SHARE

คัดลอกแล้ว

ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ และกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กล่าวถึงมุมมองเรื่อง Soft Power โดยยกกรณีตัวอย่างในญี่ปุ่นที่ทำเรื่องซอฟต์พาวเวอร์มายาวนานกว่าใคร มีโครงการ Cool Japan และใช้วัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาพัฒนา Local wisdom ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะแอนิเมชั่นที่ทำรายได้เข้าประเทศได้มากถึง 1.03 ล้านล้านบาท ส่วนปีนี้การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของญี่ปุ่นจะมีมูลค่าแตะถึง 2.55 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 9.5%

ส่วนเกาหลีใต้ได้สร้าง Korea Wave และ The Korea Creative Content Agency (KOCCA) สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศและสร้างงานได้มากกว่า 16,000 ตำแหน่ง จนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกาหลีใต้ถึง 2.3 ล้านล้านวอน ซึ่งเป็นจุดพิสูจน์ว่าเขาทำเป็นรูปธรรม

ความสำเร็จเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ของไทยจริง ๆ ที่เราควรโฟกัส อันดับแรก ทำอย่างไรที่จะนำความแตกต่างทางวัฒนธรรมมาบอกเล่าอย่างรูปธรรม สนับสนุนรัฐบาล และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาสังคม ภาคประชาชน สร้าง partnership พัฒนาสมบัติชาติ และภูมิปัญญาทางความคิดให้เกิดเป็นธุรกิจให้ได้

ที่สำคัญมาก คือจะคิดหรือทำอะไร ถ้าเราไม่มี Communication Platform ที่ใช่และถูกต้อง สามารถสื่อสารไปทั่วโลก เล่าเรื่องราวที่อันดับแรกคนไทยฟังแล้วเลื่อมใสกันเองอยากสนับสนุน อันดับสองพูดไปทั่วโลกแล้วทุกคนได้ใจเข้าใจว่าไทยมีอะไรดี และอยากมาไทยหรืออยากเป็นแบบอย่างเรา

ถามว่าตอนนี้ไทยอยู่ไหนในเวทีโลก เรามีศักยภาพมากมาย แม้เราจะมี GDP เป็นอันดับ 91 ของโลก แต่กรุงเทพฯและประเทศไทยเป็นหนึ่งในใจคนทั้งโลกอยากมาเยี่ยมชมอยู่แล้ว การท่องเที่ยวของเราแข็งแรงมากว่า 60 ปี เรามีต้นทุนที่ดีมากทางวัฒนธรรม

ประเทศไทยจริง ๆ มีคนทำเรื่องเกม เป็นเกมเมอร์และในระบบเกม มากถึง 32 ล้านคน ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย และใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถามว่าสิ่งนี้ Skill set ของเราจะต่อยอดได้ยังไง นอกเหนือจากที่เรารู้ดีกันอยู่แล้วว่ามี อาหาร มวยไทย สงกรานต์เฟสติวัล ซึ่งส่วนใหญ่คือ ‘แบรนดิ้งของชาติ’ จากการจัดอันดับ Soft Power Nation แล้ว เรายังเป็นอันดับที่ 41 ดังน้ันแปลว่าเรามีโอกาสที่จะช่วยกันถีบตัวเองขึ้นไปให้ไปอยู่ระดับต้นๆได้

มูลค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย อยู่ที่ 1.358 ล้านล้านบาท เป็นมูลค่าเศรษฐกิจที่โตทุกปี แต่การโตมันเริ่มถดถอย ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์มาเพื่อพัฒนาคน บูรณาการให้สิ่งที่มีอยู่เป็นรูปธรรม

“มุมมองดิชั้นคิดว่า การบูรณาการปั้นซอฟต์​พาวเวอร์ ท้ายสุดต้องสร้างรายได้ให้ 77 จังหวัด ไม่ใช่สนุกกันภาคภูมิใจ แต่ไม่ได้เงิน ดังนั้นซอฟต์พาวเวอร์จะกลายเป็นเงินได้อย่างไร”

สิ่งที่เราควรทำทั้งภาครัฐ เอกชน ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดสามารถมียุทธศาตร์​ซอฟต์พาวเวอร์ของตัวเองได้ว่าแต่ละจังหวัดเรามีอะไรที่ดี จุดแข็งจุดขาย ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือที่คนทำได้ดี มีอะไรบ้างที่เรามี มีงานเฟสติวัลอะไรดี ๆ ที่คนแห่กันมามาก

ถ้าเราเริ่มต้นเห็นจังหวัดเหมือนกับหน่ึงบริษัทที่ทุกคน ทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมต่างๆ จะมาช่วยคิดว่ายุทธศาสตร์แต่ละจังหวัดในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์คืออะไร เมื่อได้ยุทธศาสตร์ทำเป็นแผนและกำหนดกลยุทธ์ว่าแต่ละจังหวัดเราจะซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ใครทำอะไรที่ไม่แข่งขันกันจนเกินไป ก่อให้เกิด Action Plan และท้ายสุด คือ เมื่อได้ Plan ถูกต้อง และรัฐบาลเข้ามาช่วย เราจะสามารถลงมือให้แผนนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว”

รัฐมีงบประมาณ ส่วนกระบวนการร่วมมือช่วยเหลือกัน สถานศึกษาก็พัฒนาคนในจังหวัดตอบโจทย์ซอฟท์พาวเวอร์คือมีอะไรที่ดีอยู่แล้ว นักศึกษาจะเลือกวิชาชีพธุรกิจอะไรที่จะโฟกัสเรื่องนั้นให้จังหวัดเจริญ ท้ายสุดทำอย่างไรให้ทุกครัวเรือนมีรายได้ ทำให้ Local Hero กลายเป็น Global Hero ให้ได้ ถ้าเราสามารถพัฒนาคนสักประมาณ 30 ล้านคนของประชากรของไทยให้ทำในสิ่งที่ตัวเองทำอยู่แล้วเก่งอยู่แล้ว แต่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ โฟกัสมากขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากทั้ง เอกชน สมาคม รัฐบาล เชื่อว่า ซอฟต์พาวเวอร์จะเป็นตัวไดร์ฟให้เกิดงานเกิดรายได้ เรากำลังจะเปลี่ยนสิ่งซึ่งแต่ก่อนเราคิดว่ามีแค่คุณค่าให้กลายเป็นมูลค่า

“เรามองเห็น Soft Power เป็น New Growth Engine ไม่ใช่เรื่องเก่า เป็นเรื่องเดิมที่เล่าใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้”

สรุปบางตอนจากงานสัมมนาเรื่อง “Connect The Dots For Competitive” ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ คร้ังที่ 41 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 90 ปี หอการค้าไทย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า