SHARE

คัดลอกแล้ว

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้แจงกระแส Credit Suisse ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนไทยหลายแห่ง เป็นเพียง Custodian Bank ไม่ถูกกระทบจากปัญหาบริษัทแม่ล้ม

วานนี้ (15 มี.ค. 2565) ราคาหุ้นของ Credit Suisse หนึ่งในธนาคารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปรับตัวลง 97% จากจุดสูงสุด 84.19 ฟรังก์สวิส ลงมาทำจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.70 ฟรังก์สวิส

หลังผู้ถือหุ้นใหญ่ ธนาคารแห่งชาติซาอุดี (Saudi National Bank) ปฏิเสธการเพิ่มทุน และผลประกอบการของธนาคารที่ขาดทุนต่อเนื่อง 2 ปี

ซึ่งภายหลังมีการรายงานข่าวออกมา นักลงทุนในตลาดหุ้นไทย ได้รวบรวมบริษัทจดทะเบียนที่มีชื่อของ Credit Suisse เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อตรวจสอบจากข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์ พบว่า

  • บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) 21.85%
  • บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) 8.23%
  • บมจ.ทีเอ็มที สตีล (TMT) 5.40%
  • บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น (SAWAD) 4.61%
  • บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) 3.60%
  • บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) 3.29%

และยังมีตัวอื่นๆ อีกมากมายที่มีชื่อของ Credit Suisse เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีสัดส่วนตั้งแต่ 0.70-2.47%

‘ภากร ปีตธวัชชัย’ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ชี้แจงว่า ที่เห็น Credit Suisse เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนไทยหลายแห่ง ที่จริงแล้วเป็นบริการผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian Service) ไม่ใช่ธนาคาร Credit Suisse

Custodian Service เป็นการให้บริการของ Credit Suisse ในการเป็นธนาคารผู้ดูแลรับฝากทรัพย์สิน (Custodian Bank) ธนาคารที่เป็นลูกค้า สถาบันต่างประเทศ หรือนักลงทุนทั่วโลก สามารถเอาหุ้นที่ซื้อลงทุนมาฝากเก็บไว้กับ Custodian Bank

ซึ่ง Custodian Bank มีกรรมวิธีการทำงานที่รอบคอบ ละเอียด และปลอดภัยมาก เพราะฉะนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Credit Suisse จะไม่กระทบกับการให้บริการของ Custodian Bank

‘ดังนั้น อยากจะเรียนว่า ไม่ต้องกังวลตรงนี้ เพราะการมีชื่อ Credit Suisse ถือ เป็นการถือหุ้นโดย Custodian Bank ของ Credit Suisse ซึ่งเจ้าของจริงคือนักลงทุนที่ใช้บริการ’

นอกจากนี้ Custodian Bank แต่ละแห่ง จะมีวิธีการทำงานที่เรียกว่า Ringfencing ไม่ว่าบริษัทแม่จะอยู่หรือไม่ แต่ผู้ถือหุ้นยังเป็นนักลงทุนที่เปิดบัญชี Custodian ไว้กับ Custodian Bank นั้นๆ ไม่มีความเสี่ยง

ดังนั้น ไม่ว่า Credit Suisse จะให้หรือไม่ให้บริการ ก็ไม่มีความเสี่ยงเลยกับ Custodian Bank ของ Credit Suisse ที่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย

‘เวลาเราเห็นชื่อ Citibank, Standard Chartered, HSBC Bank, Credit Suisse ฯลฯ คือคนที่ให้บริการ Custodian เราจึงเห็นชื่อ 10 ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นธนาคารพวกนี้ แต่แท้จริงแล้วมันคือ Custodian Bank ของธนาคารพวกนี้’

ล่าสุด SAWAD ชี้แจงข้อมูลว่า สำหรับ Credit Suisse AG ที่เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 7 ของบริษัท (ถือหุ้น 4.61%) เป็น Custodian ดูแลหุ้นภายใต้การครอบครองของ ‘ธิดา แก้วบุตตา’ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์องค์กรของบริษัทฯ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความกังวลต่อฐานะการเงินของ Credit Suisse ที่เป็นประเด็นลบในช่วงนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า