SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2565 เป็นปีที่ 2 ที่ประเทศไทยมีประชากร ‘เกิด’ น้อยกว่า ‘ตาย’ 

และแม้ว่าเราจะพ้นจากวิกฤตโควิด-19 แต่ดูจากแนวโน้มอัตราการตายในปีนี้

คาดว่าปี 2566 จะเป็นปีที่ 3 ที่ประเทศไทยมีประชากร ‘เกิด’ น้อยกว่า ‘ตาย’ อีกเช่นกัน

ท่ามกลางประชากรวัยแรงงานของประเทศไทยที่กำลังลดลงเรื่อยๆ 

KKP Research เคยคาดไว้ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า (ปี 2050) จะลดลงอีก 11 ล้านคน อันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไม่อาจเลี่ยง

รายงานล่าสุดจาก The Economist เชื่อว่า ประเทศไทยกำลัง ‘แก่ก่อนรวย’

และไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่อีกหลายๆ ประเทศในเอเชียก็กำลังเจอกับปัญหาแบบเดียวกัน

[ ตอน ‘ญี่ปุ่น’ เข้าสู่สังคมสูงอายุ เขารวยกว่าไทย 5 เท่า ]

อย่างแรกต้องเริ่มจากย้อนมาดูสัดส่วนประชากรสูงวัยในไทยก่อน

ปัจจุบันคนไทยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงกว่า 14% แล้ว

โดยตัวเลข ‘14%’ หมายถึง ประเทศไทยผ่านเกณฑ์การเข้าสู่ ‘สังคมสูงอายุ’ แล้ว

เหมือนกันกับที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และชาติตะวันตกหลายๆ ชาติ

แต่ปัญหาคือ ‘รายได้’ ของประชากรไทย

เพราะประเทศไทยมี GDP per Capita หรือรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียง 

7,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.5 แสนบาทต่อปีเท่านั้น

แต่ย้อนกลับไปตอนที่ ‘ญี่ปุ่น’ มีสัดส่วนผู้สูงอายุเท่ากับไทยตอนนี้

ตอนนั้น ‘ญี่ปุ่น’ รวยกว่าไทยในตอนนี้ประมาณ 5 เท่า

ดังนั้น ไทยจึงกำลังจะเจอกับสถานการณ์ ‘แก่ก่อนรวย’

[ คนทำงานน้อย ผู้สูงวัยเยอะ รัฐต้องแบ่งงบดูแล ]

‘ประชากรวัยทำงาน’ คือ ของขวัญของประเทศ เพราะยิ่งมีคนทำงานมากเท่าไร ผลิตผลของประเทศก็เพิ่ม นำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และโอกาสยกระดับประเทศจากประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูง

ถ้าจำนวนแรงงานจะน้อยลงและไม่มีมาตรการรับมือ 

ประสิทธิภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะลดลงด้วย

‘แก่ก่อนรวย’ จึงเป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาประเทศไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ ‘รัฐบาล’ จะต้องใช้งบประมาณมากขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในแง่ของสุขภาพและเงินบำนาญ ทำให้การลงทุนด้านทักษะแรงงานและด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพทำได้ยากขึ้น

[ หลายประเทศในเอเชีย บนเส้นทาง ‘แก่ก่อนรวย’ ]

ไม่ใช่แค่ ‘ไทย’ เพราะว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียอย่าง ‘อินโดนีเซีย’ และ ‘ฟิลิปปินส์’ เองมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ ‘สังคมสูงอายุ’ ด้วยระดับรายได้ที่ยังคงต่ำกว่าประเทศร่ำรวย 

เช่นเดียวกันกับ ‘ศรีลังกา’ ที่ตอนนี้มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพียงแค่ 1 ใน 3 ของไทย แต่กำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุภายในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2028)

