SHARE

คัดลอกแล้ว

ปฏิเสธไม่ได้ว่า 3-4 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจขนส่งในไทยนั้นมีการแข่งขันการรุนแรงดุเดือด มีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาในตลาดมากขึ้น และนั่นก็ทำให้ขนส่งแห่งชาติอย่าง ‘ไปรษณีย์ไทย’ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดยถ้าดูผลประกอบการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่ารายได้และกำไรลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นขาดทุนหนักในปี 2564

-ปี 2560 รายได้ 28,293 ล้านบาท กำไร 4,212 ล้านบาท

-ปี 2561 รายได้ 29,728 ล้านบาท กำไร 3,827 ล้านบาท

-ปี 2562 รายได้ 27,531 ล้านบาท กำไร 660 ล้านบาท

-ปี 2563 รายได้ 24,210 ล้านบาท กำไร 385 ล้านบาท

-ปี 2564 รายได้ 21,734 ล้านบาท ขาดทุน 1,624 ล้านบาท

จนเมื่อกลางปี ‘ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ไปรษณีย์ไทย บอกว่าไม่ขออยู่ในเกมสงครามราคา เนื่องจากเป็นเกมที่ไม่ส่งผลดีกับใครเลย ทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมไม่เฮลตี้

เพราะทุกคนแข่งกันลดราคา จนหลายรายจำนวนงานเพิ่มจริง แต่ต้นทุนก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการให้บริการ ซึ่งก็จะไปส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค และท้ายที่สุดก็เป็นการเติบโตที่ไม่ยั่งยืน

นั่นทำให้ไปรษณีย์ไทยต้องเร่งปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อให้กลับมามีกำไร มีการเติบโตอย่างยั่งยืน และคงความเป็นพี่ใหญ่ไว้ได้

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์

ซึ่งดูเหมือนจะมาถูกทาง เพราะ ดร.ดนันท์ บอกว่า ปีนี้ไปรษณีย์ไทยขาดทุนลดลงแน่นอน จากไตรมาส 4 ที่ผลการดำเนินงานดีมากทุบสถิติของทั้งปี

แล้วไปรษณีย์ไทยปรับตัวอย่างไรไปบ้าง TODAY Bizview จะเล่าให้ฟัง

[ ปรับที่ ‘คน’ ]

การปรับตัวเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของไปรษณีย์ไทยคือการปรับโครงสร้างภายในองค์กร โดยตั้งแต่ปีที่ผ่านมา นอกจากจะมีโครงการ Early Retire ไปรษณีย์ไทยก็ยังมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการทำงานของพนักงานด้วย

ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทีมขายด้วยการปรับพนักงานบางส่วนให้มาอยู่ในทีมนี้, การมีแนวคิดพัฒนาให้บุรุษไปรษณีย์ที่มีอยู่กว่า 20,000 คน ให้มีอีกหน้าที่หนึ่ง คือ เป็นผู้แนะนำสินค้าให้กับคนในชุมชน รับออเดอร์สั่งซื้อ และนำสินค้ามาส่งได้แบบตามต้องการ

ซึ่งจะเป็นการนำจุดแข็งของบุรุษไปรษณีย์อย่างเรื่อง ‘ความใกล้ชิดกับชุมชน’ เข้ามาใช้

นอกจากนี้การปรับเรื่องคนยังรวมไปถึงการสร้างรากฐานใหม่ๆ ให้กับบุคลากรรุ่นต่อไปของไปรษณีย์ไทยด้วย

โดยในโรงเรียนของไปรษณีย์ไทย มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นไปที่สิ่งที่พวกเขาจะต้องทำในอนาคต มีการนำบุคคลภายนอกเข้ามาสอน แทนที่การสอนเฉพาะเรื่องราวภายในแบบเดิม

[ เป็นโลจิสติกส์ครบวงจร เชื่อมไปทั่วโลก ]

ด้วยความที่ไปรษณีย์ไทยมุ่งมั่นที่จะเป็นบริการขนส่งและโลจิสติกส์แบบครบวงจร ซึ่งหนึ่งในนั้นก็ต้องสามารถเชื่อมโยงไทยไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกได้ด้วย

