SHARE

คัดลอกแล้ว

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ในปี 2565 ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจโลกได้เผชิญกับ ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ ในระดับที่สูงสุดในรอบหลายสิบปี ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น

แต่จากการรายงานข่าวเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อในแต่ละประเทศนั้นก็อยู่ในระดับสูง-ต่ำไม่เท่ากัน แล้วปัจจัยอะไรที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อต่างกัน..

วันนี้เราจะพาทุกคนไปถอดโครงสร้าง ‘เงินเฟ้อ’ ของประเทศไทยและ สหรัฐ ตัวแปรสำคัญที่ทำให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น หรือหากกล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือ ตัวแปรที่ทำให้เงินของคุณมีค่าต่ำลง

[ เศรษฐศาสตร์ 101 เงินเฟ้อคืออะไร ]

เงินเฟ้อ คือตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงภาวะราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการที่ปรับตัว ‘ขึ้น’ ซึ่งจะถูกรายงานเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยถูกผลักดันขึ้นได้จาก 2 ปัจจัย ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของฝั่งอุปสงค์ (Demand Pull) หรือ การผลักดันจากอุปทาน (Cost Push)

ในช่วงภาวะทางเศรษฐกิจใด หากมีความต้องการของสินค้าและบริการ A สูงมาก ในขณะที่ความต้องการผลิตเท่าเดิม ราคาของสินค้าและบริการ A ก็จะปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเราเรียกเหตุการณ์เช่นนี้ว่า การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อจากปัจจัยฝั่งอุปสงค์ (Demand Pull)

ในอีกกรณีหนึ่ง หากความต้องการสินค้าและบริการ A เท่าเดิม แต่การผลิตสินค้าและบริการ A ลดลง ราคาของสินค้าและบริการ A ก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกเหตุการณ์เช่นนี้ที่อุปทานขาดแคลน (Supply Shortage) ว่า การเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อจากปัจจัยอุปทาน (Cost Push) 

ซึ่งแต่ละประเทศทั่วโลกที่มีการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ย่อมประสบกับภาวะเงินเฟ้อโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ขึ้นกับว่าจะในระดับสูง-ต่ำ ก็เพียงเท่านั้น

[ ภาวะเงินเฟ้อไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป ]

แต่การที่สินค้าและบริการปรับตัวขึ้นจากเงินเฟ้อ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป หากตัวเลขของเงินเฟ้ออยู่ในระดับ 2-3% ซึ่งเป็นเป้าของธนาคารกลางทั่วโลกที่มองว่าเหมาะสม ก็หมายความ เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ มีการขยายตัวอย่างเหมาะสม

เนื่องจากการที่สินค้าหรือบริการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ย่อมสร้างแรงจูงใจในการแข่งขันของภาคธุรกิจ รวมถึงการสร้างการเติบโต ในขณะที่ฝั่งของลูกจ้าง ก็จะเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน หากค่าจ้างมีการปรับตัวสูงขึ้น 

แต่หากการปรับตัวของเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงจนเกินไป ย่อมหมายถึง สินค้าและบริการมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงจนเกินไป ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนในการใช้ชีวิตของประชาชนในประเทศ

ดังเช่นที่เราเห็นในปี 2565 ที่ราคาอาหาร ค่าเดินทาง น้ำมัน และค่าบริการต่างๆ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลก จนทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น

[ เงินเฟ้อกระทบชีวิตเรายังไงบ้าง ]

โดยผลกระทบจากเงินเฟ้อนั้น จะออกมาในรูปแบบของลูกโซ่ หลังจากที่ราคาของต้นทุนการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งน้ำมัน แก๊ส ไฟฟ้า ฯลฯ ธุรกิจบางประเภทที่สามารถส่งต่อต้นทุนดังกล่าวไปยังผู้บริโภคได้ ก็อาจทำให้กำไรของบริษัทนั้นๆ ทรงตัว หรือปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

