SHARE

คัดลอกแล้ว

“การพนัน” กิจกรรมที่เปลือกนอกฉาบไว้ด้วยความสนุกและตื่นเต้น แต่กลับกลายเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย สร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อบุคคล ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และกฎหมาย ผู้ติดการพนันบางคนต้องจ่ายเงินหรือสูญเสียทรัพย์สินที่สำคัญในระดับที่ไม่สามารถกู้คืนได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางการเงิน และทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา ขณะที่ผลกระทบทางสุขภาพ ผู้ติดการพนันมักเกิดปัญหาทางสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ความเสี่ยงสูงและความตื่นเต้น ทำให้เกิดการเสพติดและผู้ที่มีปัญหาจากการพนันอาจต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดจากการสูญเสียทรัพย์  ซ้ำร้ายบางรายอาจสร้างผลกระทบลุกลามไปถึง การก่ออาชญากรรมผิดกฎหมาย เพื่อหาเงินมาชดเชยเงินที่สูญเสียไปจากการพนัน

 ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน-สสส.-มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน จึงสานพลังนำเสนอแนวทาง สร้างภูมิรู้สู้พนันในสังคมก้าวหน้า สกัดนักพนันรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงผลเสีย ที่ทำลายร่างกาย-สุขภาพจิต-ครอบครัว-ความรุนแรง-หนี้สิน-อาชญากรรม พร้อมแนะรัฐบาลผลักดันให้มีนโยบายที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

สสส.หนุนศึกษาแก้ปัญหาพนัน

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส.สนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ทำให้ไทยมีข้อมูลทางวิชาการหลากหลายและพร้อมใช้งาน เช่น สถานการณ์พฤติกรรม ผลกระทบการพนัน รายงานสถานการณ์ระดับจังหวัด และยังจัดให้มีการประชุมวิชาการต่อเนื่องทุกปี

สถานการณ์พนันถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญของผู้กำหนดนโยบายและทุกภาคส่วน เพราะธรรมชาติของการพนัน ถ้าคนเล่นพนันครั้งแรกได้ชนะพนัน ทำให้เกิดความอยากเล่นพนันบ่อยขึ้น และมีโอกาสก้าวเข้าสู่ภาวะเสี่ยงที่จะเป็นนักพนันที่มีปัญหา หรือเป็น “โรคติดพนัน” ในที่สุดซึ่งเป็น “โรคทางสมอง” อย่างหนึ่ง ยิ่งเล่นยิ่งติด ยิ่งกระตุ้นสมองให้มีพฤติกรรมการอยากเข้าไปเล่นมากยิ่งขึ้น  ยิ่งอายุน้อยยิ่งเสี่ยง

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

“ปัญหาจากพนันต่อตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม เมื่อคนเสพติดการพนัน ทักษะความสามารถการจัดการปัญหาทั้งด้านความคิด จิตใจ และอารมณ์จะลดลง  ก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิต  ตามมาด้วยผลกระทบ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความรุนแรง หนี้สิน การทุจริต อาชญากรรม ฯลฯ”

ทั้งนี้จากงานวิจัยพบว่าคนติดการพนัน 1 คน จะทำให้เกิดปัญหากระทบต่อคนในครอบครัว และคนใกล้ชิดถึง 10-17 คน การประชุมครั้งนี้จะช่วยชี้ให้เห็นแนวทางการรับมือกับปัญหาที่เกิดจากพนัน ในฐานะปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและสังคม นำไปสู่การออกแบบนโยบาย มาตรการ หรือกลไกที่เหมาะสมต่อการจัดการกับการพนันในสังคมไทย  โดยเฉพาะการปกป้องกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือเด็กและเยาวชน รวมถึงการผลักดันให้รัฐบาลมีนโยบายที่เข้มแข็งอีกด้วย

 

