SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเทศไทยยังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูงต่อเนื่อง ล่าสุด สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ยังคงเพิ่มขึ้น 7.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ที่ 7.61% YoY

[ ‘น้ำมัน-ก๊าซ’ สาเหตุหลักของเงินเฟ้อ ]

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อของไทยยังพุ่งสูง มาจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น 30.5% YoY ถึงราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะปรับตัวลงแล้ว แต่ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนการขนส่งและการผลิต ยังปรับตัวสูงขึ้น

ส่วนราคาค่าบริการต่างๆ เช่น ค่าโดยสารสาธารณะ และค่าการศึกษา ก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ (ไม่รวมอาหารกับเครื่องดื่ม) ปรับตัวสูงขึ้น 6.83% YoY

ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์) ก็ปรับตัวขึ้น 9.35% โดยเฉพาะผักสด (พริกสด ต้นหอม ผักคะน้า) เพราะพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในหลายจังหวัด

ส่วนเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ไก่ เครื่องปรุงอาหาร และอาหารสำเร็จรูป กลุ่มนี้ ราคาก็ปรับขึ้นตามต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งด้วยเช่นกัน

[ กระทรวงพาณิชย์อธิบายความเฟ้อทางเทคนิค ]

แต่ในทางกลับกัน สนค.ชี้ว่า ความต้องการใช้จ่ายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น บวกกับฐานเงินเฟ้อของช่วงเดียวกันปีก่อนที่ใช้คำนวณนั้นค่อนข้างต่ำ ทำให้เงินเฟ้อในเดือน ส.ค.เป็นการเพิ่มขึ้นทางเทคนิคเท่านั้น

และหากดูไส้ใน พบว่า สินค้าบางอย่าง เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เสื้อและกางเกงผู้ชาย น้ำยารีดผ้า น้ำยาถูกพื้น เครื่องใช้ไฟฟ้า (เตารีด แอร์ เครื่องซักผ้า) และโทรศัพท์มือถือ เหล่านี้ ราคากลับปรับตัวลดลง

รวมๆ แล้ว ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) อยู่ที่ 3.15% YoY

[ เชื่อว่าเงินเฟ้อไทยผ่านจุดพีคไปแล้ว ]

สนค.เชื่อว่า ภาวะเงินเฟ้อของไทยน่าจะถึงจุดพีคแล้ว หรืออย่างน้อยก็น่าจะเริ่มทรงตัว เพราะเห็นเทรนด์เงินเฟ้อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มิ.ย. – ส.ค.) ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน

แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ราคาพลังงานดีดตัวสูงขึ้นอีก หรือความรุนแรงของน้ำท่วมเพิ่มขึ้น ก็อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งและผลิตสินค้าได้

รวมถึงการปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการ ของบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจในไทย ซึ่งเป็นการขึ้นราคาตามอัตราเงินเฟ้อในประเทศต้นทาง จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่กระทบเงินเฟ้อไทยให้เพิ่มขึ้น

[ นักเศรษฐศาสตร์เตือนเงินเฟ้อสูงถึงสิ้นปี ]

นักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย (Krungthai COMPASS) มองว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้จะยังอยู่ในระดับสูง และอาจทำให้เงินเฟ้อทั้งปี 2565 สูงกว่าคาดการณ์เดิมที่ 6.1%

สาเหตุสำคัญมาจากต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นกระจายตัวไปยังหลายหมวดมากขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักอาหารสดและพลังงาน) ที่เร่งตัวขึ้น 3.2%

โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหาร เพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น ส่วนหมวดเคหสถาน ก็เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซหุงต้มที่ปรับสูงขึ้น

[ ราคาสินค้าและบริการอาจแพงขึ้นอีก ]

มองไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการไปยังราคาสินค้าและบริการ จะมีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้น จากต้นทุนวัตถุดิบที่อยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับเงินเฟ้อผู้ผลิตที่ยังเพิ่มขึ้นในอัตราเลขสองหลัก

นอกจากนี้ การปรับเพิ่มค่าไฟฟ้างวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. และการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเดือน ต.ค. จะทยอยส่งผ่านและสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อในระยะต่อไปข้างหน้า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า