แต่ก็ทำให้สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องซื้อมีการปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ประชาชนคนทั่วไปเรียกร้องค่าแรงที่สูงขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้จากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงงานของบริษัทต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย 

จนในบางธุรกิจที่ไม่อาจขึ้นราคาสินค้าและบริการได้ ที่เรียกว่า No Pricing Power หรือ ธุรกิจที่ไม่ทีอำนาจต่อรองจากลูกค้า ก็จะทำให้กำไรปรับตัวลดลง หรือในบางกรณีก็อาจจะขาดทุนจนต้องปิดตัวได้เลย

[ ‘อาหาร-เครื่องดื่ม’ ต้นเหตุเงินเฟ้อไทย ]

หากมามองเงินเฟ้อในประเทศไทย ซึ่งในปี 2565 พุ่งไปแตะระดับ 6.08% โดยโครงสร้างเงินเฟ้อไทยนั้นมาจาก อาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมแอลกอฮอล์) สูงถึง 42% ค่าเดินทาง 23% ค่าที่อยู่อาศัย 22% ความบันเทิง-การศึกษา 4% และอื่นๆ อีก 9% 

ในขณะที่สหรัฐ เงินเฟ้อในปี 2565 พุ่งขึ้นแตะที่ระดับ 7.1% โดยมีโครงสร้างเงินเฟ้อมาจาก ค่าที่พักอาศัย 42% ค่าเดินทาง 18% ค่าอาหาร 14% ความบันเทิง-การศึกษา 11% และอื่นๆ อีก 14.5%

จะเห็นได้ว่า โครงสร้างเงินเฟ้อที่ต่างกันของคนในประเทศไทยและสหรัฐนั้น คิดมาตามสัดส่วนค่าใช้จ่ายของคนในประเทศที่ต่างกัน ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อออกมาต่างกัน

ในปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจของหลายอุตสาหกรรม มีการปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจัยสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาที่พักอาศัยและค่าเดินทาง ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของเงินเฟ้อสหรัฐต้องปรับตัวสูงขึ้น

ในขณะที่ประเทศไทย โครงสร้างหลักของเงินเฟ้อมาจากค่าอาหารและค่าเดินทาง ซึ่งก็มีการปรับตัวขึ้นสูงเช่นเดียวกัน

[ เงินเฟ้อสหรัฐ ทำไมคนอื่นเดือดร้อน ]

แล้วทำไมการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อสหรัฐถึงส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ทำไมหลายคนถึงต้องสนใจข่าวเงินเฟ้อของสหรัฐ

คำตอบก็อยู่ที่ว่า เศรษฐกิจโลกจนถึงตอนนี้ กำลังทำงานอยู่บนระบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งหมายความว่า ระบบปัจจัยการผลิตของโลกมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจของโลกอย่างสหรัฐ ที่ทั้งเป็นผู้นำเข้าหลักของโลก เผชิญกับภาวะเงินเฟ้อจนเศรษฐกิจถดถอย ก็ย่อมทำให้กำลังการบริโภคของโลกลดลง

ขณะเดียวกัน ประเทศส่งออกที่มีคู่ค้าหลักเป็นสหรัฐ ก็จะมีปริมาณการส่งออกที่ลดลง ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ลดลงตามไปด้วย

ยังไม่รวมถึง ปัจจัยการผลิตของบริษัทต่างๆ ของสหรัฐ ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ที่หากเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอย ก็ย่อมอาจส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงานลง

ดังที่เห็นในช่วงปี 2565 จนถึงปัจจุบันว่าบริษัทชั้นนำของโลก อย่าง Google, Meta, Amazon และอื่นๆ อีกมากมาย มีการลดจำนวนพนักงานทั่วโลกเป็นประวัติการณ์ ก็ย่อมทำให้เกิดภาวะว่างงานตามมาด้วยอีกเช่นกัน

ที่มา:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า