Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนรอยหุ้น STARK หรือ บริษัท สตาร์คคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หนึ่งในหุ้นที่สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนทั้งตลาด ไม่ว่าจะรายย่อย รายใหญ่ หรือสถาบัน ขาดทุนกันกว่า 90% แบบถ้วนหน้า

หากจะพูดถึงหุ้น STARK คงต้องเล่าย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงปี 2562 ในตอนนี้ STARK เป็นบริษัทมหาชนที่ไม่ได้เข้ามาจดทะเบียนในตลาดด้วยวิธีการปกติอย่างการขายหุ้นใหม่ (Initial Public Offering: IPO)

แต่เข้ามาในตลาดหุ้นด้วยวิธีการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม (Back-door Listing) ผ่านบริษัท สยามอินเตอร์ มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น SMM 

การนำธุรกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม คือการให้บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นอยู่แล้ว ซึ่งอาจมีขนาดเล็กกว่า เข้าซื้อสินทรัพย์ของบริษัทนอกตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่า

ทั้งนี้ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการควบคุมและโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ และเพื่อให้บริษัทที่อยู่นอกตลาดกลายมาเป็นบริษัทใหม่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

สำหรับ STARK เป็นผู้ประกอบธุรกิจขายสายไฟฟ้า ชูจุดเด่นว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายของแบรนด์สายไฟฟ้าระดับโลกอย่าง ‘เฟ้ลปส์ ดอด์จ’ (Phelps Dodge) นอกจากนี้ ยังมีเข้าถือหุ้นบริษัทสายไฟฟ้าชั้นนำต่างๆ จนกลายเป็นบริษัทด้านสายไฟฟ้าติดอันดับโลก

ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทฯ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง..

  • รายได้

ปี 2562 – 11,607 ล้านบาท

ปี 2563 – 16,917 ล้านบาท

ปี 2564 – 27,129 ล้านบาท

9 เดือนปี 2565 – 21,877 ล้านบาท

  • กำไร

ปี 2562 – 123 ล้านบาท

ปี 2563 – 1,608 ล้านบาท

ปี 2564 – 2.783 ล้านบาท

9 เดือนปี 2565 – 2,216 ล้านบาท

ทั้งหมดนี้ทำให้นักลงทุนรายใหญ่ต่างตบเท้ากันเข้ามาถือหุ้น นอกจากนี้ ยังดึงดูดกองทุนต่างๆ ทั้งจากสถาบันการเงินในไทยและในต่างประเทศให้เข้ามาถือหุ้นด้วยเช่นกัน ยิ่งตอกย้ำถึงโอกาสการเติบโตและความแข็งแกร่งของบริษัทฯ

การเข้าซื้อหุ้นของเหล่านักลงทุน ผลักดันให้ราคาหุ้น SMM (STARK ก่อน Backdoor) พุ่งไม่หยุด จากที่เคยเคลื่อนไหวบริเวณ 1.40-2.60 บาทต่อหุ้นในช่วงปี 2561 ก็ถูกเก็งกำไรจนขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 6.65 บาทต่อหุ้นในปี 2562

ต่อมาในปี 2565 บริษัทฯ ได้เพิ่มความมั่นใจให้นักลงทุนอีกรอบด้วยการประกาศเพิ่มทุนมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท จาก 12 กองทุน เพื่อนำไปใช้ในการควบรวมธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงประกาศงบการประจำปี 2565 บริษัทฯ กลับไม่สามารถส่งงบให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้จนถูกขึ้นเครื่องหมาย SP หรือถูกระงับการซื้อขายชั่วคราว (1-30 มิ.ย. 2565)

นั่นทำให้ STARK กลายเป็นหุ้นที่ถูกจับตาจากเหล่านักลงทุน เพราะอาจมีความไม่ชอบมาพากลบางอย่างจนทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถนำส่งงบการเงินได้ตามกำหนด

