Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันนี้ (15 ส.ค. 2565) สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 ปี 2565 และแนวโน้มปี 2565

สำหรับไตรมาส 2 ปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.5% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน (YoY) ดีขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ขยายตัว 2.3% YoY นอกจากนี้ ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (QoQ) 0.7% ส่งผลให้ในครึ่งแรกของปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวแล้ว 2.4%

อย่างไรก็ตาม ตัวเลข 2.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 จะเติบโตได้ถึง 3.1% ขณะที่สภาพัฒน์มีการปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2565 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียง 2.7-3.2% จากเดิมคาดว่าจะเติบโต 2.5-3.5%

‘ดนุชา พิชยนันท์’ เลขาธิการสภาพัฒน์ ระบุว่า เหตุผลที่ปรับลงมาจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก ทั้งเรื่องการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆ ทำให้สภาพัฒน์คาดว่าการเติบโตสูงสุดของเศรษฐกิจไทยจะทำได้เพียง 3.2% แต่ค่ากลางยังอยู่ที่ระดับ 3.0% เหมือนเดิม

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ มองว่า จากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (รัสเซีย-ยูเครน / สหรัฐ-จีน) ที่ยังต้องมอร์นิเตอร์ และมาตรการต่างๆ ของแต่ละประเทศ ต้องจับตาดูว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยขนาดไหน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พูดตามตรงว่า มาตรการแทรกแซงจากประเทศอื่นๆ ที่จะออกมา เป็นเรื่องที่คาดการณ์ค่อนข้างยาก จึงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์ต่อเนื่อง

สำหรับการดำเนินนโยบายของรัฐที่จะออกมาในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ สภาพัฒน์มองว่าต้องดูแลเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง

แม้ที่ผ่านมาภาครัฐก็ได้ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางไปแล้วหลายเรื่อง ทั้งการช่วยลดภาวะค่าใช้จ่าย เช่น ค่าไฟฟ้า หรือการใช้จ่ายผ่านโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น แต่มองไปข้างหน้า กลุ่มนี้ยังมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

โดยมองว่ามาตรการใหม่ที่ควรออกมาช่วยเหลือ คือ มาตรการทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือดูแลกลุ่ม SMEs และภาคธุรกิจถูกกระทบจากการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงภาคครัวเรือน แต่ต้องเป็นมาตรการที่ไม่ก่อให้เกิดภาระการคลังในระยะถัดไป

เมื่อดอกเบี้ยปรับขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นไปด้วย เบื้องต้นกระทรวงการคลังได้ขอความร่วมมือจากธนาคารของรัฐให้คงอัตราดอกเบี้ยก่อนเพื่อลดผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น

ตอนนี้อยู่ระหว่างขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ให้คงอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะหากไม่ดำเนินการอะไรเลยจะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการและประชาชนเพิ่มขึ้น และท้ายสุดจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง

สำหรับเงินเฟ้อ คาดว่าจะยังอยู่ในคาดการณ์ 6.3-6.8% ไม่ได้มีแนวโน้มปรับขึ้นแรงอย่างบางประเทศที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 8-9% และยังเชื่อว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เงินเฟ้อจะชะลอตัวลง

ที่ผ่านมา เงินเฟ้อของไทยที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ขณะที่แนวโน้มปัจจุบัน ราคาน้ำมันเริ่มผันผวนน้อยลง รวมถึงมีการปรับตัวลดลง บางช่วงลดลงต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งคาดว่าจะช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อบ้าง

แต่ที่ยังคงเป็นปัญหา คือ ราคาก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบัน LNG ปรับขึ้นเกือบ 50 เหรียญ และยังทรงตัวสูง 45-46 เหรียญต่อล้าน BTU เพราะฉะนั้น ส่วนนี้จะส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า แต่ปัจจัยทั้งหมด โดยรวมคาดว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในช่วงถัดไป

ทั้งนี้ จากวงเงินช่วยเหลือเศรษฐกิจ 5 แสนล้านบาท ปัจจุบันเหลือรวมกันราว 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งต้องนำไปใช้จ่ายกับการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับโควิด-19 และค่ายาต่างๆ ในอนาคต ดังนั้น คงนำไปใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ไม่มาก

อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ออกไปแล้ว เช่น คนละครึ่ง หรือการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก คาดว่าจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า