รายงานจาก The Economist บอกว่า ปี 2503-2539 (ปีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง) ‘เศรษฐกิจไทย’ ขยายตัวราว 7.5% ต่อปี เป็นการเจริญเติบโตที่ดี แต่น้อยกว่า ‘ญี่ปุ่น’ ที่เศรษฐกิจเคยเติบโตถึง 2 หลักในปีที่เศรษฐกิจบูมมาก

ในขณะที่ประชากรสูงอายุในไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 

สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่ม 2 เท่าจาก 7% เป็น 14% ในระยะเวลาแค่ 20 ปี

‘ญี่ปุ่น’ ต้องใช้เวลา 24 ปีถึงมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงเพิ่มจาก 7% เป็น 14%

‘อเมริกา’ ต้องใช้เวลา 72 ปีถึงมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงเพิ่มจาก 7% เป็น 14%

‘ยุโรปตะวันตก’ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเกิน 100 ปีถึงมีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงเพิ่มจาก 7% เป็น 14%

แต่อาการ “คนแก่เร็ว แต่เศรษฐกิจโตช้า” กำลังเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนามากมายในเอเชีย

‘เวียดนาม’ ตอนนี้รวยน้อยกว่าไทยครึ่งหนึ่ง แต่จากการประเมินคาดว่าการเติบโตของสัดส่วนผู้สูงวัยจะเร็วกว่าที่ไทยเคยผ่านมา

‘อินเดีย’ มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในโลก

แต่ก็ไม่เร็วเท่าไทยช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง 

ปี 2553-2563 เศรษฐกิจอินเดียเติบโตเฉลี่ย 6.6% ต่อปี

แต่สัญญาณเตือนคือตอนนี้บางรัฐทางใต้ใน ‘อินเดีย’ มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในสัดส่วน 17% แล้ว

The Economist เสนอทางออกหลักๆ 2 ข้อ คือ

1 – ประเทศที่ยังมี ‘วัยทำงาน’ เป็นจำนวนมากจำเป็นจะต้องเร่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน

อย่าง ‘อินเดีย’ ที่ตอนนี้อยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล ‘นเรนทรา โมดี’ ที่เข้มแข็งและให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจ แปลว่านี่อาจจะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับอินเดียที่จะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ

คาดว่าหลังจากการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า ‘อินเดีย’ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อคว้าโอกาสในการเป็นฐานการผลิตใหม่ในช่วงที่ชาติตะวันตกพากันย้ายฐานการผลิตออกจากจีน 

2 – ประเทศกำลังพัฒนาที่จะ ‘แก่ก่อนรวย’ จะต้องเริ่มวางแผนการดูแลผู้สูงวัยตั้งแต่เนิ่นๆ

โดยแผนการดูแลผู้สูงวัยจะต้องรวมหลายๆ อย่างตั้งแต่

– การปฏิรูประบบบำนาญ

– การเพิ่มอายุเกษียณ

– การดูแลตลาดเงินตลาดทุน

– การเพิ่มทางเลือกสำหรับการออมระยะยาว-ประกันสุขภาพ

– การวางกฎระเบียบสำหรับการดูแลทางสังคม (social care)

– การเปิดรับผู้อพยพย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้ายถิ่นภายในประเทศ

ก่อนหน้านี้ ‘แก่ก่อนรวย’ ก็เป็นปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ไทยหยิบยกขึ้นมาพูดบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเกิดน้อยกว่าตายที่สะท้อนว่านอกจากประชากรสูงวัยจำนวนมากที่เพิ่มขึ้นทุกปีๆ แล้ว ประชากรเกิดใหม่ที่จะมาเป็นกำลังแรงงานของชาติในอนาคตก็ลดน้อยถอยลงด้วย

โดยในปี 2022 KKP Research เองก็เคยบอกว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหลักๆ 3 ด้าน คือ 

– ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะทวีความรุนแรงขึ้น 

– ภาระทางการคลังสำหรับคนสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 10 ปีข้างหน้า

