SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปประเด็นสำคัญวงเสวนาการเมืองก่อนการชุมนุมใหญ่ 19 ก.ย. ‘ธนาธร’ ยืนยัน พลังประชาชนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้มากกว่ากลไกรัฐสภา ขณะที่ ‘อภิสิทธิ์’ แนะผู้มีอำนาจต้องยอมรับเสียงประชาชน

วันที่ 18 ก.ย. 2563 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ หัวข้อ “ประเทศไทยในทศวรรษหน้า” มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี, นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แกนนำคณะก้าวหน้า อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โดยมี ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

ช่วงหนึ่ง นายธนาธร ได้กล่าวว่า เมื่อพูดถึงความฝันที่อยากขึ้นในประเทศนี้ ตนกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคนชังชาติ ทั้งที่เชื่อว่าสิ่งที่ตนพูดไม่ใช่ความฝันของตนคนเดียว แต่เป็นความฝันของคนอีกหลายล้านคนในประเทศนี้ และเชื่อว่า เรามีศักยภาพที่จะพาประเทศไทยจากจุดนี้ไปถึงในอีก 10 ปีข้างหน้า ตนมั่นใจเพราะจากการมาทำงานการเมือง 2 ปีที่ผ่านมา ที่ได้มีโอกาสเข้าไปนั่งทำงานในฐานะกรรมาธิการงบประมาณ ถ้าเราจัดสรรงบประมาณใหม่ เรามีทุกศักยภาพที่จะพาประเทศไทยไปสู่จุดนั้นได้

แต่จะไปถึงจุดนั้นไม่ได้ ถ้าไม่แก้โจทย์ ไม่แก้ปัญหาทางการเมือง 14 ปี จากเดือนกันยายนปี 2549 ดังนั้น วันที่ 19 ก.ย. นี้ คือโอกาสที่จะหันกลับไปมองว่า ทำอะไรกันมากบ้าง เพราะทุกฝ่ายมีส่วนทำให้สังคมมาถึงทางตันตรงนี้ และมันไม่สายเกินไปที่จะมาตั้งต้นกันใหม่ เพื่อให้ 10 ปีไม่เป็นเหมือน 14 ปีที่ผ่านมา ประตูความเป็นไปได้กำลังถูกปิดและเปิดกว่าในเวลาเดียวกัน

ซึ่งขั้นแรก ต้องหยุดระบอบประยุทธ์ ในรูปรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อจะเปิดประตูสู่อนาคตที่ดีกว่านี้ แต่อย่าเข้าใจผิดว่า ถ้าแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะเป็นชัยชนะแล้วจะจบ เพราะต้องทำอีกเยอะเพื่อไม่ให้ย้อนประวัติศาสตร์ 88 ปี ที่มีนายกรัฐมนตรี 29 คน แต่มีเพียงคนเดียวที่มาจากการเลือกตั้งและอยู่ครบเทอม 4 ปี คือ นายทักษิณ ชินวัตร สิ่งที่ต้องทำต่อ คือปฏิรูประบบราชการ กองทัพ กระบวนการยุติธรรม ยกเลิกการผูกขาดระบบเศรษฐกิจ และวันนี้จำเป็นต้องพูดการปฏิรูปสถาบัน

นายธนาธร ระบุ หวังว่าจะเลี่ยงความรุนแรงได้ ซึ่งคนมองว่าจะเลี่ยง คือ การไปชุมนุมให้มากที่สุด เพราะหวังว่าผู้มีอำนาจจะกลับมาพูดคุยกัน เปิดโต๊ะเปิดใจ กำหนดกติกาที่สังคมจะอยู่ได้อย่างสันติ อย่างไรก็ตาม นายธนาธร บอกด้วยว่า ไม่เหลือความศรัทธาในสภาปัจจุบันที่จะพาสังคมไทยไปข้างหน้า พลังเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ที่รัฐสภามี แต่การส่งเสียงประชาชนว่าจะไม่ทน

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่คุณธนาธรพูดว่าในที่สุดพลังของประชาชนต้องถูกแสดงออกมาเพื่อที่จะเป็นตัวเรียกร้องและขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงอันนี้ก็ถูกต้อง “ถ้าประชาชนมีพลังมาก แต่ไม่ได้รับการตอบสนองเลยจากผู้มีอำนาจ ซึ่งพยายามที่จะสกัดกั้นการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายมันก็ต้องปะทะกัน นี่เราต้องพูดตามความเป็นจริง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมผมจึงยืนยันว่า มันต้องหาทางให้ผู้มีอำนาจเขาพร้อมที่จะมาพูดคุยในเรื่องเหล่านี้ เพราะผมก็ยืนยันมองเห็นว่า ถ้าเขาไม่ทำ สุดท้ายมันก็จะปะทะกัน”

แต่ขณะเดียวกัน ตนอยากฝากไปถึงคนจะแสดงพลัง ไม่ติดกับดักความเกลียดชัง แสวงหาแนวร่วมมากกว่าผลัก แม้เรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งทางกฎหมายไม่ได้มีปัญหาอะไรที่จะพูดคุยกัน เพราะช่วงที่ตนเป็น นายกฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่ในการใช้กฎหมาย มาตรา 112 สามารถกรองหลายคดีได้ ดังนั้นการจะหยิบเรื่องละเอียดอ่อน สถาบัน หรือองค์กร ผู้หยิบเรื่องควรหลีกเลี่ยงการถูกตีความ และผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ตนมีความหวังว่า ประชาชนที่ตื่นรู้จะมีส่วนสำคัญให้ผู้มีอำนาจยอมรับว่าต้องเปลี่ยนแปลง ซึ่งค่อนข้างแคบในสภาวะปัจจุบัน

นายอภิสิทธิ์ ระบุว่า ถ้าหวังให้มีการเปลี่ยนเปลี่ยนตามขั้นตอน ก็ต้องพึ่งรัฐสภา แต่วันนี้ตนยังไม่เห็นการแสดงเจตนาที่แรงกล้าจากฝ่ายบริหาร หรือเสียงส่วนใหญ่ในสภา น่าเป็นห่วงที่สุด 5-6 เดือนก่อนหน้านี้ ถ้าสมมุติว่านายกฯ ประกาศว่า จะแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับ บรรยากาศบ้านเมืองก็จะไม่เป็นอย่างนี้ แต่ทุกวันนี้การเสนอร่างต่างๆ ก็ยังมีข้อสงสัยมากมาย แต่ตนมองว่าอาจจะยังไม่สาย ยังพอมีทางออก

ที่มา : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า