Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้ก่อนหน้านี้ ‘สายการบินไทยแอร์เอเชีย’ จะปรากฎผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ของปี 2566 ขาดทุนสุทธิ 1,013 ล้านบาท แต่สายการบินก็ยืนยันว่า เป็นผลมาจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ขณะที่ EBITDA หรือกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย สูงถึง 1,817 ล้านบาท และมี EBITDA เป็นบวกถึง 3 ไตรมาสติดต่อกัน

โดย ‘สันติสุข คล่องใช้ยา’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย อธิบายว่า ในช่วงที่ผ่านมา สายการบินมีการเติบโตของตลาดภายในประเทศที่ ‘แข็งแกร่งมาก’ ในไตรมาสที่ 2 มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดถึง 37% จากตลาดการบินภายในประเทศทั้งหมด เรียกได้ว่าเป็น All time high ครั้งใหม่ของส่วนแบ่งตลาดในประเทศของสายการบินไทยแอร์เอเชีย

ในไตรมาส 2 นี้ สายการบินไทยแอร์เอเชียใช้เครื่องบินปฏิบัติการบินทั้งหมด 45 ลำ จากทั้งหมด 54 ลำที่มีอยู่ในฝูงบินของไทยแอร์เอเชีย สายการบินมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารสูงถึง 89% แบ่งเป็นอัตราการบรรทุกของเส้นทางในประเทศ 94% และอัตราการบรรทุกของเส้นทางระหว่างประเทศ 83% 

ครึ่งปีแรกขนส่งผู้โดยสารรวม 9.2 ล้านคนจากเป้าหมาย 20 ล้านคนในปี 2566 โดยขนส่งผู้โดยสารเส้นทางไทย-จีนกว่า 3.2 แสนคน คิดเป็น 20% ของผู้โดยสารในเส้นทางไทย-จีนทั้งหมด มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน 12.5 ชั่วโมงต่อวัน

ในเส้นทางในประเทศ ไทยแอร์เอเชียให้บริการ 630 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จุดหมายปลายทาง 21 จังหวัด 32 เส้นทางบิน และเส้นทางบินข้ามภาค 8 เส้นทาง รวม 67 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

ในเส้นทางระหว่างประเทศ ไทยแอร์เอเชียให้บริการ 438 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จุดหมายปลายทาง 16 ประเทศ 52 เส้นทางบิน ส่วนตลาดจีน ไทยแอร์เอเชียให้บริการ 108 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ 11 เมือง 18 เส้นทางบิน คาดปลายปีนี้กจะสามารถกลับขึ้นไปสู่ 138 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เทียบเท่าก่อนโควิด

โดย ‘สันติสุข’ ประเมินว่า เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติ 25-30 ล้านคนของท่องเที่ยวไทยยังคงเป็นไปได้ แม้เป้าหมายนักท่องเที่ยวจีน 4-5 ล้านคนในปีนี้จะสะดุดจากหลายปัจจัย ทำให้ครึ่งปียังสะสมนักท่องเที่ยวจีนได้ไม่ถึง 2 ล้านคน 

ปัจจัยหลักๆ ที่มีผล คือ 1) เศรษฐกิจภายในประเทศของจีน ทำให้จีนยังคงเน้นโปรโมทการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ 

ส่วนปัจจัยรองๆ ลงมา คือ 2) ข่าวทางลบของไทยในประเทศจีน อาทิ ข่าวด้านความปลอดภัย และ 3) ระยะเวลาการขอวีซ่า ที่จะต้องใช้เวลารอนานกว่า 15-20 วัน และความไม่สะดวกของอิเล็กทรอนิกส์วีซ่า

แต่เชื่อว่า ถ้าครึ่งหลังของปี 2566 มีโปรโมชันกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยจีนที่ดีจะช่วยทำให้แนวโน้มดีขึ้น โดยปัจจุบัน สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีเส้นทางบิน 18 เส้นทาง 17 จุดหมายปลายทางจากไทยสู่จีน

ขณะที่เส้นทางฮ่องกงและมาเก๊าก็ยังไม่กลับมา 100% เนื่องจากปัญหาโครงสร้างพื้นฐานอย่างสนามบินที่ยังไม่กลับมาเต็มร้อยและเศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากจีนอีกทอด

ส่วนเส้นทางในแถบเอเชียใต้อย่างเส้นทางอินเดียก็ยังมีแนวโน้มดี ปัจจุบันมีเส้นทางบินกว่า 8 เส้นทางแล้ว ในหลากหลายจุดหมายปลายทาง เช่นเดียวกับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เติบโตดี รวมถึงเส้นทางภายในประเทศที่คนไทยก็ยังไม่เหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวที่กำลังจะกลับมาในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้อีกระลอก

อีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจ คือ ‘ราคาตั๋วโดยสาร’ ที่ปัจจุบันสูงกว่าช่วงก่อนโควิดเพียง 20% ลดลงมาจากช่วงก่อนหน้านี้ที่บางเส้นทางสูงกว่า 100% เนื่องจากสายการบินกลับมาบินไม่ทันกับความต้องการในการเดินทาง ดันดีมานด์ให้สูงกว่าซัพพลายและทำให้ราคาตั๋วสูงขึ้น

ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 คาดว่าจะนำเครื่องบินอีก 7 ลำกลับมาใช้ครบฝูงบินรวม 54 ลำ และเชื่อว่า EBITDA จะเติบโตขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก 

นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าจะอัตราการบรรทุกผู้โดยสารในไตรมาสสุดท้ายของปีจะอยู่ที่ 87% แบ่งเป็นอัตราการบรรทุกผู้โดยสารภายในประเทศ 95% และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารระหว่างประเทศ 85% ด้านอัตราการบรรทุกผู้โดยสารในเส้นทางไทยจีน ในไตรมาส 3 จะถึง 80% และจะสูงกว่า 80% ในไตรมาส 4 

สายการบินไทยแอร์เอเชียมีข้อเสนอเเนะถึง ‘รัฐบาลใหม่’ ในการผลักดันนโยบาย ฟื้นธุรกิจการท่องเที่ยวเเละการบิน เพื่อเศรษฐกิจในภาพรวม คือ

1) การสนับสนุนนโยบายและเเคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยต่อเนื่อง เช่น การออกเแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ลดต้นทุนการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อกระจายเศรษฐกิจให้เติบโตทั่วภูมิภาค

2) การพิจารณายกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่า ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) เป็นการชั่วคราว (ระยะเวลา 6 เดือน) ให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน เพื่อกระตุ้นให้มีการเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อคน

3) การขยายสิทธิการบิน การขนส่งอากาศไทย – อินเดีย ให้สามารถเพิ่มความถี่ในการขนส่งทางอากาศในตลาดเอเชียใต้ และ 6 เมืองหลักของอินเดีย ประกอบด้วย นิวเดลี มุมไบ บังกาลอร์ โกลกาตา เชนไน ไฮเดอราบาด ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของการท่องเที่ยวไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า