอ้อนแอร์’ ตัดสินใจลุยบินในเส้นทางในประเทศ เพื่อหากระแสเงินสดรักษาสายการบิน รอการกลับมาอีกครั้งของการเดินทางทั่วโลก 

จนมาถึงปัจจุบันไทยไลอ้อนแอร์ยังคงให้บริการเส้นทางบินพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 13 เส้นทางบินในประเทศ และ 2 เส้นทางบินข้ามภูมิภาค

โดยมีความถี่ของเที่ยวบินภายในประเทศของเดือน ม.ค. และ ก.พ. 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 400 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ด้วยอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 80% และอัตราการใช้เครื่องบิน 7-8 ชั่วโมง พร้อมยอดจองล่วงหน้า 30-40% ในเดือน มี.ค.

รวมถึงสายการบินยังได้ตัดสินใจขยายจุดบินสู่ ‘สุวรรณภูมิ’ เพื่อขยายบริการขนส่งสินค้า (cargo) ที่เติบโตขึ้น 20-30% หลังจากแพนดามิก จนมาถึงตอนนี้เรียกว่าแม้สถานการณ์การบินจะยังไม่กลับมาปกติ แต่ในช่วงปลายปี 2021 ก่อนการมาของโอมิครอนระลอกล่าสุด ธุรกิจสายการบินก็เริ่มกลับมาเห็นแสงสว่างอีกครั้ง

คำถาม คือ หลังจากนั้นสิงโตลูกครึ่งจะลุกขึ้นสู้ยังไง ?

[ ลุกขึ้นสู้อีกครั้งในช่วงท้ายของยุคแพนดามิก ]

ในปี 2022 นี้ ผู้บริหารของสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ระบุว่าจะเน้น 2 กลยุทธ์หลัก คือ

1) การบริหารต้นทุนให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมบนพื้นฐานของสถานการณ์จริง สามารถรักษามาตรฐานด้านสาธารณสุข และระมัดระวังในการเปิดเส้นทางบินหรือเพิ่มความถี่เที่ยวบิน เพื่อให้คุ้มกับต้นทุนในการบริการ 

2) ขยายเส้นทางการบินและฝูงบินอีกครั้ง หลังจากมั่นใจว่า นักเดินทางเริ่มคุ้นชินกับการอยู่ร่วมกับโควิด-19 มากกว่าช่วงก่อน

โดยประเดิมเปิดเส้นทางใหม่กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) – น่าน เที่ยวแรกในช่วงปลายเดือน มี.ค. นี้ 

ก่อนจะพิจารณาการกลับมาบินในเส้นทางบินระหว่างประเทศอีกครั้งภายในไตรมาส 3  โดยมีจุดบินเป้าหมายที่อยู่ระหว่างศึกษาอย่างอินโดนีเซีย (กรุงจาการ์ตา) สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินเดีย

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเป้าหมายของไทยไลอ้อนแอร์ในปีนี้จะไม่ใช่การกลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดด หรือเร่งทำกำไรในเวลาอันสั้น แต่เลือกขยับอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สายการบินสามารถกลับมาอย่างแข็งแรงในช่วงเวลาที่ทุกย่างก้าวคือความไม่แน่นอน

“ผมยอมรับว่าจากที่อยู่ในวงการท่องเที่ยวมา 30 กว่าปี อยู่ในวงการสายการบินมา 7-8 ปี ไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ เหตุการณ์เที่ยวนี้ทำให้เราเรียนรู้หลายๆ อย่าง…เดิมเราตั้งใจจะขยายปีละ 10 ลำ ขยายเยอะมากๆ แต่ในอนาคตเราคงทยอยทำ เที่ยวนี้เป็นบทเรียนที่ดีมาก เรื่องของธุรกิจที่แย่ลงนั้นทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดนหมด พนักงานด้วย เราเองด้วย เราเห็นใจซึ่งกันและกัน และเราก็ต้องสู้ต่อไป” อัศวิน ยังกีรติวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินไทยไลอ้อนแอร์กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า