นั่นทำให้ไปรษณีย์ไทยจะพัฒนาบริการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น คลังสินค้า Fullfillment ระหว่างประเทศบนพื้นที่เขตปลอดอากรพาณิชอิเล็กทรอนิกส์, พัฒนาโครงการคลังสินค้าบริการระหว่างประเทศ (Bonded Warehouse)

รวมถึงบริการอื่นๆ เช่น EMS World ePacket ระหว่างประเทศ การลดขั้นตอนที่ผู้ประกอบการไม่ต้องดำเนินการด้วยตัวเอง เช่น พิธีทางศุลกากร

พร้อมทั้งการดึงพันธมิตรระดับโลก เช่น อีเบย์ อะเมซอน มาเป็นช่องทางค้าขายให้กับอีคอมเมิร์ซไทย รวมถึงใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทั้งทางภาคพื้น ระบบราง เรือ และอากาศ เชื่อมต่อกับทุกกลุ่มธุรกิจ

[ ใช้ดาต้าเพิ่มศักยภาพ ]

ดร.ดนันท์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า หนึ่งในโรดแมปของไปรษณีย์ไทย คือไม่ได้เป็นแค่ผู้ให้บริการขนส่ง แต่จะเป็น Data Company หรือเป็นบริษัที่มี ‘ดาต้า’ ขับเคลื่อนธุรกิจ สร้างและเสริมศักยภาพของการบริการ

ซึ่งจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญ เช่น การพัฒนาระบบจัดการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (Prompt Post) บริการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Timestamp) บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (KYC)

การใช้พื้นที่คลังไปรษณีย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศเปิดเป็นพื้นที่ให้บริการ Fulfillment ระดับจังหวัด ระบบหลังบ้านที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วและมีมาตรฐาน

การเป็นตัวแทนขายสินค้าให้กับธุรกิจค้าปลีก / รับชำระค่าบริการต่างๆ ถึงหน้าบ้าน การพัฒนาระบบ CRM และ Big Data เพื่อรวบรวมข้อมูลของลูกค้าในทุกมิติและนำมาวิเคราะห์ จัดกลุ่ม และนำเสนอสินค้า/บริการความต้องการลูกค้าแต่ละกลุ่ม

การขยาย “ทีมขาย ทีมขน และทีมแคร์” ดูแลให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องการใช้ระบบขนส่งที่เหมาะสม ราคา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการทำการตลาดบนแพลตฟอร์มของไปรษณีย์ไทย

[ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เสริมแกร่งเครือข่าย ]

นอกจากพัฒนาบริการของตัวเอง ไปรษณีย์ไทยก็มีการผนึกพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทอื่นๆ ด้วย เพื่อเอาจุดแข็งของแต่ละคนมาพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ร่วมกัน

ตัวอย่างบริการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น FUZE POST ที่จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ JWD และ FLASH ให้บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ

กลุ่มที่อยู่อาศัยที่ร่วมมือกับ AP เชื่อมต่อระบบของไปรษณีย์ไทย เรียกและนัดหมายให้เข้าไปรับพัสดุ และพร้อมต่อยอดไปเครืออสังหาริมทรัพย์อื่น

มีการเชื่อมโยง Rider Services กับ Robinhood และในอนาคตกับรายอื่นๆ เพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ และขยายช่องทางการส่งสินค้าของไปรษณีย์ไทย

มีความร่วมมือแพลตฟอร์ม Telemedicine ในการจัดส่งยารักษาโรค ไปจนถึงการร่วมมือสถาบันการเงินกับการมอบสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง

รวมไปถึงการผนึกกำลังกับ บมจ.สบาย เทคโนโลยี หรือ SABUY เปิดตัวธุรกิจขนส่งน้องใหม่ POST SABUY ที่ไปรษณีย์ไทยจะรับขนส่งพัสดุที่รับมาจากหน้าร้าน (Drop-off store) กว่า 17,000 แห่งทั่วประเทศในเครือของ SABUY

[ พัฒนาบริการ ด้วยมาตรการ Zero Complain ]

