Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กลายเป็นประเด็นร้อน หลังจากที่วานนี้ (14 ก.ย. 2565) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีค่าเงินบาทอ่อนค่าค่อนข้างแรง ว่าจะมีมาตรการเข้าไปดูแลหรือไม่

[ ดอลลาร์แข็งค่า 15% กดค่าเงินเอเชียอ่อนค่า ]

ซึ่งแบงก์ชาติให้คำตอบว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดการเงินผันผวนสูงขึ้น จากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิมในระยะถัดไป

นับแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ค่าเงินดอลลาร์ (เงินดอลลาร์ สรอ.) แข็งค่าไปแล้วกว่า 14.6% เป็นปัจจัยหลักที่กดดันให้สกุลเงินในภูมิภาค รวมถึงค่าเงินบาทของประเทศไทยอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา

ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่เห็นสัญญาณการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ โดยนับตั้งแต่ต้นปี นักลงทุนต่างชาติยังซื้อสุทธิในสินทรัพย์ของไทยประมาณ 1.6 แสนล้านบาท

แบ่งเป็น การซื้อสุทธิในตลาดหลักทรัพย์กว่า 1.6 แสนล้านบาท แต่ขายสุทธิเล็กน้อยในตลาดพันธบัตรที่ 700 ล้านบาท

[ ทุนสำรองไทยลดลง 1.3 ล้านล้านบาท ]

ธปท.ยังบอกอีกว่า การแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ ยังส่งผลให้มูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศของหลายประเทศปรับลดลง

สำหรับไทย เงินสำรองฯ ปรับลดลงจาก 2.78 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 10 ล้านล้านบาท) ในช่วงต้นปี มาอยู่ที่ระดับ 2.4 แสนล้าน (ราว 8.8 ล้านล้านบาท)

สรุปคือ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ ทุนสำรองฯ เราลดลงไปแล้วประมาณ 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ถ้าตีเป็นเงินไทยก็ลดลงมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติอธิบายว่า การลดลงของเงินสำรองฯ เป็นผลจากการตีมูลค่าทุนสำรองฯ ที่อยู่ในสินทรัพย์หลายสกุลเงินให้เป็นเงินดอลลาร์

แต่ด้วยเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สินทรัพย์สกุลอื่นเมื่อตีเป็นรูปดอลลาร์ มีมูลค่าลดลง ซึ่งปกติในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์ผันผวนสูง ก็จะเห็นมูลค่าทุนสำรองฯ ของไทยผันผวนสูงขึ้นตามไปด้วย

[ 3 เหตุผลที่ทำให้ทุนสำรองไทยลดฮวบ ]

ธปท. ยังกล่าวถึงความเข้าใจผิดที่ว่า ‘เงินทุนสำรองฯ ลดลงมาก เพราะต้องใช้พยุงค่าเงินบาท’ นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของทุนสำรองฯ มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ

1. ผลตอบแทนการลงทุน

2. การตีมูลค่าสินทรัพย์ (Valuation)

3. การดำเนินนโยบายค่าเงินของ ธปท.

ซึ่งแบงก์ชาติบอกว่า การเปลี่ยนแปลงของเงินทุนสำรองฯ ตอนนี้ เกิดจากการตีมูลค่าสินทรัพย์กลับมาอยู่ในรูปดอลลาร์เป็นหลัก เพราะดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งทุนสำรองฯ ประเทศอื่นก็ลดลงเหมือนกัน

[ แบงก์ชาติมั่นใจไม่ซ้ำรอยวิกฤต 40 ]

นอกจากนี้ ข้อสรุปที่ว่า ‘เงินทุนสำรองฯ ที่ลดลง จะกระทบเสถียรภาพการเงินไทยจนเกิดวิกฤตแบบปี 40’ นั้น ไม่เป็นความจริงเช่นกัน

เพราะการเงินไทยแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2540 ทั้งทุนสำรองฯ ตอนนี้ที่ 2.4 แสนล้านดอลลาร์ มากกว่าปี 2540 ที่ 9 พันล้านดอลลาร์

ทุนสำรองฯ ต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นตอนนี้ที่มากกว่า 3.2 เท่า จากปี 2540 ที่ 0.7 เท่า และสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ต้องมากกว่า 1 เท่าเป็นอย่างน้อย

ส่วนทุนสำรองฯ ต่อมูลค่าการนำเข้าตอนนี้ก็สูงกว่า 9.4 เท่า จากปี 2540 ที่ 5 เท่า และสูงกว่ามาตรฐานสากลที่ต้องมากกว่า 3 เท่าเป็นอย่างน้อย

นอกจากนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะขาดดุลราว 1.5% ก่อนกลับมาเกินดุล 0.9% ตามลำดับ เทียบกับปี 2538 และ 2538 ที่ขาดดุลหนักถึง 8% และ 9% ตามลำดับ ส่วนมาตรฐานสากล ระบุให้ขาดดุลไม่เกิน 2%

[ การเงินไทยยังแข็งแกร่งสูงติดอันดับโลก ]

ก่อนปิดท้ายการตอบคำถามสื่อ แบงก์ชาติ ระบุว่า ไทยยังมีฐานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากเงินสำรองฯ ที่ 2.4 แสนล้าน ดอลลาร์ คิดเป็น 48% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ

โดยสูงเป็นอันดับที่ 12 และ 8 ของโลกตามลำดับ และยังสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งเป็นตัววัดความแข็งแกร่งของสถานะการเงินไทย เกือบ 3 เท่า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า