SHARE

คัดลอกแล้ว
  • The Economist ชี้ว่าไทยกำลังเดินรอยตามญี่ปุ่นที่ประสบกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว
  • ในอีก 4 ปีข้างหน้า ไทยจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  • แต่ไทยยังคงมีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นราวๆ 11.7%  

เมื่อ 20 ปีก่อนไทยมีเศรษฐกิจที่ร้อนแรงที่สุดในตลาดเกิดใหม่ เปรียบเสมือนเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย…แต่ข้อความที่บอกว่า “ไทยกำลังเดินตามญี่ปุ่น” ฟังดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องดี แต่ที่จริงแล้ว The Economist นิตยสารด้านเศรษฐกิจการเมืองชื่อดังของอังกฤษ ระบุว่า ไทยกำลังจะเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมเฉกเช่นเดียวกับญี่ปุ่น แต่แตกต่างกันในที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะเผชิญปัญหาที่หนักยิ่งกว่าญี่ปุ่น

สิ่งที่ไทยกำลังจะเผชิญเหมือนญี่ปุ่นนั้น ภายในปี 2020 หรืออีก 4 ปี ข้างหน้า ไทยจะกลายเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศแรกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยจะมีผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปี ขึ้นไปมากกว่า 14% ของประชากรในประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าของจีนเสียอีก

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังลงชะลอตัว การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.7 ภาวะเงินเฟ้อยิ่งน่าเป็นห่วง แต่ไม่ใช่เพราะเงินเฟ้อสูงเกินไป แต่มันต่ำเกินไปจนอาจทำให้ปัญหาเศรษฐกิจผืดเคือง ซึ่งต่ำกว่ากรอบที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ที่ 1-4% โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโตเพียง 1% ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา (คือดัชนีราคาสินค้าทั่วไปยกเว้นราคาอาหารสดและพลังงานเนื่องจากสินค้าพวกนี้มีความผันผวนในระยะสั้น) ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเติบโตเพียง 0.8%  ในเดือนมีนาคม

ปี 2017 การลงทุนภาครัฐหดตัว 1.2% จากปัญหาความล่าช้า โดยเฉพาะการชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงสามประเทศ ได้แก่ ไทย ลาวและจีน ที่รอคอยมาอย่างยาวนาน

ผู้ทำการศึกษาแนะว่า ไทยควรให้ความสำคัญกับโครงสร้างประชากร ควรรีบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีกำลังแรงงานเพียงพอ ซึ่งจะมีจำนวนที่ลดลง กลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต และกล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจมหาภาคของไทยเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเหมือนที่ญี่ปุ่นเคยทำมาก่อน และ ธปท. ก็ยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่เมษายน 2015 ที่ยังคงไว้ที่ 1.5% ซึ่งในที่ประชุม ธปท. ครั้งล่าสุด ก็ยังมีการเสนอให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย

แม้ในมุมมองของสหรัฐฯ นักวิเคราะห์มองว่าเศรษฐกิจไทยอาจเล็กเกินไปในสายตาสหรัฐฯ แต่ไทยอาจมีความกังวลกับการที่สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีตรวจสอบประเทศที่เอาเปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชีย ที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวทั้ง 3 คือ ได้แก่ เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ที่มากกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีขนาดใหญ่ และมีการมีสะสมสำรองเงินระหว่างประเทศไว้มาก

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไทยดูเหมือนกับญี่ปุ่นมากขึ้น คือการต่อต้านผู้อพยพ เมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยลงโทษผู้อพยพผิดกฎหมายที่ส่วนมากอพยพมาจากเวียดนามและพม่า โดยมองว่าผู้อพยพเหล่านี้จะเข้ามาแย่งงานคนไทย ไม่ใช่การเข้ามาเป็นแรงงานทดแทนแรงงานสูงอายุในอนาคต

แต่ไทยยังได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นราวๆ 11.7% ในปี 2017 ซึ่งถือว่าขยายตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความต้องการ (Demand) ในประเทศที่อ่อนแอ

ท้ายที่สุดของบทความนี้ระบุว่า สำหรับประเทศนี้มีการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงชายเพียงหาดอันสวยงาม การท่องเที่ยวกลางคืน และวัฒนธรรมที่ล่อลวงตบตา ถึงแม้ตอนนี้หน่วยงานท่องเที่ยวต่างๆ กำลังพยายามให้นักท่องเที่ยวพบกับรูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ๆ ในประเทศ แต่สำหรับทางเศรษฐศาสตร์แล้วการท่องเที่ยวใหม่ๆ คงจะดูน่าเบื่อไม่น้อย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า