SHARE

คัดลอกแล้ว

เกือบตลอดพระชนม์ชีพของพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองแห่งสหราชอาณาจักร พระองค์ทรงถูกสายตาของคนทั้งโลกจับจ้อง เรื่องราวชีวิตของพระองค์รวมถึงตัวพระองค์เองได้ถูกนำไปดัดแปลงเป็นตัวละครและผลงานมากมายทั้งซีรีส์ ภาพยนตร์ไปจนถึงละครเวที สวมบทบาทโดยนักแสงชั้นเยี่ยมนับไม่ถ้วน แต่ผลงานที่หลายคนคงนึกถึงเป็นชื่อแรก ๆ เมื่อกล่าวถึงผลงานที่ดัดแปลงจากชีวิตของควีนอลิซาเบธน่าจะเป็น The Crown ซีรีส์จาก Netflix ที่วาดภาพให้ผู้คนเข้าใจชีวิตของพระราชินี น้ำหนักและภาระหน้าที่ซึ่งมาพร้อมกับมงกฏที่ทรงสวม รวมไปถึงเรื่องราวส่วนพระองค์

(FILES) In this file photo taken on June 26, 2015 Britain’s Queen Elizabeth II waves to the crowd as she walks across the Pariser Platz near Berlin’s landmark Brandenburg Gate on her way to leave Berlin. – Queen Elizabeth II, the longest-serving monarch in British history and an icon instantly recognisable to billions of people around the world, has died aged 96, Buckingham Palace said on September 8, 2022. Her eldest son, Charles, 73, succeeds as king immediately, according to centuries of protocol, beginning a new, less certain chapter for the royal family after the queen’s record-breaking 70-year reign. (Photo by John MACDOUGALL / AFP)

หากใครเคยได้ดู The Crown ไม่ว่าจะซีซั่นไหนนอกจาก ความสนุกจากการได้ดูการก้าวข้ามผ่านปัญหาของตัวละคร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากในวังแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้ชมจะได้เห็นคือบทบาทของพระองค์และราชวงศ์ที่อยู่เคียงคู่ไปกับการเมือง รวมไปถึงการต่อสู้หรือโอนอ่อนให้กับกระแสคำวิจารณ์​ การตามค่านิยมของอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่ยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสของกาลเวลา เมื่อพระองค์ครองราชย์ในยุคที่ สำหรับอังกฤษ สถาบันกษัตริย์ไม่อาจดำรงอยู่ได้เพียงเพราะว่าเป็นสถาบันเก่าแก่ที่คงอยู่มานานอีกต่อไป และบทความนี้จะพาไปย้อนดูฉากจาก The Crown ​ที่อาจจะสะท้อนให้เห็นว่าพระราชินีเอลิซาเบธ พาราชวงศ์อังฤษผ่านพ้นวิกฤติได้อย่างไร

ก่อนจะเข้าถึงเนื้อหาในเรื่องหลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าเหตุการณ์ที่โลดแล่นอยู่บทหน้าจอนั้นสมจริงขนาดไหน และ ปีเตอร์ มอร์แกน ครีเอเตอร์และผู้เขียนบทของ The Crown เขาเอาข้อมูลเจาะลึกเหล่านี้มาจากที่ไหนกัน บทความจาก Times ระบุว่าทีมค้นคว้าได้ขอคำปรึกษาจากนักประวัติศาสร์ ค้นข้อมูลจากห้องสมุด British Library ศึกษาจากเทปข่าว หนังสือพิมพ์ หนังสืออัตชีวะประวัติทั้งในรูปแบบนิยายและสารดคี เพื่อให้ซีรีส์ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด

บางทีพวกเขาจะพบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าทึ่งในชีวประวัติของตัวละครรอบข้างตัวละครหลักและนำมาใส่ไว้ในซีรีส์ แม้หลายเรื่องจะดูเป็นรายละเอียดที่ดูเกินจริงราวกับละครก็ตาม ส่วนเรื่องการทำให้โปรโตคอล ท่าทาง และ การติดยศต่าง ๆ ในเรื่องสมจริงพวกเขามีที่ปรึกษาอย่าง พันตรีเดวิด แรนกิน-ฮันต์ ที่ทำงานในพระราชวังบัคกิงแฮมมานานกว่า 33 ปี ที่คอยชี้แนะด้วยความตั้งใจที่จะให้ The Crown สะท้อนภาพของราชวงศ์อย่างสมจริงที่สุด ต่างกับละครพีเรียดอื่น ๆ ที่เขาเคยดูมา

