SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ประยุทธ์’ หารือสามฝ่ายกับผู้นำเมียนมาและลาว แก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน ต้นตอฝุ่นละออง PM 2.5 ผ่าน 3 แนวทาง ด้านผู้นำลาวและเมียนมาเห็นด้วยกับมาตรการควบคุมในระดับภูมิภาค
.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมสามฝ่ายระหว่างราชอาณาจักรไทย นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เรื่องการจัดการปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนในวันนี้ (7 เม.ย.)

https://www.facebook.com/prayutofficial/posts/pfbid0zVXtBdFvaTbrqPRcp3ibygSx3PFMoHb67K764ZFKVMNBzEv6Rs4k1Bg19s62eiv6l

โดยในเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ได้เผยแพร่ภาพระหว่างการประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ พร้อมโพสต์ข้อความช่วงหนึ่งระบุว่า ทั้งสามฝ่ายเห็นพ้องต้องกันในหลายเรื่อง ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน ทั้งในระยะเร่งด่วน และระยะยั่งยืน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่
.
1. การแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมถึงแนวทางดำเนินการด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ เพื่อควบคุมที่ต้นเหตุของปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือเกษตรกรในการบริการจัดการของเสีย-ซากพืชผลทางการเกษตร โดยแปรให้เป็นพลังงาน เช่น (1) การทำโรงไฟฟ้า BCG ที่เปลี่ยนของเสียให้เป็นปุ๋ย, พลังงานไฟฟ้า หรือน้ำมันดีเซล (2) การทำโรงงานไบโอก๊าซขนาดเล็ก ตามชุมชนขนาดเล็ก และ (3) การแปรรูปเศษซากที่เหลือจากการเกษตรเป็นวัสดุที่เป็นรายได้ เป็นต้น
.
2. การใช้ประโยชน์กลไกทุกระดับ ในรูปแบบทวิภาคี เช่น คณะกรรมการชายแดนในระดับจังหวัด และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42 เพื่อให้ผู้นำอาเซียน ได้ร่วมกันพิจารณาสั่งการ และเร่งรัดการปฏิบัติให้มีผลเป็นรูปธรรมและรอบด้าน
.
3. การจัดตั้งระบบเตือนภัยและส่งเสริมประสิทธิภาพการดับไฟ, การบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการพัฒนาความสามารถเจ้าหน้าที่ เพื่อลดจุดความร้อนและควบคุมมลพิษในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
.
รายงานระบุว่า ระหว่างการประชุม นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโส คณะทำงานภายใต้รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5 ประเทศ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนว่า เป็นผลจากสภาวะอากาศที่แห้งแล้งในอนุภูมิภาคแม่โขงช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย. 2566 ทำให้มีจำนวนจุดความร้อนเพิ่มขึ้นจากการเผาในที่โล่ง และเกิดปัญหาหมอกควันข้ามแดน
.
โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนได้แจ้งเตือนต่อระดับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นระดับสูงสุด (ระดับ 3) ซึ่งภาพรวมจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปี 2566 พบว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 93 โดยเป็นการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันคือ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 5 เม.ย.
.
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวถึงมิตรภาพของสามประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน ที่ทำให้ทั้งสามประเทศห่วงใย คำนึงถึงกัน ส่งกำลังใจให้กันเพื่อความสงบสุข ปลอดภัย และความผูกพัน โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวฝากถึงประเด็นความร่วมมือระหว่างกันเพื่อประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การสาธารณสุข ท่องเที่ยว การค้าชายแดน ป้องกันปัญหายาเสพติด การหลอกลวงออนไลน์ เป็นต้น
.
การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สถานการณ์มลพิษทางอากาศทางภาคเหนืออยู่ในระดับวิกฤต จนทำให้ค่าฝุ่นละอองในอากาศ PM 2.5 พุ่งสูงต่อเนื่อง โดยเว็บไซต์ Iqair. com รายงานคุณภาพอากาศจากทั่วโลก ณ เวลา 10.15 น. วันนี้ (7 เม.ย.) พบว่า เชียงใหม่ มีค่า AQI ถึง 372
– รองลงมา คือ ปูซาน ประเทศ เกาหลีใต้ ค่า AQI อยู่ที่ 180
– อันดับที่ 3 คือ การาจี ประเทศปากีสถาน ค่า AQI อยู่ที่ 177
– อันดับ 4 คือ ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ AQI อยู่ที่ 168
– อันดับ 5 ลาฮอร์ ประเทศปากีสถาน AQI อยู่ที่ 164
– ขณะที่ กรุงเทพฯ ณ เวลาดังกล่าว มีค่า AQI อยู่ที่ 108 ติดอันดับ 18
.
หากเจาะเข้าดูการตรวจวัดเฉพาะค่า PM 2.5 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เว็บไซต์ air4thai รายงาน ณ เวลา 10.00 น. วันนี้ พบว่า พื้นที่ที่มีค่า PM 2.5 สูงสุด อยู่ที่ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว วัดได้ 297 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า