SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความคิดเห็น การเพิกถอนพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ ออกจาการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน-12 กรกฎาคม 2567

โดยสอบถาม 7 ประเด็นดังนี้

1. ท่านเห็นชอบการใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขต ปี พ.ศ. 2543 ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 (ONE MAP) เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน หรือไม่ อย่างไร

2. เมื่อปรับเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็น ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะสามารถแก้ไขปัญหา ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน หรือไม่ อย่างไร

3. มั่นใจหรือไม่ว่าราษฎรที่ได้รับประโยชน์ในพื้นที่เป็นเกษตรกรที่อยู่อาศัยทำกินในพื้นที่มาดั้งเดิม และจะสามารถควบคุมดูแลไม่ให้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือไปอยู่ในมือของนายทุน

4. การใช้แนวเขตเมื่อปี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า มาใช้เป็นแนวเขตของอุทยานแห่งชาติทับลาน ขัดต่อวัตถุประสงค์เริ่มแรกของการสำรวจจัดทำแนวเขตเมื่อปี พ.ศ. 2543 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 หรือไม่

5. จะเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์แห่งอื่นๆ อีกหรือไม่ อย่างไร ในเมื่อพื้นที่อื่นๆ ก็มีราษฎรที่อ้างว่าขาดแคลนที่ดินทำกิน และมีสิทธิ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ เพราะเป็นประชาชนคนไทยเช่นกัน

6. เป็นการขัดต่อนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่กำหนดให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ หรือไม่ อย่างไร

7. จะส่งผลต่อสถานภาพการเป็นพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติของกลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ จากการถูกลดคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV) ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโก (UNESCO) หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทาง มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มีข้อกังวล โดยระบุไว้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 ว่า “การจัดการของภาครัฐในลักษณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อแนวการเชื่อมต่อระบบนิเวศของสัตว์ป่า และเพิ่มความรุนแรงความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น”

ด้าน เพจเฟซบุ๊ก ‘อุทยานแห่งชาติทับลาน – Thap Lan National Park’ โพสต์อีกครั้งในวันนี้ (8 กรกฎาคม 2567) ระบุว่า

“การแก้ไขปัญหาที่ดินเป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาอย่างยาวนาน ในการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติทับลาน จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้สงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน”

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ https://docs.google.com/…/1FAIpQLSdOxZiTKKlqQF…/viewform

[ สรุปที่มาที่ไป ป่าทับลาน จะโดนเฉือน? ]

หน่วยงานราชการในบ้านเรา ถือ “แผนที่” คนละแผนที่ กรณีนี้คือ ส.ป.ก. หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 หน่วยงานนี้ถือแผนที่คนละฉบับ แต่มีพื้นที่ที่เป็นจุดทับซ้อนกัน

พื้นที่จุดเดียวกัน ส.ป.ก. บอกว่า เป็นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน แต่กรมอุทยานฯ บอกว่า เป็นที่อุทยานฯ ชาวบ้านจะเข้าไปทำมาหากินตรงนี้ได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ปัญหาถกเถียงกันมานานหลายปีแล้ว จนกระทั่งในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ให้จัดทำโครงการ ONE MAP “หนึ่งพื้นที่ หนึ่งหน่วยงานรับผิดชอบ” (One Land One Law) เพื่อทำให้การบริหารจัดการที่ดินของรัฐมีเอกภาพ

แต่ทว่าหลายคนกังวลใจว่า ONE MAP  จะทำได้ตามหลักการหรือไม่ จะเอื้อประโยชน์ให้นายทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่

ท้ายที่สุดแล้วเรื่องนี้จะหาทางออกอย่างไร เพราะดูแล้วต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์อย่างแน่นอน

– อาจจะเป็นชาวบ้านที่ต้องเสียที่ดินทำกิน

– อาจจะเป็นสัตว์ป่าต้องเสียถิ่นที่อยู่อาศัย

– หรืออาจจะเป็นประชาชนที่ต้องเสียผืนป่าไป

ตลอดทั้งวันนี้ โซเชียลมีเดียจึงพากันติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน กันอย่างตื่นตัว เพื่อหวังว่า พลังนี้จะกระตุ้นให้การจัดการเรื่องนี้ทำอย่างถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

ขอบคุณภาพ : เพจเฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติทับลาน – Thap Lan National Park

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า