อย่างไรก็ตามมีอยู่หลายครั้งที่ซีรีส์ที่มีส่วนผสมของจินตนาการและข้อเท็จจริงนั้นโน้มเอียงไปใกล้ความเป็นจิตนาการมากกว่า ด้วยการบิดไทม์ไลน์และผสมหลายเหตุการณ์เข้าด้วยกันเพื่อสร้างฉากที่สนุกน่าชมและสื่อความหมายที่ลึกซึ้งบนจอ และหลายครั้งก็มีบทความที่ระบุว่ามีคนที่ออกมายืนยันว่าบางฉากในซีรีส์นั้นเป็นการเสริมเติมแต่งหรือสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อนอรรถรส เพราะโดยเฉพาะกับฉากที่แสดงถึงชีวิตส่วนตัวของสมาชิกราชวงศ์แทบจะไม่มีอะไรที่ยืนยันได้เลยว่าพวกเขาคุยและทำอะไรกันหลังประตูวัง

โรเบิร์ต เลซีย์ ที่ปรึกษาด้านประวัติศาสตร์ของ The Crown ได้ให้สัมภาษณ์กับ Town&Country ไว้ว่า “นี่ไม่ใช่สารคดีประวัติศาสตร์ เราไม่ได้กำลังทำราวกับว่านี่เป็นบันทึกตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ในช่วงปีเหล่านั้น” แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ยืนยันว่าทุกอย่างที่อยู่ในซีรีส์นั้นสมมุติขึ้นมาบนพื้นฐานของความเป็นจริง เพราะถึงแม้บางฉากหรือบทสนนทนาบางช่วงนั้นถูกสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีความจริงอยู่เลยแม้แต่น้อย ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับภาพของการนำพาราชวงศ์ผ่านวิกฤตต่าง ๆ ของพระราชินีเอลิซาเบธ

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์สามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงคือการแสดงตัวเป็นกลาง และยึดถือรัฐธรรมมนูญอย่างเคร่งครัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตลอดหลายซีซั่นของ The Crown เราจะได้เห็นเหตุการณ์ที่ชวนให้พระองค์ทำอะไรที่ ‘ขัดต่อรัฐธรรมนูญ’ (unconstituational) อยู่บ่อยครั้งมาก แต่สิ่งหนึ่งที่พระองค์ทรงยึดถือมาตลอดรัชสมัยคือการรักษาจุดยืนของการ ‘สนับสนุนนายกรัฐมนตรีทุกคนไม่ว่าจุดยืนของเขาจะเป็นอย่างไร’ และในซีซั่น 3 ตอนที่ 5: Coup ที่ย่อมาจาก coup d’etat หรือ รัฐประหาร เราก็ได้เห็นความหนักแน่นที่จะไม่ก้าวก่ายเรื่องการเมืองของพระองค์ โดยในเรื่องควีนเอลิซาเบธกล่าวกับลอร์ดเมาท์แบตเทนผู้กำลังเสนอโดยนัยให้มีการรัฐประหารและถามว่าทำไมพระองค์จึงเลือกจะปกป้อง ฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน

“เรากำลังปกป้องตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรากำลังปกป้องรัฐธรรมมนูญ เรากำลังปกป้องประชาธิปไตย […] พวกเราจะต้องไม่ก้าวก่ายอะไรทั้งนั้น แค่รอเวลาไป รอให้ประชาชนที่เลือกเขาเข้ามา ลงคะแนนเลือกให้เขาออกจากตำแหน่งไป ถ้าประชาชนเลือกจะทำเช่นนั้น”

ถึงแม้จะมีบทความจากหลายแหล่งรวมถึง Radio Times ที่ระบุว่าว่าลอร์ดเมาท์แบตเตนปฏิเสธไม่เข้าร่วมการรัฐประหารเมื่อถูกชักชวน แต่การที่ตลอดรัชสมัยของพระราชินีเอลิซาเบธนั้นไม่มีการรัฐประหารสักครั้งเดียวก็เป็นข้อยืนยันอย่างดี ว่าอุดมการณ์ของพระองค์ที่ถูกแสดงอยู่ในเรื่องนั้นไม่ได้ไกลจากความเป็นจริงเลย และซีรีส์ก็ได้นำเสนอให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เป็นเรื่องยากที่สุดของการเป็นเจ้า

“การไม่ทำสิ่งใดเลย การไม่พูดอะไรทั้งนั้น นั่นแหละเป็นงานที่ยากที่สุด จำเป็นต้องใช้พลังทั้งหมดที่เรามี การวางเฉยไม่ใช่เรื่องธรรมดา ไม่ใช่ธรรมชาติมนุษย์ ประชาชนจะอยากให้เรายิ้มหรือเห็นด้วย หรือขมวดคิ้วหรือพูดอะไรออกไปเสมอ และทันทีที่เรามีปฏิกิริยา นั่นเท่ากับเราประกาศจุดยืน ประกาศมุมมอง และนั่นเป็นสิ่งเดียวที่ในฐานะสมาชิกของราชวงศ์พวกเราไม่มีสิทธิ์จะทำได้”

