ประเทศไทย อยากให้คนมีลูก เพราะหลังจากเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้คนแก่มาก คนเกิดน้อย โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีหลังที่ประชากรไทยตายมากกว่าเกิดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์หลายปี นอกจากนั้น ยังชัดเจนว่า‘โครงสร้างประชากรไทย’ กำลังเปลี่ยนแปลงไปมหาศาลในอีก 8 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุจะยิ่งเพิ่มขึ้น แต่วัยเด็กและวัยทำงานจะลดลงอีก เสี่ยงต่อการขาดแคลนประชากรวัยแรงงานในอนาคต ดังนั้น การมีคู่และการมีลูก จึงสำคัญสำหรับสังคมไทย แต่สังคมกลับ ‘โสด’ มากขึ้น เป็นคู่น้อยลง
จากรายงานสภาวะสังคมของสภาพัฒน์พบว่า สถานการณ์คนโสดในปี 2566
- กว่า 1 ใน 5 (23.9%) ของคนไทยเป็นคนโสด
- คนโสดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี) กลับมีสัดส่วนถึง 40.5% หรือสูงกว่าภาพรวมประเทศอีกเท่าตัว
- คนโสดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี) เพิ่มขึ้นจาก 35.7% ในปี 2560 เป็น 40.5% ในปี 2566
เจาะลงไปใน สถานการณ์คนโสด อีกจะพบว่า
- คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง
- ‘กรุงเทพฯ’ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรสูงที่สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่นที่ 50.4%
- 1 ใน 3 ของคนโสดจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป แบ่งเป็นชาย 25.7% และหญิง 42%
ส่วน สถานการณ์คนมีคู่ในปี 2566 พบว่า
- สัดส่วนการแต่งงานลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 57.9% ในปี 2560 มาเป็น 52.6% ในปี 2566
- สถิติการหย่าร้างสูงขึ้น 22% จากปี 2560 มาปี 2566
แล้วอะไรที่ทำให้คนไทยเลือกเป็นโสดมากขึ้น TODAY Bizview สรุปมาให้แล้วในภาพนี้