SHARE

คัดลอกแล้ว

แบงก์ชาติกำลังเปิดรับสมัครธุรกิจ ‘ธนาคารเสมือน’ (Virtual Bank) ไม่มีสาขา ไม่มีตู้ ATM พร้อมให้บริการกลางปี 2568 ตอนนี้มีผู้สนใจกว่า 10 ราย ทั้งไทยและต่างชาติ มาจากหลายธุรกิจ ‘แบงก์-ค้าปลีก-ค่ายมือถือ’

‘ธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์’ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า แบงก์ชาติกำลังเปิดรับสมัครธุรกิจ ‘ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา’ หรือ Virtual Bank ช่วงหลังไตรมาส 1 ปีนี้ และคาดว่าคนไทยจะได้ใช้บริการจริงในช่วงกลางปี 2568 หรืออีก 3 ปีต่อจากนี้

หลังจากสื่อสารออกไป ตอนนี้มีผู้สนใจเข้ามาคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วประมาณ 10 ราย มีทั้งบริษัทไทยและบริษัทต่างชาติ (2-3 ราย) ครอบคลุมหลายธุรกิจ ตั้งแต่ธนาคาร ค้าปลีก ค่ายมือถือ ฯลฯ บางรายก็จับมือกันเข้ามาขอคำปรึกษา

สำหรับ Virtual Bank แตกต่างกับธนาคารปกติตรงที่ ไม่มีสาขา ไม่มีตู้กดเงิน (ATM) หรือตู้ฝากถอน (CDM) ที่สำคัญคือ ‘การทำงาน’ ที่หลุดกรอบธนาคารแบบเดิมๆ ที่ต้องใช้คนมาก เยิ่นเย้อ และยังใช้ระบบงานเก่า

นอกจากนี้ การให้บริการแบบเสมือนจริง (Virtual) ยังทำให้วิธีคิดในการทำธุรกิจธนาคารเปลี่ยนไปจากเดิมด้วย

ส่วนคุณสมบัติของคนที่จะขอใบอนุญาตทำธุรกิจ Virtual Bank ได้คือ 1. มี Business Model ที่ตอบโจทย์ข้อกำหนดของแบงก์ชาติอย่างยั่งยืน ขยายฐานลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ และบริหารรายได้และต้นทุนไต้อย่างยั่งยืน

2. มีธรรมาภิบาล ผู้ถือหุ้นใหญ่ กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง มีคุณสมบัติเหมาะสมและมีธรรมาภิบาล 3. มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการดิจิทัล สามารถออกแบบการให้บริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า

4. มีการใช้เทคโนโลยีที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ลดต้นทุนการดำเนินงาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว 5. มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงธุรกิจการเงิน สามารถดำเนินธุรกิจ Virtual Bank ได้อย่างยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ

6. มีความสามารถในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อนำไปใช้พัฒนาบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่ม 7. มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง ผู้ถือหุ้นใหญ่สามารถสนับสนุนให้ Virtual Bank ตำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง หรือมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5,000 ล้านบาท

สำหรับบริษัทต่างชาติที่ต้องการทำธุรกิจ Virtual Bank ในไทย จะต้องร่วมทุน (JV) กับบริษัทไทย โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 25% หรือขอผ่อนผันได้มากสุดไม่เกิน 49% ส่วนธนาคารที่อยากให้บริการ Virtual Bank จะต้องไม่ใช้ชื่อหรือตราสัญลักษณ์เดิม ห้ามนับเงินทุนซ้ำ และห้ามพึ่งพาบริษัทแม่มากจนเกินไป

ปัจจุบัน (12 ม.ค. – 12 ก.พ. 2566) ธปท.อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความเห็น (Public Hearing) รอบสุดท้ายก่อนสรุปเกณฑ์ทำธุรกิจภายในไตรมาส 1 ปี 2566 หลังจากนั้น 6 เดือนจะเป็นช่วงเปิดรับสมัคร ซึ่งคาดว่าจะปิดรับสมัครช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4

