SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคของการสตรีมมิ่ง ที่คนส่วนใหญ่มักเสพคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Netflix, Viu, Disney+ hotstar, YouTube, TikTok, iQIYI และ Spotify แทนที่การดูโทรทัศน์แบบเดิมๆ

สาเหตุหลักๆ มาจากเป็นเพราะมีอิสระในการเลือกดูวัน-เวลาใดก็ได้ หรือเลือกดูย้อนหลังก็ได้ตามสะดวก รวมถึงสามารถใช้ชมการถ่ายทอดสดหรือไลฟ์สด หรือแม้แต่หลายองค์กรก็นำมาใช้ประชุมออนไลน์ ส่งผลให้สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม (Streaming Platform) เติบโตขึ้นรวดเร็ว

แต่ทว่า Streaming Platform ส่วนใหญ่ ที่คนไทยใช้บริการและเสียค่าใช้จ่ายทุกวันนี้กลับเป็นของต่างชาติ แล้วทำอย่างไร? คนไทยจะมี Streaming Platform สัญชาติไทยใช้มากขึ้น

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ บริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด ที่ปรึกษาธุรกิจ ทำการศึกษา Business Model ของ Streaming Platform เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจยุค Platform Economy

โดยนำเสนองานศึกษาเพื่อเป็นอีกทางเลือกให้คนไทยได้มีโอกาสเติบโตในโลกออนไลน์ได้อย่างมีคุณภาพ ผ่าน Streaming Platform ที่เป็นของคนไทยเอง รวมถึงโอกาสการเติบโตของ Content Creator ไทย ใน Streaming Platform พบข้อมูลน่าสนใจ 5 ข้อสำคัญด้วยกัน ดังนี้

1.ความนิยมสื่อออนไลน์แทนที่สื่อดั้งเดิมพุ่งขึ้น และคนไทยชอบดูคอนเทนต์เรียลๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยกว่า 26 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 3 ชมคอนเทนต์ผ่าน OTT (Over-The-Top) หรือบริการรับชมวิดีโอตามความต้องการ (Video on Demand) ที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ได้ทุกที่ทุกเวลาหากมีอินเทอร์เน็ต

โดยใช้เวลาดูคอนเทนต์ออนไลน์เหล่านี้ ประมาณ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน และ 92% ของคนไทยใช้ OTT มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม

ขณะที่คอนเทนต์ที่เน้นความเรียล ไม่เป็นทางการ โปรดักชันไม่ต้องอลังการ กลายเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่คนไทยชอบ ซึ่งส่งผลต่อผู้มีชื่อเสียงกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่แม้จะเป็นรายใหญ่ แต่ก็เริ่มปรับแนวทางการผลิตคอนเทนต์ที่เน้นความใกล้ชิดกับคนดูเพิ่มมากขึ้นแทน

หรือคนนทั่วไป ก็สามารถใช้กล้องโทรศัพท์มือถือ สร้างคอนเทนต์อัปโหลดขึ้นบนแพลตฟอร์มและให้คนอื่นเข้ามาชมได้

ดังนั้น แพลตฟอร์มจึงเปรียบเสมือนเวทีให้เหล่าครีเอเตอร์หน้าใหม่ๆ ปล่อยของแจ้งเกิดได้เช่นกัน

2.สิ่งสำคัญของการมี Streaming Platform คือต้องมีระบบนิเวศของอุตสาหกรรม Streaming Platform ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ผู้ผลิตอุปกรณ์รับส่งที่เป็น Hardware 2) สื่อกลางสัญญาณ (Transmission) 3) สื่อกลางผู้กระจายหรือรวบรวมเนื้อหา

4) ผู้ผลิตสื่อและเนื้อหา รวมถึงสตูดิโอถ่ายทำ และเจ้าของลิขสิทธิ์รายการต่างๆ และ 5) หน่วยงานสนับสนุน อาทิ หน่วยงานรัฐ สมาคม สมาพันธ์เอกชนที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา และนักลงทุน เป็นต้น

3.ผลสำรวจโดยบริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด พบว่า 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะมีโอกาสการเติบโตอย่างก้าวกระโดดบน Streaming Platform มากที่สุด ดังนี้ คือ บันเทิง ข่าว และกีฬา

-กลุ่มบันเทิง เป็นกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ เพลง รายการวาไรตี้ จากผลสำรวจพบว่า ในปี 2563 รายได้ภาพยนตร์และวีดิทัศน์เฉพาะสตรีมมิ่ง มากกว่า 38,003 ล้านบาท คิดเป็น 95% ของอุตสาหกรรม

และรายได้เพลงเฉพาะสตรีมมิ่งทั้งไทย เกาหลี มีมากกว่า 1,700 ล้านบาท คิดเป็น 50% ของอุตสาหกรรม โดยปัจจัยหลักที่ดึงดูดผู้ชมกลุ่มนี้ มักเป็นลักษณะภายนอก เช่น ปกคลิป ผู้ดำเนินรายการ หรือแม้แต่คลิปที่เป็นกระแสนิยม เนื้อหาจะต้องมีความเฉพาะตัว แปลกใหม่ อุปกรณ์โปรดักชันมีคุณภาพ

-กลุ่มนันทนาการ เป็นกลุ่มกีฬา การท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์ เกม e-Sport ยกตัวอย่าง กีฬาฟุตบอลไทยลีกได้สนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ผ่านช่องทางสตรีมมิ่ง ในช่วงระหว่างปี 2560-2563 ไปมากกว่า 4,200 ล้านบาท

หรือในปี 2563 กีฬาเกม e-Sport มีรายได้อยู่ที่ราว 2.4 หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยที่ดึงดูดผู้ชมคือ เนื้อหาหรือผู้ดำเนินรายการ ที่ให้ความสนุกสนานบันเทิงแก่ผู้ชม ทักษะการพูดน่าสนใจ

-กลุ่มสาระ เป็นกลุ่มข่าว การศึกษา ความรู้ทั่วไป ฝึกอบรมและการพัฒนาตัวเอง ที่คนดูมักเรียนรู้ข้อมูลหรือทักษะใหม่ๆ เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่สถาบันต่างๆ เช่นก่อน

4.การสตรีมมิ่งเติบโตขึ้นอย่างแน่นอนในปี 2566 จากการวิเคราะห์ตลาด OTT Streaming Platform ในประเทศไทย มีประมาณการสัดส่วนผู้ชม OTT เติบโตขึ้นในปี 2566 คาดว่า ยอดคนไทยดู Streaming 2.10 ล้านราย คิดเป็น 3.04% ของประชากรไทยทั้งหมด

และทั่วโลกดู Streaming 968.32 ล้านราย คิดเป็น 12.10% ของประชากรทั้งโลก

สัดส่วนของผู้ใช้บริการแบบวิดีโอสตรีมมิ่งสูงกว่าบริการรับชมสด เนื่องจากบริการแบบวิดีโอสตรีมมิ่งเข้ากับพฤติกรรมเลือกรับชมเฉพาะคอนเทนต์และรายการที่ตนเองสนใจ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยช่วงเวลาออกอากาศที่แน่นอนและสะดวกสบายเข้ากับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน

แต่ปัญหาคือ ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนจากลูกค้าแบบทดลองดูฟรีสู่การสมัครใช้บริการสตรีมมิ่ง ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการนำเสนอสิทธิประโยชน์ subscriber

เช่น ได้ดูคอนเทนต์เนื้อหาเต็มก่อนใคร นำระยะเวลาการรับชมมาแลกรางวัล หรือการพัฒนาสร้างคอมมูนิตี้ระหว่าง Content Creator กับผู้ชม เพื่อสร้างฐานแฟนคลับ เป็นต้น