ท้ายที่สุด คำตอบก็ถูกเฉลยออกมาว่า บริษัทฯ จำเป็นต้องเปลี่ยนทีมผู้บริหาร และอาจพบการทุจริตภายในบริษัทฯ ที่ทำให้งบการเงินในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ‘เติบโตผิดไปจากความเป็นจริง’ หรือเป็นการแต่งงบขึ้นมาเท่านั้น

นอกจากเรื่องงบการเงินแล้ว STARK ยังมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้มูลค่า 9,200 ล้านบาท ทั้งยังค้างชำระเงินกู้ระยะสั้นและยาวจากธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย มูลค่ารวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ทั้งที่บริษัทมีส่วนทุนเหลือเพียง 8,600 ล้านบาทเท่านั้น

เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดให้ STARK กลับมาซื้อขายได้ชั่วคราวในวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ราคาหุ้นเปิดตลาดร่วงลงทันที และร่วงต่อเนื่องไปทำจุดต่ำสุดที่ 0.13 บาทต่อหุ้น ก่อนจะปิดตลาดที่ 0.18 บาทหุ้น หรือร่วงลงกว่า 90% ภายในวันเดียว

ล่าสุดเช้านี้ (8 มิ.ย. 2566) ราคาหุ้น STARK เปิดที่ 0.15 บาทต่อหุ้น แม้จะมีจังหวะปรับขึ้นไปอยู่ที่ 0.16 บาทต่อหุ้น แต่ท้ายที่สุดก็ปรับตัวลงมาแกว่งบริเวณ 0.13-0.14 บาทต่อหุ้น

ภายหลังมีประเด็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจัดอันดับเครดิต กองทุนที่ถือหุ้น/หุ้นกู้ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัย์ (ก.ล.ต.) ต่างก็ออกมา Take Action

เริ่มจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่นอกจากจะเปิดเทรดชั่วคราว ยังออกหนังสือเตือนให้นักลงทุนศึกษาข้อมูลผลประชุมหุ้นกู้ของบริษัทฯ ขณะที่ทริสเรทติ้ง ประกาศลดเครดิตเรทติ้งของ STARK มาอยู่ที่ระดับ C พร้อมแนวโน้มเครดิตเป็น ‘ลบ’

ส่วนกองทุนในประเทศ ต่างออกมาปฏิเสธว่า ไม่เคยมีการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัท ส่วนหุ้น STARK ตั้งแต่เกิดเรื่องก็ปรับลดสัดส่วนการลงทุนมาต่อเนื่อง ส่วนอื่นๆ เช่น ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) สัดส่วนการลงทุนก็ไม่มีนัยสำคัญต่อกองทุน เป็นต้น

ทางด้านสำนักงาน ก.ล.ต. ในช่วงที่ผ่านมามีการจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการดำเนินการตรวจสอบพิเศษ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนหุ้นกู้ ผ่านการเปิด ‘ศูนย์ข้อมูลหุ้นกู้’

ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า ผู้บริการชุดใหม่ของ STARK เข้าพบ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เพื่อแจ้งเบาะแสการฉ้อโกงของผู้บริหารชุดเก่าแล้ว

เมื่อถามความเห็นนักวิเคราะห์ ‘ชาญชัย พันทาธนากิจ’ รองผู้อำนวยการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด แนะนำว่า สำหรับสายเก็งกำไร ต้องดูช่วงเทรดให้ดี หากซื้อขายทำกำไรระยะสั้น ต้องมีวินัยและออกให้ทัน (เปิดเทรดชั่วคราว 1-30 มิ.ย. 2566)

ส่วนนักลงทุนระยะยาว จากปัญหาที่มีรายงานออกมา ไม่ว่าจะเป็นการส่งงบการเงินล่าช้า และภาพรวมของบริษัทที่ยังเป็นลบ จึงแนะนำ ‘หลีกเลี่ยงลงทุน’

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า