พนันถูกกฎหมายเรื่องท้าทายสังคมไทย

รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการประชุมศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2566 เรื่องพนันในสังคมก้าวหน้า และก้าวให้ทันความท้าทาย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบงานวิจัย นำเสนอเครื่องมือสร้างการรู้เท่าทันพนัน และเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมคิด ร่วมเสนอแนะแนวทางจัดทำนโยบาย มาตรการ หรือกลไกที่เหมาะสมในการจัดการกับการพนันในสังคมไทย

รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การพนันเชื่อมโยงกับหลายปัญหา และยังไม่มีกลไกแก้ปัญหา หรือรับผิดชอบดูแล เช่น การดูแลผู้ป่วยด้วยโรคติดพนัน ไม่มีระบบให้คำปรึกษาแบบเฉพาะกับนักพนันที่มีปัญหา จำนวนแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดรักษา องค์ความรู้ด้านการป้องกันยังจำกัดในวงแคบ ดังนั้นการพิจารณาให้มีพนันถูกกฎหมายมากขึ้นจึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง

“คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงการปกป้องเด็ก และเยาวชนจากพนัน และไม่เข้าใจว่าภาวะติดพนันเป็นโรคทางจิตเวชที่รักษาได้ ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ต้องการ การออกแบบ และการสนับสนุนให้เกิดกลไกในการทำงานที่พร้อมปฏิบัติงานตลอดเวลา”

สถิติคนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์

ทั้งนี้จากการศึกษาพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ปี 2566 พบว่า ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมามีคนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์ 32.3% หรือประมาณเกือบ 3 ล้านคน จำนวน 1 ใน 3 ระบุว่าตนเองได้รับผลกระทบจากการเล่นพนันออนไลน์ และกลุ่มคนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์ถึง 23% เข้าข่ายเป็นนักพนันที่เป็นปัญหา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรเข้ารับบริการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

โดยจากสถิติพบว่าคนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์อายุระหว่าง 15-18 ปี มีจำนวน 1.12 แสนคน อายุระหว่าง 19-25 ปี มีจำนวน 5.77 แสนคน โดยสัญญาณบ่งชี้พฤติกรรมการเล่นพนันที่เป็นปัญหา 5 อันดับแรกคือ

  1. ต้องเพิ่มจำนวนเงินเพื่อให้ได้ความรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจหรือได้ลุ้นเหมือนเดิม
  2. หวนกลับไปเล่นพนันแก้มือเพื่อหวังจะได้เงินที่เสียไปคืนมา
  3. เล่นพนันด้วยเงินจำนวนมากกว่าที่มีจ่าย
  4. รู้สึกผิดกับการเล่นพนันหรือผลที่ตามมาจากการเล่นพนัน และ
  5. รู้สึกว่าอาจมีปัญหาจากการเล่นพนัน

“สังคมไทยมีการพนันถูกกฎหมายอยู่แล้ว และปัญหาจากการพนันมีให้เห็นชัดเจน การจะให้มีพนันถูกกฎหมายมากขึ้น เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง และมีความเชื่อมโยงกับอีกหลายปัญหา สังคมไทยควรมีหน่วยงานหรือกลไกรับผิดชอบด้านการป้องกันก่อน ต้องมีหน่วยงานเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคติดพนัน และต้องมีระบบหรือหน่วยงานให้คำปรึกษาแบบเฉพาะกับนักพนันที่มีปัญหา เผยแพร่ให้คนไทยรู้ว่าการติดพนันเป็นโรคทางจิตเวชที่รักษาได้ ที่สำคัญสังคมต้องตระหนักถึงการปกป้องเด็กและเยาวชนจากพนันให้มากขึ้นด้วย” รศ.นวลน้อย กล่าวทิ้งท้าย

ดังนั้นการเข้าใจและการสนับสนุนการรับมือกับปัญหาการพนัน จากการร่วมมือกันของ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน-สสส.-มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน จึงถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันสนับสนุน เพื่อช่วยป้องกันและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีพลังช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจและสังคมดีขึ้นกว่านี้ได้ในระยะยาว    

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า