เมื่อไม่ขออยู่ในเกมสงครามราคา ดร.ดนันท์ บอกว่า สิ่งที่ไปรษณีย์ไทยจะให้ความสำคัญคือคุณภาพของการบริการ ด้วยมาตรการที่เรียกว่า Zero Complain ซึ่งจะทำให้ได้ในปี 2566

มาตรการ Zero Complain ที่ว่า คือการลดข้อร้องเรียนต่างๆ เช่น พัสดุสูญหาย คอมเม้นต์บนโซเชียลมีเดียให้เป็นศูนย์ และเพิ่มศักยภาพในส่วนที่มีความได้เปรียบให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งกว่าเดิม

เช่น เครือข่ายที่ครอบคลุมมากกว่า 20,000 แห่ง ทั้งจากเครือข่ายประเภทตัวแทน จุด EMS Point ผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่ในตลาด

ซึ่งจะทำให้การฝากส่งสิ่งของมีความสะดวกทุกพื้นที่ การนำจ่ายที่มีความรวดเร็ว แม่นยำด้วยระบบ Cross Navigate Networking ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะดูแลพัสดุทุกชิ้นให้เดินทางไปถึงปลายทางด้วยความปลอดภัย

[ ปีนี้ขาดทุนน้อยลงแน่นอน ]

ดร.ดนันท์ บอกว่า จากการปรับตัวทุกๆ ด้านที่ไปรษณีย์ไทยเริ่มดำเนินการไปแล้ว ซึ่งผลปรากฏว่าคุณภาพการให้บริการของไปรษณีย์ไทยดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพัสดุตีกลับน้อยลงเรื่อยๆ ของเคลมก็น้อยลงเรื่อยๆ จนพูดได้ว่าตอนนี้คุณภาพไปรษณีย์ไทยดีกว่าเจ้าอื่นๆ

ซึ่งนั่นก็สะท้อนออกมาเป็นผลการดำเนินในไตรมาส 4 ที่แม้ ดร.ดนันท์ จะไม่ขอเปิดเผยตัวเลข แต่ระบุว่าเป็นไตรมาสที่ perform ดีที่สุด และประมาณการรายได้ปีนี้แตะ 2 หมื่นล้านบาท โดยจะ ‘ขาดทุนลดลง’ อย่างแน่นอน

สำหรับว่าสัดส่วนรายได้ของไปรษณีย์ไทยในปัจจุบัน แบ่งเป็น

-กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ 47.62%

-กลุ่มไปรษณียภัณฑ์ 31.26%

-กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 15.94%

-กลุ่มธุรกิจการเงิน 1.78%

-กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 2.78%

-กลุ่มธุรกิจอื่นๆ 0.66 %

และนอกเหนือจากการสร้างรายได้จากกลุ่มดังกล่าวแล้ว ไปรษณีย์ยังมีแผนในการหารายได้จากน่านน้ำใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งจะเป็น New S- Curve ขององค์กร

ทั้งการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจไปรษณียภัณฑ์เดิม เช่น แสตมป์ NFT บริการจัดส่งสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ หรือ Advertising Mail ที่สามารถจัดส่งสิ่งพิมพ์โฆษณาหรือสินค้าตัวอย่าง ให้แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายในรูปแบบ Direct Mail

บริการ e-Timestamp ประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจุบันมีลูกค้า เช่น หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น

กลุ่มขนส่ง – ค้าปลีก เช่น กล่อง On Demand ที่สามารถออกแบบและผลิตได้ตามความต้องการของประเภทธุรกิจ วางจำหน่าย-โฆษณาสินค้าตามไปรษณีย์ต่างๆ

การขยายพื้นที่บริการ FUZE POST เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ

กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น คลังสินค้าบริการระหว่างประเทศ (Bonded Warehouse) สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และผู้ใช้บริการทั่วไป

กลุ่มธุรกิจการเงิน อาทิ บริการประกันภัยออนไลน์ การให้สินเชื่อร่วมกับสถาบันการเงิน การทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเติมเงิน ชำระเงิน โอนเงินระหว่างประเทศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า