SHARE

คัดลอกแล้ว

หน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัว “คิด คุย ค้น” เว็บไซต์ออนไลน์ที่ให้ประชาชนเรียนรู้ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงอันตรายบนโลกออนไลน์

หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ หรือ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดแพลตฟอร์มเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ในเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” โดยเปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ เข้าใช้งานได้แล้ว เมื่อ 27 พ.ย. 63 ที่ผ่านมา

รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า เว็บไซต์ดังกล่าว เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการวิจัยจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ สำนักงาน กสทช. โดยมุ่งแก้ปัญหาอันตรายจากการใช้งานและความผูกพันที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์ของคนทุกวัย

รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ DIRU คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากผลการสำรวจความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ของประชาชน ที่สำรวจเมื่อปี 2562 พบว่ามีโอกาสในการเจอความเสี่ยงหลายรูปแบบ เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์สินเงินทอง การหลงเชื่อเนื้อหาโฆษณาเกินจริง หรือความเสี่ยงจากคอมพิวเตอร์มัลแวร์ (Malware) การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น ความเสี่ยงเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการเพิ่มภูมิคุ้มกันอันตรายให้ประชาชน ให้รู้เท่าทันการถูกหลอก รู้วิธีการลดความเสี่ยงและป้องกันอันตรายที่มาถึงตัว ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วยการเรียนรู้ ฝึกทักษะ เพิ่มความรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน

เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” ถูกพัฒนาขึ้นจากหลักการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเพิ่มความสามารถในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์ 3 กระบวนการ ได้แก่

1. กระบวนการ “คิด” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ (Online Interactive Learning Object)

2. กระบวนการ “คุย” แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเนื้อหาที่ช่วยลดความเสี่ยงและอันตรายจาก การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับการสร้างกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกผู้ใช้งาน และ

3. กระบวนการ “ค้น” ซึ่งเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีสืบค้นสำหรับตรวจสอบข้อมูล ข่าว ที่สงสัยว่าถูกต้อง เป็นจริง น่าเชื่อถือหรือไม่ ช่วยฝึกทักษะความรอบรู้และรู้เท่าทันสื่อออนไลน์

รศ.ดร.พนม กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้าเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” จากผู้ใช้จำนวนมากจะเป็นข้อมูลที่ประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งการเพิ่มความสามารถเพื่อลดความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ จำเป็นต้องพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่สร้างการใช้งานใหม่ๆ ที่อาจจะเป็นความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอีก

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” ได้ที่ www.คิดคุยค้น.net หรือ www.thaidigitalcitizen.net

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า