– ความสามารถในการแข่งขันในภาคการผลิตจะแย่ลงมากจากการขาดแคลนแรงงาน

พร้อมเสนอกลยุทธ์ระยะยาวสำหรับประเทศไทยหลายข้อ อาทิ

– เปิดเสรีนโยบายการย้ายถิ่นฐาน (Immigration Policy)  ชดเชยปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีทักษะ

– เปิดเสรีในภาคบริการ ชดเชยการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม เพราะในอนาคตภาคอุตสาหกรรมไทยจะชะลอตัวลงจากการเปลี่ยนแปลงในประเทศและโลก การแข่งขันในภาคบริการจะช่วยส่งเสริมการลงทุนและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการไทย 

– ปฏิรูปทางการเมืองเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชั่นและเพิ่มการแข่งขัน การพัฒนาในเรื่องอื่นๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีการปฏิรูปสถาบันการเมืองที่นำไปสู่การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และการลดการคอร์รัปชัน  จะเป็นทางออกสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

โดยก่อนเข้ามาทำงาน ‘รัฐบาลเพื่อไทย’ ก็เคยพูดถึงการแก้ปัญหา ‘แก่ก่อนรวย’ โดยระบุเป้าหมาย คือ จะทำให้คนไทย ‘รวยก่อนแก่’ เน้นสร้างรายได้ แก้ปัญหาระดับโครงสร้างผ่าน ‘ชุดนโยบายของพรรคเพื่อไทย’ เพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประกอบด้วย

– กระเป๋าเงินดิจิทัล กระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาความเดือนร้อนให้ทุกคน

– 1 ครอบครัว 1 ศักยภาพซอฟท์เพาเวอร์ สร้างแรงงานทักษะสูง 20 ล้านตำแหน่ง ผู้สูงอายุคนเกษียณก็ยังสามารถทำงาน สร้างรายได้ มีศักดิ์ศรี

– เพิ่มรายได้ภาคเกษตร เพิ่มรายได้ 3 เท่าตัว เพราะผู้สูงอายุและกำลังจะเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อยู่ในภาคเกษตร

– อัพเกรด 30 บาทรักษาทุกโรค บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทั่วไทย ผู้ป่วยติดเตียง-ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลจากผู้ช่วยพยาบาลทั้งที่บ้านและศูนย์ชีวาภิบาลของรัฐและเอกชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ลูกหลานสามารถไปประกอบอาชีพได้ตามปกติโดยไม่ต้องลางาน

– Learn to Earn เรียนเพื่อสร้างรายได้ เรียนรู้ง่ายตลอดชีวิต จับคู่สมรรถนะของคนเข้ากับงานที่ใช่ เพื่อช่วยให้มีงานทำเร็วที่สุด ตรงกับสมรรถนะของตนเองมากที่สุด และสร้างรายได้ที่ดีที่สุด

สถานการณ์แก่ก่อนรวยในไทยและในเอเชียจึงยังเป็นสถานการณ์ที่จะต้องจับตามองว่าจะก้าวไปสู่เส้นทางไหนและอย่างไรต่อไป

‘แก่ก่อนรวย’ จะกลายเป็นความท้าทายอย่างแท้จริงของสังคมไทยและอีกหลายประเทศทั่วเอเชีย ชวนทุกคนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนก้าวข้ามความท้าทายทางเศรษฐกิจ กับ Corporate Innovation Summit 2023 (CIS2023) งานอีเวนต์ที่รวมนักธุรกิจ ‘ระดับโลก’ มาไว้ในไทยมากที่สุดที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 พฤศจิกายนนี้ที่ True Digital Park

พิเศษ! กรอกโค้ด ‘TODAY’ ที่ช่องสั่งซื้อหน้าเว็บไซต์ Eventpop รับส่วนลดทันที 1,000 บาทจากราคาปกติ สนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือซื้อบัตร คลิก https://www.eventpop.me/e/16216/cis2023?utf8=%E2%9C%93&discount_code=TODAY 

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า