SHARE

คัดลอกแล้ว

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผนึกกำลัง บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เสริมทัพสร้างจุดแข็งขนส่งข้ามแดนครบวงจร ขยายเส้นทางการนำส่งสินค้าสู่ประเทศจีนด้วยรถไฟลาว-จีน คาดช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งสูงถึง 30%

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนไปยังปลายทางจีน ไปรษณีย์ไทยได้ขยายเส้นทางใหม่ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางไปรษณีย์ด้วยการขนส่งทางรางโดยรถไฟลาว-จีน สู่เมืองคุนหมิง เฉิงตู ฉงชิ่ง และกวางโจว

รองรับการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการในไทย อาทิ ผลไม้ทั้งในรูปแบบผลไม้สด ผลไม้แห้งแช่เย็นและแช่แข็ง ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อะไหล่รถยนต์ เม็ดพลาสติก และแผ่นวงจรพิมพ์

เพื่อช่วยลดระยะเวลาจัดส่งสินค้ารวมถึงต้นทุนค่าขนส่งซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการจัดส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวางแผนเปิดให้บริการ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

“บริการขนส่งทางรางในครั้งนี้ถือเป็นการพลิกโฉมรูปแบบการให้บริการระหว่างประเทศของไปรษณีย์ไทยในการส่งสินค้าข้ามแดนเพื่อเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการได้มากยิ่งขึ้น

ซึ่งจากเดิมเราให้บริการขนส่ง 3 รูปแบบ คือ ทางอากาศ (Air) ทางบก (Road) และทางภาคพื้น/ทางเรือ (Surface) โดยในระยะแรกของการให้บริการจะเน้นที่กลุ่มผู้ส่งออกผลไม้สดเป็นหลัก อาทิ โรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) โรงงาน/บริษัทส่งออก/แปรรูปผลไม้

ซึ่งปัจจุบันผลไม้ไทยเป็นที่นิยมและมีปริมาณความต้องการส่งออกไปยังปลายทางจีนจำนวนมาก อาทิ ทุเรียน มังคุด (ภาคตะวันออก) มะพร้าว (ภาคตะวันตก) ลำไย (ภาคเหนือ) และ ส้มโอ (ภาคกลาง)

ถือเป็นการตอกย้ำภารกิจการขนส่งของไปรษณีย์ไทยที่เป็นผู้เปิดเส้นทางให้ผู้ประกอบการสามารถขยายช่องทางการขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยศักยภาพด้านเครือข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและทั่วโลก

โดยการขนส่งทางรางจะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาขนส่งสินค้า และประหยัดต้นทุนในการขนส่งได้ถึง 25-30% เมื่อเทียบกับการขนส่งทางบกด้วยรถบรรทุก เช่น หากส่งทุเรียนด้วยรถบรรทุกจากจันทบุรีไปคุนหมิงจะใช้ระยะเวลา 7-10 วันหากขนส่งทางรางจะเหลือระยะเวลาเพียง 5 วัน เท่านั้น” ดร.ดนันท์ กล่าว

ทั้งนี้ ไปรษณีย์ไทยยังได้พันธมิตรรายสำคัญอย่าง “ทริพเพิล ไอ” ซึ่งมีความเชี่ยวชาญบริการด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรมาช่วยเสริมทัพความพร้อมให้บริการในครั้งนี้ ตั้งแต่การขนส่งจากไทยข้ามไปยังลาว เข้าสู่ขั้นตอนดำเนินพิธีการทางศุลกากรก่อนส่งไปยังปลายทางจีน

รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพของสินค้าระหว่างขนส่งอีกด้วย มั่นใจได้ว่าผู้ประกอบการจะได้รับบริการที่ได้มาตรฐานแบบมืออาชีพตั้งแต่สินค้าออกจากต้นทางจนถึงปลายทางอย่างแน่นอน

นายทิพย์ ดาลาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทริพเพิล ไอ พร้อมสนับสนุนการให้บริการของไปรษณีย์ไทย โดยเป็นผู้ขนส่งสินค้าจากไทยผ่านลาวไปยังปลายทางจีนในรูปแบบขนส่งทางรางโดยเส้นทางรถไฟลาวจีน

ซึ่งสินค้าจะถูกบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์แบบเหมาตู้และดำเนินพิธีกรศุลกากรขาออกและขาเข้าก่อนส่งมอบสินค้าให้ผู้รับปลายทาง ซึ่งสามารถส่งมอบสินค้าได้ทั้งแบบรับที่สถานีปลายทาง (Door to Station) และแบบส่งถึงที่อยู่ของผู้รับ (Door to Door)

ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจโลจิสติกส์ครบวงจรกว่า 25 ปี ของทริพเพิล ไอ และประสบการณ์ด้านขนส่งในประเทศระดับแถวหน้าของไปรษณีย์ไทย เรามั่นใจว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะสร้างบริการที่เป็นประโยชน์ ตรงใจ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ประกอบการได้อย่างดีที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า