SHARE

คัดลอกแล้ว

กรุงเทพมหานครฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ศูนย์กลางเศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศ  ที่แม้ว่าจะถือเป็นเมืองกรุงที่มีการพัฒนามากที่สุด ทันสมัยที่สุด แต่อีกด้านหนึ่งกลับยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนเมืองซุกซ่อนอยู่มากมายในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง ด้วยเหตุนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จึงเร่งเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจับมือกับ กทม.ผสานกำลังภาคีเครือข่ายทำงานผ่านกลไกชุมชน ภายใต้นโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ตั้งเป้าภายใน 5 ปี ภายในปี 2570 ครอบคลุม 50 เขต มุ่งสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน เป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษา และการทำงานให้กับประชาชนทั้งหมดในเมืองกรุงเทพฯ

บูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพ

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส.มีแผนบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะคนเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) มุ่งบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยมีทิศทางและตั้งเป้าหมาย 10 ปี ผสานความร่วมมือกับทางกรุงเทพฯ และเครือข่ายภาคีทำงานผ่านกลไกชุมชน ) พัฒนาต้นทุนองค์ความรู้ คน ทรัพยากร กับนโยบาย 9 ดี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนและชุมชน ตั้งเป้าภายใน 5 ปี ภายในปี 2570 ครอบคลุม 50 เขต มุ่งสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

ทั้งนี้ เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือจัดการงานสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้พื้นที่เป็นฐานการพัฒนา ขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้คนกรุงเทพฯ มีสุขภาพดีทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม

1 ปีกับความสำเร็จและการต่อยอด

ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา แผนดำเนินงานมีความก้าวหน้า ได้ขับเคลื่อนผ่านกลไกการทำงานไปแล้ว 7 กลุ่มงาน ได้แก่

  1.  การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กแบบไร้รอยต่อ (แพลตฟอร์ม “เติมเต็ม”) ทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว กลุ่มเปราะบาง นำร่องในเขตลาดกระบัง และอยู่ระหว่างการหารือเพื่อการขยายผล
  2. การพัฒนากลไกหน่วยจัดการเพื่อหนุนเสริมการทำงานชุมชนอย่างมีส่วนร่วมทุกระดับ 10 เขต สนับสนุนโครงการกว่า 200 ชุมชน
  3. การเข้าถึงทรัพยากรเพื่อยกระดับบริการปฐมภูมิ สนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม นำร่อง 22 เขต ให้ประชาชนเข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเพื่อจัดการสุขภาพตนเอง
  4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเปราะบาง พัฒนาศักยภาพคนพิการเพื่อเพิ่มโอกาสได้รับการจ้างงานหน่วยงานในกรุงเทพฯ และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านให้เข้าถึงโอกาสในการมีที่อยู่อาศัยและได้รับความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ
  5. การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะสร้างสรรค์เพื่อทุกวัย พัฒนาพื้นที่สุขภาวะสร้างสรรค์นำร่องทั้งด้านการปรับพื้นที่ทางกายภาพและเชื่อมโยงกิจกรรมสุขภาวะเพื่อคนทุกวัย
  6. องค์กรสุขภาวะและการบริหารจัดการที่ดี จัดตั้งคณะกรรมการการพัฒนาสุขภาวะของบุลากรในสังกัด กทม. และนำร่องสำรวจสถานการณ์สุขภาวะใน 2 พื้นที่
  7. การสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาสุขภาวะชุมชนในพื้นที่ กทม. ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาชุมชน หนุนเสริมการใช้ข้อมูลชุมชนเพื่อการพัฒนา ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพแกนนำและออกแบบระบบการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นำร่อง 11 พื้นที่ ใน 4 เขต

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

จับมือภาคีทำงานบูรณาการ

ดร.ประกาศิต ย้ำถึงการร่วมงานกับ กทม. และภาคีเครือข่ายว่า จะเน้นการทำงานเชิงระบบโดยใช้ทุนเดิมออกแบบการทำงาน เพื่อสนับสนุนการบูรณาการ ให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกัน สร้างนวัตกรรม/การบริการแบบใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ได้จริง เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ กลไกการทำงาน และคนทำงานสร้างเสริมสุขภาพในทุกระดับ

“แผน 5 ปี มุ่งเน้นบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของ กทม. อย่างเป็นระบบ โดยใช้ทิศทางและเป้าหมาย 10 ปี สสส. กับนโยบาย 9 ดี กรุงเทพฯ ‘เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ เป็นกรอบดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนและชุมชนในแต่ละพื้นที่ พัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกัน 5 ระบบ

  1. ระบบการจัดการข้อมูลกลาง
  2. ระบบสนับสนุนพื้นที่การทำงานร่วมกัน (Sandbox)
  3. ระบบการสื่อสารสาธารณะ
  4. ระบบการติดตามประเมินผลเพื่อการพัฒนา
  5. ระบบการจัดการเรียนรู้ภาคีเครือข่าย”

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

กทม. ชูยุทธศาสตร์ครอบคลุม50 เขตภายในปี 2567

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ยุทธศาสตร์การทำงาน 2567 มุ่งขยายผลงานนำร่องให้ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต สร้างกลไกเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระดับพื้นที่ ขับเคลื่อนงานเชิงประเด็น (ผู้สูงอายุ เกษตรในเมือง การสร้างฐานข้อมูลร่วมของทุกหน่วยงานเป็นฐานข้อมูลเดียว “one map”) เพื่อปรับกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่สำคัญ คือ การระเบียบ/ข้อบัญญัติ/แนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน

ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา หลายๆ โครงการก่อให้เกิดผลสำเร็จในหลายๆ ด้าน อาทิ จ้างงานคนพิการ 489 ตำแหน่ง รับคนพิการเข้าบรรจุราชการ 9 อัตรา มีพื้นที่สาธารณะ 21 แห่ง สวน 15 นาที 28 แห่ง พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ หมอถึงชุมชน 104 แห่ง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การทำงานจากความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภายใต้นโยบาย 9 ด้าน 9 ดี

“ซึ่งแม้ผู้บริหารจะเปลี่ยนไป แต่พลังภาคีเครือข่ายยังคงทำงานได้เข้มแข็งและต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่นำความเชี่ยวชาญมาทำงานร่วมกัน และขอสนับสนุนการทำงานร่วมกันภายใต้แผนบูรณาการ 5 ปีนี้ เพื่อสุขภาวะของคนกรุงเทพฯ ทุกคน สร้างเมืองให้น่าอยู่ต่อไป”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า