SHARE

คัดลอกแล้ว

“หากประเทศไหนเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯสูง สหรัฐฯจะตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราเดียวกัน”

นี่คือนโยบายการค้าสหรัฐฯ บนฐานแนวคิดที่เรียกว่า ‘Reciprocal Trade Act’ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ

ล่าสุดความชัดเจนเกิดขึ้นแล้ว สัปดาห์นี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้ทีมเศรษฐกิจวางแผนเก็บภาษีตอบโต้กับ ‘ทุกประเทศ’ ที่เก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามการค้าระดับโลกกับทั้งมิตรและคู่แข่งของอเมริกา

รัฐบาลของทรัมป์ มองว่านี่เป็นแนวคิดที่ทำให้ “การค้าเป็นธรรม” กับสหรัฐมากขึ้นเนื่องจากหลายประเทศตอนนี้กำลังเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าจากสหรัฐฯ สูงกว่าสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศนั้นๆ

[ ประเทศไทยจะโดนอะไรจากทรัมป์? ]

สำหรับประเทศไทย KKP Research วิเคราะห์ว่าสินค้าหลักที่ไทยเก็บภาษีนำเข้าสูงกว่าสหรัฐฯ หลักๆ เลยคือ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงยานพาหนะ

ว่ากันตามนี้ทำให้ไทยเสี่ยงจะถูกตอบโต้ทางภาษีได้เช่นกัน

โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อสินค้าเกษตรของไทย คือ เนื้อ หมู ไก่ วัว เพราะไทยเก็บภาษีนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากสหรัฐฯสูง และไทยก็ยังนำเข้าเนื้อสัตว์จากสหรัฐฯ ในสัดส่วนค่อนข้างน้อยกว่าด้วย

นอกจากนี้ไทยยังมีมาตรการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย (เช่น การห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง) ซึ่งสหรัฐฯ มองว่าอาจเป็น Non-tariff barrier หรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

ความเสี่ยงของไทย คือ หากสหรัฐฯ พิจารณาว่าไทยเลือกปกป้องผู้ผลิตในประเทศจนเกินควร ก็อาจอ้างถึงการกีดกันนี้เพื่อขึ้นภาษีตอบโต้สินค้าส่งออกของไทย

[ ผลกระทบที่เห็นชัดๆ ที่จะเกิดกับไทย? ]

หากไทยถูกกดดันให้เปิดตลาดเนื้อสัตว์จากสหรัฐฯ อาจทำให้ราคาเนื้อสัตว์นำเข้าต่ำลง โดยเฉพาะชิ้นส่วนบางประเภทอย่างน่องไก่ ที่สหรัฐฯ สามารถผลิตได้ต้นทุนต่ำ ส่งผลให้ผู้ผลิตในประเทศแข่งขันยากขึ้น

ไทยต้องสร้างสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการรักษาความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการภายใน

ขณะเดียวกันเมื่อดูผลกระทบการส่งออกของไทยไปสหรัฐ ซึ่งรู้กันดีว่าสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย สินค้าหลักที่มีความเสี่ยงหากถูกอเมริกาขึ้นภาษี ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ยางรถยนต์ เป็นต้น มูลค่าการส่งออกที่เคยเติบโตอาจชะงัก หากสหรัฐฯ เลือกขึ้นภาษีนำเข้ากับสินค้าไทยทั้งหมด

โดยเฉพาะอาจลามมาถึงสินค้า “Made in China” ที่ส่งผ่านไทย

[ จีนอีกด้านของเหรียญที่ไทยต้องจับตา ]

สหรัฐฯ อาจจับตาเป็นพิเศษต่อสินค้าจีนที่อาจย้ายฐานผลิตหรือส่งออกผ่านไทยเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี บริษัทจีนอาจทยอยย้ายฐานออกจากไทยหากเห็นว่ายังเสี่ยงต่อการถูกสหรัฐฯ เช่น ถ้าสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซล่าเซลล์

ซึ่งแผงโซล่าเซลล์ถือเป็นตัวอย่างสินค้าที่เคยเติบโตดีในไทย แต่ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2567 เป็นต้นมา มูลค่าส่งออกของไทยลดลงกว่า 80% เนื่องจากผู้ผลิตจีนย้ายฐานไปลาวและอินโดนีเซีย เพื่อเลี่ยงภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ

กรณีนี้สะท้อนว่าการลงทุนโดยตรงจากจีนในไทยอาจไม่ยั่งยืน หากสหรัฐฯ ยังคงกดดันที่มาของสินค้าที่แท้จริง (ว่ามาจากจีน)

ยิ่งสหรัฐฯ กดดันจีนมากเท่าไหร่ จีนอาจเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ สนับสนุนภาคส่งออกสู่ตลาดอื่น โดยเฉพาะ อาเซียน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจีนอาจลดค่าเงินหยวนและมีมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ซึ่งนี่จะยิ่งทำให้สินค้าจีนยิ่งราคาถูกลง อาจทำให้การนำเข้าสินค้าจากจีนทะลักเข้าไทยมากขึ้น และยิ่งอาจทำให้ดุลการค้าของไทยยิ่งเสียเปรียบจีนมากขึ้น

[ ถ้าไทยตกเป็นเป้าหมายสหรัฐขึ้นมาจริงๆ ]

KKP Research ให้มุมมองว่า ไทยควรเตรียมกรอบเจรจาให้พร้อม โดยจำเป็นต้องประเมินข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ว่าต้องการให้ไทยเปิดตลาดสินค้าอะไร และไทยจะรับมืออย่างไร โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอย่างเนื้อสัตว์

ที่สำคัญต้องสามารถรักษาสมดุลระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทุกข้อตกลงทางการค้าย่อมมีผู้ได้และเสีย หากเปิดตลาดสินค้าเกษตรมากเกินไป ผู้ผลิตในประเทศอาจเดือดร้อน แต่ผู้บริโภคอาจได้ประโยชน์จากราคาที่ถูกลง

และยังต้องควรพิจารณาผลกระทบจากฝั่งจีนด้วย เนื่องจากการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีผลกระทบเป็นวงกว้าง และอาจทำให้สินค้าและการลงทุนจากจีนเข้ามาในไทยมีผลกระทบ หรือทุนจีนย้ายออกไปมากขึ้น

[ สงครามการค้ารอบใหม่ อาจกระทบไทยหนักขึ้น ]

สถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีความผันผวนสูง ไทยไม่สามารถพึ่งพา “ความหวัง” หรือคิดว่า ไทยอาจไม่โดนสหรัฐเพ่งเล็ง แต่ควรเตรียมแผนรองรับสถานการณ์เลวร้ายที่สุด โดยประเมินผลกระทบต่อผู้ผลิตและแรงงานภายในประเทศอย่างรอบด้าน

มองหาการใช้ประโยชน์จากตลาดส่งออกอื่นแทนสหรัฐ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร

และที่หนีไม่พ้นคือ ต้องวางกลยุทธ์เจรจากับสหรัฐฯ และดูแลสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนให้บาลานซ์ไปด้วยกัน

เพราะวันนี้ เศรษฐกิจไทยไม่แข็งแรง การกดดันจากสหรัฐฯ ผนวกกับการแข่งขันจากจีนที่รุนแรงขึ้น อาจทำให้ภาคเกษตร ภาคส่งออก และดุลการค้าของไทยเผชิญความท้าทายมากกว่าเดิม ดังนั้นการเตรียมตัวรับมืออย่างเหมาะสมจึงสำคัญมากในตอนนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า