Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพัฒน์ เปิดแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 2.2 – 3.2% จากภาคส่งออก การอุปโภคบริโภค และท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจาก 2.5% ในปี 2565 

‘ดนุชา พิชยนันท์’ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผย แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 2.2 – 3.2% (ค่ากลางการประมาณการที่ 2.7%) แม้ว่าจะลดลงจากเดิมคาดไว้ 2.7-3.7% แต่ก็คาดว่าจะได้เห็นการเติบโตที่ดีกว่าปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก 3 เรื่อง ได้แก่

1.การกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก

2.การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน

3.การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.0% และ 3.5% ตามลำดับ รวมถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะมีการขยายตัวที่ 2.9%

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปโดยเฉลี่ยคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.9 – 1.9% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจะอยู่ที่ 1.4% ของ GDP

ทั้งนี้ สำหรับตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ของปี 2566 ขยายตัวอยู่ที่ 1.7% เร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 3 ที่ 1.4%

รวมทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ที่ 1.9% ชะลอตัวลงจากปี 2565 ที่มีการขยายตัวสูงกว่าอยู่ที่ 2.5%

โดยปัจจัยมีที่ผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยมาจาก 2 ด้าน ได้แก่

ด้านการใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง

1.การอุปโภคบริโภค

ในภาคเอกชนมีขยายตัวสูงขึ้นในทุกหมวด อาทิ หมวดบริการ หมวดการเงินหมวดสินค้าไม่คงทน หมวดสินค้าคงทน หมวดสินค้ากึ่งคงทน เป็นต้น

โดยภาพรวมการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับที่สูงถึง 7.1% เทียบกับ 6.2% ในปี 2565

ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง 4.6% เทียบกับการขยายตัว 0.1% ในปี 2565

2.การลงทุนรวม

การลงทุนรวมขยายตัว 1.2% เทียบกับ 2.3% ในปี 2565 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.2% เทียบกับการขยายตัว 4.7% ในปี 2565

ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง 4.6% เทียบกับการลดลง 3.9% ในปี 2565

3.การส่งออก

ภาพรวมทั้งปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 280,209 ล้านดอลลาร์ ลดลง 1.7% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 263,237 ล้านดอลลาร์ ลดลง 3.1%

ซึ่งส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 17.0 พันล้านดอลลาร์ หรือ 597.8 พันล้านบาท

โดยสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น

ขณะที่สินค้าที่ส่งออกลดลง อาทิ ทุเรียน ผลิตภัณฑ์ยาง กุ้ง, ปู, กั้ง, และ ล็อบสเตอร์

นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้าก็ยังขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า

ด้านการผลิต

สาขาที่มีการขยายตัวได้แก่ สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 18% สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง 1.9% สาขาการขายส่งและการขายปลีก 3.8% และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัว 8.4%

ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 3.2% เทียบกับการขยายตัว 0.7% ในปี 2565 และสาขาก่อสร้างลดลง 0.6% ต่อเนื่องจากการลดลง 2.4% ในปี 2565

สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในปี 2566 อัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.98% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 1.2% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.3% ของ GDP

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า