SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้ว่าปี 2565 จะเพิ่งผ่านพ้นมาเพียงครึ่งทาง แต่เหตุการณ์ความสูญเสียจากการข้ามทางม้าลายนั้นได้พรากชีวิตของคนไทยไปมากมาย ทั้งกรณีของหมอกระต่าย พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล กรณีผู้หญิงถูกรถโดยสารประจำทางชน บริเวณสี่แยกบางลำพู และล่าสุดกับกรณีครูกระต่าย กาญจนี ใจชื้น ที่เสียชีวิตขณะช่วยเหลือเด็กข้ามถนน

อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนดูสถิติจากบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด พบว่า 3 กรณีข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความสูญเสียทั้งหมด เพราะในแต่ละปีมีคนเดินเท้าเสียชีวิตมากถึง 800 – 1,000 รายต่อปี และ 1 ใน 4 หรือ 300 – 400 ราย เสียชีวิตระหว่างข้ามทางม้าลาย นอกจากนี้ในเดือน เม.ย. 65 มีผู้เสียชีวิตจากการเดินถนน 64 ราย ซึ่ง 4 ราย เป็นผู้ข้ามทางม้าลาย โดยถนนที่เกิดเหตุกว่า 84% ไม่มีทางข้ามที่ปลอดภัย และในช่วง 8-14 พ.ค. 65 พบผู้เดินเท้าเสียชีวิตไปแล้ว 5 ราย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ได้เร่งให้สังคมต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้เกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยของคนข้ามถนน ดังนั้นตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา และภาคีเครือข่ายจากทั้งภาครัฐและเอกชน จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” เป็นประจำทุกเดือน เริ่มครั้งแรกเมื่อเดือนก.พ. 65 ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของหมอกระต่าย เพื่อเร่งสร้างจิตสำนึกให้คนใช้รถใช้ถนนตระหนักถึงการเคารพกฎจราจร การใช้ความเร็วที่เหมาะสมในเขตเมือง ชะลอก่อนถึงทางแยกทางข้าม สวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ และลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากความประมาท

โดยเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 65 ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา ได้ร่วมมือกับบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด สำนักงานเขตลาดพร้าว สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย สภากาชาดไทย และภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เดินหน้าจัดกิจกรรม “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสท์ วิลล์ พร้อมจัดเสวนาหัวข้อ อันตรายคนข้ามทางม้าลาย กับความเร็วในเขตเมือง เพื่อสานต่อเจตนารมณ์สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการข้ามถนน ทำให้สังคมไทยมีทางม้าลายปลอดภัยอย่างแท้จริง

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. เปิดเผยถึงที่มาของการจัดกิจกรรมว่า จากสถิติการสูญเสียและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับข้อมูลสำคัญที่ชี้ว่า อุบัติเหตุการเสียชีวิตบนทางม้าลาย ส่วนใหญ่เกิดจากการขับขี่รถโดยใช้ความเร็วสูง เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่าความเร็วรถที่ 30 กม./ชม. ช่วยลดการเสียชีวิตได้ถึง 90% และหากคนเดินเท้าถูกรถชนที่ความเร็วเกินกว่า 60 กม./ชม. จะทำให้มีโอกาสเสียชีวิตถึง 85%

สสส. และภาคีเครือข่ายจึงมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมของการ “หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย” และ “ลดความเร็วในเขตชุมชน” ผ่านกิจกรรมรณรงค์ “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” มาอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมในครั้งที่ 4 นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งครั้งสำคัญ เพราะได้ขยายความร่วมมือไปยังผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในอาชีพต่าง ๆ  เช่น ไรเดอร์ส่งอาหาร วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น รวมถึงมีเวทีเสวนาในหัวข้ออันตรายคนข้ามทางม้าลาย กับความเร็วในเขตเมือง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกำหนดความเร็วในการขับขี่ได้ โดยไม่ต้องรอแก้ไขกฎหมาย รวมถึงมีการรณรงค์แจกสื่อ ขอบคุณและขอความร่วมมือทุกท่านให้ หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย มีการปล่อยขบวนรถจักรยานยนต์ การขับขี่ปลอดภัยด้วย

“สสส. อยากเชิญชวนให้ผู้ขับขี่ทุกคนตระหนักถึงข้อกฎหมาย ชะลอรถ และหยุดรถเสมอเมื่อเห็นคนข้ามทางม้าลาย ส่วนคนข้ามถนนเอง ควรข้ามถนนที่ทางม้าลายหรือสะพานลอย เพื่อความปลอดภัยของตนเองด้วย”

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาความไม่ปลอดภัยของการใช้ทางม้าลายข้ามถนน เป็นปัญหาสะสมของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน อย่างที่ทราบกันแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยต่อเดือนหลายสิบคน แม้กระทั่งช่วงเวลาที่จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อเนื่องมาแล้ว 3 ครั้ง ก็ยังมีเหตุสะเทือนใจเกิดขึ้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนในสังคมต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไขปัญหาและสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้เกิดขึ้น เพราะหากยังคงมองข้ามปัญหานี้ วันหนึ่งการสูญเสียอาจจะเกิดขึ้นกับคนตัวใกล้ของท่าน และปัญหาก็จะถูกปล่อยให้เกิดซ้ำ จนกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย

คณะบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภาจึงมีความตระหนักว่าควรจะเชิญชวนเชิญภาคีเครือข่ายอย่าง สสส. หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ และภาคเอกชน มาร่วมกันเป็นพลังในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ผ่านกิจกรรม “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” ในระหว่างที่กำลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง เข้ามาแก้ไขปัญหา เนื่องจากการดำเนินงานของภาครัฐ มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและงบประมาณ

“ถ้าสังคมตระหนักถึงปัญหาความสำคัญของการเสียชีวิตขณะข้ามทางม้าลาย ปัญหานี้ก็จะแก้ไขได้โดยไม่ต้องรอกระบวนการทางภาครัฐ ด้วยวิธีการง่าย ๆ อย่างการเคารพกติกาของการข้ามทางม้าลาย และหยุดรถเมื่อมีคนจะข้ามทางม้าลาย ปัญหาจะลดลงได้ ถ้าเราเคารพสิทธิ์ของทุกคน”

ทางด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาว่า อุบัติเหตุหลายครั้งที่เกิดขึ้น เป็นบทเรียนราคาแพงที่ทำให้เราเรียนรู้ว่าหากอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่เพื่อลดอุบัติเหตุขณะข้ามทางม้าลาย ควรต้องปรับเปลี่ยนหลายด้านไปพร้อมกับ เพราะบางครั้งป้ายจราจรหรือสัญญาณไฟเพียงอย่างเดียว อาจไม่ใช่สิ่งการันตีถึงความปลอดภัย โดยเรื่องที่ควรปรับเปลี่ยนมี 3 ด้าน ดังนี้

1.ด้านกายภาพ เพราะกายภาพจะเป็นตัวกำกับพฤติกรรมคน เช่น ทำถนนให้เหมาะกับการข้าม ทางม้าลายตีเส้นชัดเจน มีป้ายบอก มีสัญญาณไฟ มีลูกระนาดคั่นก่อนถึงทางม้าลาย หรือสร้างสะพานลอยแทนทางม้าลายในบริเวณถนนที่มีมากกว่า 6 เลน 2. ด้านบรรทัดฐานสังคม ซึ่งเป็นภาพใหญ่ของสังคม คือสื่อสารให้คนต้องใช้ความเร็วในการขับขี่ลดลง ขับเว้นระยะคันหน้า ชะลอและหยุดเมื่อมีคนข้าม รวมถึงปรับมาตรการบางอย่างของโรงเรียนเด็กพิเศษ เช่น ไม่เปิดประตูทิ้งไว้ โดยเฉพาะในพื้นที่ถนนเลี่ยงเมืองที่รถใช้ความเร็วสูง และ 3. ด้านการบังคับใช้กฎหมายจราจร หากใครฝ่าฝืนต้องถูกตรวจจับอย่างจริงจัง

“ต่างประเทศมีเคสตัวอย่างให้เห็นแล้วว่า การพยายามผลักดันกฎหมายให้ลดความเร็วรถในเขตเมืองลง 10 กม./ชม. จาก 70 กม./ชม. มาเป็น 60 กม./ชม. ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ปีละ 17% ดังนั้นผมเชื่อว่ากิจกรรมที่เรากำลังทำกันอย่างต่อเนื่อง จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนเห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะปรับเปลี่ยนทั้ง 3 ด้านนั้นไปพร้อมกันด้วย”

ท้ายนี้ นายสุจริต ใจชื้น น้องชายครูกระต่าย ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกรถจักรยานยนต์ไรเดอร์ส่งอาหารพุ่งชน บริเวณหน้าศูนย์การศึกษา ถนนสายบายพาสหลังที่ว่าการ อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อเดือนเม.ย. 65 ได้ฝากถึงผู้ขับขี่รถทุกคนว่า การสูญเสียครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ทันตั้งตัว แต่สร้างผลกระทบครั้งใหญ่ให้กับครอบครัว เพราะครูกระต่ายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว และเป็นเสาหลักของครอบครัว ลูกชายต้องขาดแม่ คุณพ่อวัยชราต้องขาดคนเลี้ยงดู อีกทั้งรถคู่กรณีไม่มีพ.ร.บ. ทำให้กลไกการที่ควรได้ไปไม่ถึง จึงอยากให้ทุกคนตั้งสติเวลาขับรถ เคารพกฎจราจร และระมัดระวังมากเป็นพิเศษในเขตโรงเรียน เพราะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อใด

ทั้งนี้ กิจกรรมเดินรณรงค์แจกสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึกผู้ขับชี่รถให้หยุดรถตรงทางม้าลาย ขับขี่ปลอดภัย ร่วมลดอุบัติเหตุ ในตอนท้าย ได้มีการปล่อยขบวนรณรงค์ รถจักรยานยนต์ จำนวน 20 คัน และการรณรงค์ข้ามทางม้าลาย บริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรม ซอย 15 ด้านหน้าห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสท์ วิลล์ เพื่อสร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางแก่ประชาชนโดยรอบ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า