5.โมเดลธุรกิจของ Streaming Platform ไทย ทำได้ ชูเสน่ห์ท้องถิ่น เนื่องจากไทยยังไม่สามารถสู้กับแพลตฟอร์มรายใหญ่ เช่น YouTube หรือ Netflix ได้

และอีกหนึ่งปัญหาคือ เรื่องภาษา และ ความนิยมชมคอนเทนต์ออนไลน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ดังนั้นการผลิตคอนเทนต์ด้วยกลยุทธ์ Long Tail ในรูปแบบแพลตฟอร์มท้องถิ่น และคอนเทนต์ท้องถิ่น (Local Content) จึงเหมาะกับการขับเคลื่อนสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มของผู้ประกอบการไทย ภายใต้แนวคิดที่เชื่อว่า “รายได้จากสินค้าหมวดรอง เมื่อรวมกันแล้วอาจจะสูงกว่ารายได้สินค้าขายดีที่เป็นหมวดหลักก็ได้”

โดยรวบรวมและนำเสนอเนื้อหาที่มีความแตกต่างเฉพาะ มีเสน่ห์เฉพาะตัวและเป็นกระแสความต้องการ ในด้านมุมมองความสนใจ วัฒนธรรม และภาษา เช่น สร้างภาพยนตร์เป็นภาษาเหนือ ภาษาอีสาน ผลิตคอนเทนต์วิถีชีวิตคนอีสาน และการทำคอนเทนต์แปลงภาษากลางให้เป็นภาษาเหนือหรือภาษาอีสานผสมกัน เป็นต้น เพื่อเตรียมพร้อมป้อนสู่ตลาดหลัก (Mainstream Platform)

นอกจากนี้การทำเนื้อหาคอนเทนต์ต่างๆ ที่ส่งเสริม SMEs ร่วมด้วย คาดว่าจะช่วยสร้างรายได้ 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี และที่สำคัญที่สุดคือ ลดเงินหลั่งไหลออกต่างประเทศได้ปีละ 2 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ อีกหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของโมเดลธุรกิจ Streaming Platform ไทยคือ การสร้างความยั่งยืนแก่สังคม โดยตั้งใจเป็นหนึ่งในช่องทางการสร้างรายได้ให้แก่คุณครู ในการใช้ Streaming Platform เป็นพื้นที่นำเสนอคอนเทนต์เชิงการศึกษา และสาระความรู้นอกห้องเรียน

ที่เด็กทั่วประเทศจะได้สนุกสนานกับการเรียนรู้เนื้อหาผ่านมุมมองของครูที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กมีความรู้เชิงลึกขึ้น และครูก็ได้รับรายได้เสริมจากค่าโฆษณาที่ส่งกลับมา นับเป็นการเปิดโอกาสการเรียนรู้และช่วยประเทศไทยในภาพรวมไปด้วยกัน

โดยสรุปทั้งหมด จากผลการศึกษาเบื้องต้น การสร้าง Streaming Platform ไทย จะสามารถตอบโจทย์เป้าหมายเชิงเศรษฐกิจได้ ดังนี้

1.ส่งเสริมการสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการระดับ SMEs

2.กระจายรายได้สู่เนื้อหาท้องถิ่น และผู้ผลิตเนื้อหารายย่อย

3.ลดการไหลออกของรายได้สู่ต่างประเทศ

4.ลดต้นทุนในการผลิตคอนเทนต์ให้แก่ Mainstream Platform

และเป้าหมายเชิงสังคม ดังนี้

1.ถ่ายทอดวัฒนธรรมและมุมมองที่แตกต่างของแต่ละท้องถิ่นไทยสู่สายตาชาวโลก

2.บริหารความเสี่ยง ลดการพึ่งพิงแพลตฟอร์มทั่วโลก

3.บริหารด้าน Cyber Security ได้ดีขึ้นจากการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า