Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในภาวะวิกฤตโควิด-19​ บุคลากรทางการแพทย์เป็นบุคคลสำคัญที่ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้รอดพ้นการติดเชื้อ​ ล่าสุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิดตัวนวัตกรรม Tham-Robot หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ใน รพ.สนามธรรมศาสตร์ ลดเสี่ยงสัมผัสผู้ป่วย COVID-19

ภายหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตถูกจัดเตรียมให้เป็นโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทำให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้คิดค้นเข็นอัจฉริยะส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้สำเร็จ และได้ทำการเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อวัตกรรม Tham-Robot : หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการรักษาถึงมือผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ลดความเสี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรงของบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้หลักการ Social Distancing ด้วยการกำหนดทิศทางรถเข็นด้วยรีโมทคอนโทรลจากห้องทำงาน โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังห้องพักของผู้ป่วย ทั้งนี้ เร่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งาน และขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่นที่ประสงค์ใช้งานภายในโรงพยาบาลในอนาคต

รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อทำการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยที่ในกระบวนการรักษานั้น มีความเสี่ยงในการสัมผัสผู้ป่วย ดังนั้น คณะทำงาน นำโดย นายวิกร ธนรัตฉัตร ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และนายพรหมสุรินท์ พุทธรรมวงศ์ นักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ จึงร่วมกันพัฒนา “Tham-Robot : หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์” รถเข็นอัจฉริยะเพื่อการจัดส่งยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ตัวแรก ที่จำเป็นต่อการรักษาถึงมือผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งเบาภาระความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ หรือเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนา 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่การก่อตั้งโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงโดยเร็วที่สุด

สำหรับ Tham-Robot ทำงานโดยใช้อุปกรณ์พิเศษติดตั้งที่บริเวณใต้รถเข็น เพื่อกำหนดทิศทางในการเคลื่อนที่ สำหรับการควบคุมการทำงานนั้น สามารถทำโดยใช้รีโมทคอนโทรล (Remote Control) แบบไร้ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ สามารถควบคุมในห้องทำงานได้ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังห้องพักของผู้ป่วย ทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น สำหรับกิจกรรมที่คาดว่าสามารถใช้งาน Tham-Robot ได้แทนการเดินทางไปยังห้องพักผู้ป่วย อาทิ การบริการส่งยาระหว่างวัน การบริการส่งอาหาร รวมทั้งการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระ โดยที่สามารถคอนโทรลให้ Tham-Robot ปฏิบัติงานในส่วนนี้แทนบุคลากรทางการแพทย์ได้ นอกจากการทำงานภายในอาคารแล้ว จากการทดลองยังพบว่า Tham-Robot สามารถทำงานได้บนพื้นผิวถนนภายนอกอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Tham-Robot : หุ่นยนต์จัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตัวต้นแบบแรกที่ได้นำไปใช้จริงในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เรียบร้อยแล้ว พร้อมเร่งผลิตเพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งาน และขยายผลไปยังโรงพยาบาลอื่นที่ประสงค์ใช้งานภายในโรงพยาบาลอีกด้วย” รศ.ดร.ธีร กล่าวทิ้งท้าย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า