SHARE

คัดลอกแล้ว

คิดว่าสังคมคุยกันยากเกินไปไหม? เราต้องการพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการแลกเปลี่ยนกับคนที่เห็นต่างหรือเปล่า? ปีนี้ Thailand Talks กลับมาอีกครั้งเพื่อสร้างพื้นที่ที่จะชักชวนให้คุณได้พบกับคนที่คิดต่างและนั่งลงแลกเปลี่ยนกัน เพื่อสร้างการถกเถียงที่มีคุณภาพและสังเคราะห์ทางออกให้สังคม 

Thailand Talks ได้รับแรงบันดาลใจมากจาก My Country Talks คือกิจกรรมที่จัดขึ้นในหลากหลายทวีปทั่วโลก จุดเริ่มต้นจากกิจกรรมเชิญคนเห็นต่างมาพูดคุยในเยอรมนี ขยายเป็นการพูดคุยระดับภูมิภาคยุโรป ก่อนกระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก 

สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัด Thailand Talks ครั้งแรกในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2021 ผู้ร่วมโครงการส่วนมากสะท้อนว่าการได้พูดคุยกับคนที่ไม่รู้จัก ที่ตอบคำถามต่างกัน ทำให้เปิดใจ รับฟัง เคารพความต่าง และได้เข้าใจมุมมองที่ต่างไปเรา ขณะเดียวกันผู้เข้าร่วมบางส่วนสะท้อนว่าจริงๆ แล้วพวกเขาพบความ “เหมือน” มากกว่าที่จะพบความ “ต่าง” ในการพูดคุย

กิจกรรมนี้กำลังจะมีครั้งที่ 2 ที่รอคุณเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน ในวันที่ 24 กันยายน 2565 ทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์

วิธีการเข้าร่วมเริ่มง่าย ๆ ด้วยการตอบเซ็ตคำถามด้านล่างนี้และลงทะเบียน จากนั้นยืนยันการสมัครผ่านทางอีเมล และรหัส OTP ที่ส่งมาทาง SMS ผู้สมัครจะทราบผลการจับคู่ หลังจากระบบปิดการรับสมัครแล้ว ผู้สมัครต้องยืนยันการพบคู่ และนัดหมายกับคู่ ด้วยตนเอง เพื่อพบกัน ในวันเสาร์ ที่ 24 กันยายน 2565 เวลา 13.00 น. – 16.30 น. ณ Siamscape ชั้น 9 (รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานี สยาม) หรือในสถานที่สาธารณะที่ทั้งคู่สะดวก นอกจากพื้นที่ในกรุงเทพแล้ว Thailand Talks ยังเปิดพื้นที่การพูดคุยทั่วไทย โดยเชิญภาคีในพื้นที่ต่าง ๆ เข้าร่วมสนับสนุนพื้นที่พูดคุย ในวันที่ 24 กันยายน 2565 เช่น Homeroom-อาณาจักรพิทักษ์ความสุข จังหวัดอ่างทอง ร้านสมจริงบุ๊ค จังหวัดขอนแก่น ร้าน Conversation จังหวัดระยอง เป็นต้น


กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยมูลนิธิฟรีดริชเนามัน เพื่อเสรีภาพ ประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายสื่อมวลชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนเห็นต่างได้ร่วมพูดคุย รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ  

การพูดคุยกับคนแปลกหน้า ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อาจเป็นสิ่งที่เราตั้งคำถามว่าจะเป็นไปได้จริงหรือ และการพูดคุยจะให้อะไรกับผู้เข้าร่วมและสังคม โครงการ Thailand Talks จึงเปิดการอบรมออนไลน์  (Online Public Lecutre) หัวข้อ พฤติกรรม ความขัดแย้ง และเศรษฐศาสตร์ โดย ผศ.ดร. ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 6 กันยายน 2565 และหัวข้อ ฟังกันให้ได้ยิน : เหตุผลที่เราต้องฟังกัน โดย ณัฐฬส วังวิญญู และ ชาญชัย ชัยสุโกศล ในวันที่ 15 กันยายน 2565 เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการพูดคุยกับคนแปลกหน้า ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กันยายน 2565 ทั้งนี้ ผู้สมัครสามารถเลือกเข้าชมการอบรมออนไลน์ได้ทาง Facebook : Thailand Talks และตามสื่อของภาคีสื่อตามวันที่สะดวก

นอกจาก workpointTODAY แล้ว เครือข่ายสื่ออื่น ๆ ที่เข้าร่วมได้แก่ The Active, Voice Online, The MATTER, Modernist, de/code, Manager Online, ไทยรัฐพลัส และ ประชาไท รวมถึงติดตามโครงการผ่านเว็บไซต์ของภาคีเครือข่าย อาทิ มติชน, Tellscore, เทใจ, มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ (ม.คศน.) (Foundation for Leadership Development Network for Health), Centre for Humanitarian Dialogue (HD) 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า