ตลอดทุกซีซั่นเราจะได้เห็นปัญหาความขัดแย้งของการที่ของราชวงศ์อังกฤษต้องคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องตามโลกให้ทัน และเหตุการณ์ในซีรีส์ก็สะท้อนให้เห็นว่าการทำให้ตัวกลมกลืนกับค่านิยมที่เปลี่ยนไปของยุคสมัย เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ราชวงศ์อังกฤษอยู่รอดได้จนถึงทุกวันนี้ ไล่มาตั้งแต่การถ่ายทอดสดพิธีบรมราชาภิเศก การจัดงาน Garden Party เพื่อพบประประชาชน รวมถึงสารคดี Royal Family ของ BBC ที่ถูกวิจารณ์ แต่ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่สำเร็จหรือไม่ ทุกอย่างก็สะท้อนความพยายามของราชวงศ์ที่จะทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและรู้สึกว่าได้เข้าถึงประมุขของประเทศมากขึ้น และทำให้สถาบันกษัตริย์ยังมีบทบาทและความสำคัญอยู่ ในซีรีส์นอกจากควีนเอลิซาเบธแล้วผู้ที่มีส่วนในเรื่องนี้อย่างมากคือเจ้าชายฟิลลิป อดีตเจ้าชายแห่งกรีซและเดนมาร์ก ผู้เคยได้เห็นราชวงศ์ล่มสลายลงต่อหน้ามาก่อน ซึ่งความพยายามนี้ก็ยังคงอยู่มาถึงปัจจุบันในชีวิตจริง ที่มีการยอมรับการหย่างร้างมากขึ้น การเข้าร่วมงานพิธีต่าง ๆ ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูน่ารักและทันสมัย รวมถึงแผนการที่จะ ‘slim down’ ราชวงศ์ ที่หมายถึงลดจำนวนคนที่จะทำงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดย Mirror รายงานถึงการลดจำนวนราชวงศ์ วังที่ประทับ รวมถึงค่าใช้จ่ายในพิธีราชาภิเศกที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้การรับฟังคำวิจารณ์ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ราชวงศ์อังกฤษยังคงอยู่ได้ เห็นได้ชัดใน ตอนที่ 5 Marionette จากซีซั่น 2 เมื่อลอร์ดอัลทริงก์แฮมนักหนังสือพิมพ์ได้แสดงความคิดเห็นของเขาที่มีต่อพระราชินีในช่วงเวลาหลังวิกฤตคองสุเอซในปี 1956 ที่ทำให้อังกฤษเสียอิทธิพลที่เคยมีในตะวันออกกลาง และต่อมาในเรื่องเขาได้เข้าไปเสนอแนะสิ่งที่สถาบันกษัตริย์ควรปรับปรุง โดยในซีรีส์เขาได้พูดคุยกับควีนเอลิซาเบธโดยตรง แม้การพบปะนี้จะไม่เคยถูกยืนยันว่าเกิดขึ้นจริงก็ตาม แต่คำแนะนำของเขาก็ได้ถูกนำมาปรับใช้เกือบทุกอย่าง ทั้งการยกเลิกงานบอลเดบูตอง ที่เปิดตัวหญิงสาวจากตระกูลชั้นสูงให้พระราชินีรู้จัก การยอมให้คนที่หย่าร้างได้มีพื้นที่ในราชวงศ์ เปิดตัวเองให้กว้างขึ้นด้วยการถ่ายทอดสาสน์วันคริสมาสต์ ในชีวิตจริง มุมมองของพระราชินีเอลิซาเบธกับการรับฟังคำวิจารณ์นั้นถูกเผยอย่างชัดเจนในปี 1992 ซึ่งพระองค์เองนิยามว่าเป็น ‘annus horriblis’ ที่แปลว่าปีอันเลวร้าย เมื่อเจ้าชายชาร์ลส์และเจ้าหญิงไดอาน่ามีปัญหากัน เจ้าชายแอนดรูว์กับซาร่า เฟอร์กูสันแยกกันอยู่ เจ้าหญิงแอนน์ก็ทรงหย่ากับพระสวามี ปราสาทวินด์เซอร์ไฟไหม้ และความเห็นของประชาชนที่มีต่อราชวงศ์ก็เลวร้าย ถึงกระนั้นพระองค์ก็ทรงย้ำว่าไม่ควรมีสถาบันใดที่ควรอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน

“ไม่อาจมีข้อสงสัยได้เลยว่าคำวิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อบุคคลและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะชน ไม่ควรมี สถาบัน เมือง ระบอบกษัตริย์ หรืออะไรก็ตาม คาดหวังจะเป็นอิสระจากตรวจสอบอย่างละเอียดจากผู้ที่อุทิศการสนับสนุนและความซื่อสัตย์ และยังไม่นับผู้ที่ไม่ทำเช่นนั้นด้วย แต่เราต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมในชาติของเรา และส่วนหนึ่งของคำวิจารณ์ก็จะได้ผลไม่ต่างกัน หากมันถูกเอ่ยออกมาด้วยความนุ่มนวล อารมณ์ขัน และความเห็นอกเห็นใจ”

เหตุการณ์นี้แสดงชัดว่าเสียงของสื่อมวลชนและประชาชนอังกฤษที่ถูกรับฟังนั้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ราชวงศ์อยู่ยืนยาวไปได้ แม้ว่าจะมีคนที่ทำงานอยู่ในสำนักพระราชวังคอยควมคุมข่าวอยู่ แต่ในสังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนสามารถวิจารณ์ใครก็ได้ในของเขตของกฏหมายอย่างเสรี แม้แต่กษัตริย์ก็ยังต้องได้ยินเสียงของประชาชน และในอีก 2 ซีซั่นที่เหลืออยู่ของ The Crown เราอาจจะได้ชมฉากนี้ก็เป็นได้

อย่างสุดท้ายที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้คือการที่พระองค์ได้อุทิศชีวิตให้กับการรับใช้ประชาชนโดยที่มักจะให้หน้าที่มาก่อนเสมอ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกนำเสนออยู่ในทุกซีซั่นตั้งแต่ซีซั่นแรก หลายคนอาจจะจำฉากที่ควีนเอลิซาเบธเปลี่ยนเป็นชุดดำไว้อาลัยเพื่อเตรียมก้าวลงจะเครื่องบินเพื่อเริ่มชีวิตใหม่ในฐานะพระราชินี พร้อมกับถ้อยคำจากพระราชหัตถเลขาของของควีนแมรี่ที่ดังอยู่ว่า

(FILES) In this file photo taken on May 18, 2016 Britain’s Queen Elizabeth II looks on in the House of Lords ahead of the Queen’s Speech at the State Opening of Parliament in London. – Queen Elizabeth II, the longest-serving monarch in British history and an icon instantly recognisable to billions of people around the world, has died aged 96, Buckingham Palace said on September 8, 2022. Her eldest son, Charles, 73, succeeds as king immediately, according to centuries of protocol, beginning a new, less certain chapter for the royal family after the queen’s record-breaking 70-year reign. (Photo by Chris Jackson / POOL / AFP)

“ย่าเห็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ 3 ราชวงศ์ต้องล้มเหลวมาแล้ว เพราะแยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่ไม่ได้ หลานต้องไม่ทำผิดเช่นนั้น ขณะที่ไว้อาลัยพ่อ หลานต้องไว้อาลัยอีกคนด้วย  เอลิซาเบธ เมาท์แบทเตน  เพราะในตอนนี้เธอต้องถูกแทนที่ด้วยคนอีกคน เอลิซาเบธ รีไจนา เอลิซาเบธทั้งสองจะขัดแย้งกันเองเสมอ แต่ความจริงก็คือมงกุฏต้องชนะ ต้องชนะเสมอ”

และไม่ว่าสายตาของผู้คนทั่วโลกจะมองรัชสมัยของพระองค์ว่าอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่ยากจะปฏิเสธคือการที่พระองค์ได้ทรงทำตามพระราชดำรัสที่ทรงได้ให้ไว้ในปี 1947 ว่า “ข้าพเจ้าขอประกาศต่อท่านทุกคนว่าชีวิตของข้าพเจ้านี้ ไม่ว่าจะยืนยาวหรือแสนสั้น ข้าพเจ้าจะขออุทิศเพื่อรับใช้ท่านและรับใช้พระราชวงศ์จักรวรรดินี้ ซึ่งเป็นของพวกเราทุกคน” อย่างไม่บิดพลิ้ว

หลังจากที่พระราชินีเอลิซาเบธสิ้นพระชนม์ในวันที่  8 ที่ผ่านมา The Crown ได้พักการถ่ายทำเพื่อไว้อาลัย ในขณะที่ผู้ชมและประชาชนก็ได้แต่รอดูว่าเรื่องราวอีกสองซีซั่นของ The Crown และราชวงศ์อังกฤษจะเป็นอย่างไรต่อไป ในวันที่เนื้อเพลงชาติอังกฤษที่คุ้นหูจะถูกแทนที่ด้วยเนื้อร้องที่ไม่ได้ใครได้ขับขานมากว่า 70 ปี – ‘God save the King’

อ้างอิง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า