ก่อนที่จะใช้เวลาอีก 9 เดือน (แบงก์ชาติพิจารณา 6 เดือน กระทรวงการคลังพิจารณา 3 เดือน) แล้วจะประกาศรายชื่อคนที่ได้รับเลือกในช่วงกลางปี 2567 และ 1 ปีหลังจากนั้นจะตรวจสอบความพร้อมก่อนให้บริการ ซึ่งคาดว่าจะพร้อมให้บริการในกลางปี 2568

หลังจากเปิดให้บริการ Virtual Bank แล้ว แบงก์ชาติมีสิ่งที่อยากเห็น (Green Line) 3 ข้อ คือ

1. บริการทางการเงินที่ครบวงจรและเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะรายย่อยและ SMEs ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินอย่างเหมาะสมและเพียงพอ

2. ประสบการณ์การใช้บริการทางการเงินที่ดีขึ้นของลูกค้า ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์

3. กระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น ฮ่องกง ที่ท้ายที่สุดธนาคารแบบเดิมต้องยกเลิกค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเพื่อแข่งกับ Virtual Bank เป็นต้น

ในทางกลับกัน ก็มีสิ่งที่แบงก์ชาติไม่อยากเห็น (Red Line) 3 ข้อ คือ

1. การทำธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน เช่น เร่งขยายธุรกิจ หรือทำธุรกรรมเสี่ยงๆ จนกระทบฐานะทางการเงินของตัวเอง

2. การแข่งขันที่ไม่เหมาะสมจนกระทบเสถียรภาพระบบการเงิน เช่น ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงมากๆ เพื่อแย่งลูกค้า หรือแข่งกันปล่อยสินเชื่อที่กระตุ้นการก่อหนี้เกินตัว

3. การเอื้อประโยชน์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการใช้อำนาจตลาดแบบไม่เหมาะสม เช่น กำหนดเงื่อนไขผูกขาดคู่ค้าธุรกิจให้ใช้ Virtual Bank ของตัวเอง (ในกรณีเป็นกลุ่มบริษัทที่มีหลายธุรกิจอยู่ข้างใน)

เมื่อถามถึงการกำกับดูแลธุรกิจ Virtual Bank แบงก์ชาติ กล่าวว่า กรอบการดูแลเป็นแบบเดียวกับที่กำกับธุรกิจธนาคาร แต่จะมีส่วนที่เข้มขึ้นบางส่วน เช่น ระบบงาน IT ห้ามล่มเกิน 8 ชั่วโมงต่อปี และถ้าล่มต้องกลับมาให้บริการได้ภายใน 2 ชั่วโมง

โดยช่วงแรกที่ทำธุรกิจ (3-5 ปี) แบงก์ชาติจะติดตามอย่างใกล้ชิด และมีสิทธิสั่งให้เลิกกิจการได้หากมีความเสี่ยงที่ไม่ยอมแก้ไข หรือไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ซึ่งกระบวนการเลิกกิจการ ธปท.กำหนดให้ส่งแผน (Exit Plan) มาพร้อมกับใบสมัครอยู่แล้ว รวมถึงแผนธุรกิจแบบละเอียด

ส่วนการปรับตัวของผู้บริโภค แบงก์ชาติมองว่า คนไทยจะปรับตัวให้เข้ากับ Virtual Bank ได้ไม่ยาก สะท้อนจากตัวเลขการ่ำทธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลของคนไทยที่เพิ่มขึ้นกว่า 18 เท่า รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตและโมบายแบงก์กิ้งที่เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า

ขณะที่ความเสี่ยงที่ทุนใหญ่จะเข้ามาผูกขาดตลาด แบงก์ชาติระบุว่า เป็นอีกหนึ่งข้อที่ ธปท.ใช้คัดเลือก หากคุณสมบัติครบ อาจจะให้เข้ามาทำธุรกิจในระยะ Phasing (3-5 ปี) ก่อน หากมีความเสี่ยงผูกขาดตลาดจะต้องแก้ไข แต่หากแก้ไขไม่ได้ จะต้องเลิกกิจการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า