Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ข่าวใหญ่สำหรับวันนี้คือ บอร์ดทวิตเตอร์มีมติขายกิจการให้ อีลอน มัสก์ หลังเขายื่นข้อเสนอซื้อหุ้น ทวิตเตอร์ทั้งหมดเมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมาด้วยมูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท 

ถือเป็นมูลค่าที่น่าจะสูงมากๆ ในบรรดาการซื้อแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ  

ที่สำคัญคือ มัสก์ จะนำทวิตเตอร์ออกจากตลาดหุ้นด้วย ซึ่งยังไม่มีโซเชียลมีเดียรายไหนทำแบบนี้มาก่อน และทวิตเตอร์กำลังทำให้เราเห็นเป็นครั้งแรก

การเข้าซื้อทวิตเตอร์ของอีลอน มัสก์ เป็นเรื่องมหากาพย์และมีการถกเถียงไปต่างๆ นานา ว่า อนาคตของทวิตเตอร์จะเป็นอย่างไร ถ้าอยู่ในมือ อีลอน มัสก์ 

ในบทความนี้ TODAY Bizview จะพาไปทำความเข้าใจถึงจุดยืนของมัสก์ ที่มีต่อทวิตเตอร์ รวมถึงความกังวลว่า การที่มีมัสก์เป็นเจ้าของ อาจไม่ส่งผลดีต่อชุมชนทวิตเตอร์ที่มีถึง 200 ล้านราย 

[ ผ่อนกฎการเซนเซอร์เนื้อหา ]

ในแถลงการณ์แรกๆ เมื่อได้เป็นเจ้าของทวิตเตอร์ มัสก์บอกว่า 

“การแสดงความเห็นโดยเสรี (Free Speech) เป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย และทวิตเตอร์ เป็นจัตุรัสกลางเมืองในรูปแบบดิจิทัล ที่มีการโต้เถียงกันเรื่องสำคัญต่ออนาคตของมนุษยชาติ

ฉันยังต้องการทำให้ ทวิตเตอร์ ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วยคุณสมบัติใหม่ๆ ทำให้อัลกอริทึมเป็นโอเพนซอร์ส เพื่อเพิ่มความไว้วางใจ ปราบปรามสแปม และทำการยืนยันตัวตนให้ถูกต้องสำหรับทุกคน (authenticating all humans)” 

เขายีงทวีตบอกด้วยว่า “เขาหวังว่า แม้แต่ความคิดเห็นที่แย่ที่สุดของเขา จะต้องอยู่ได้บนทวิตเตอร์ เพราะนี่คือสิ่งที่ Free Speech เป็น” 

เพียงเท่านี้เราก็ได้อนาคตทวิตเตอร์ลางๆ แล้วว่า จะเซนเซอร์เนื้อหาน้อยลง 

[ ทวิตเตอร์จะ Toxic มากขึ้นหรือไม่ ]

คำถามคือ ถ้าทวิตเตอร์ผ่อนคลายกฎ ก็น่าจะเป็นเรื่องดีไม่ใช่หรือ เราจะได้แสดงความเห็นบนทวิตเตอร์ได้อย่างไม่มีอะไรมากั้น และน่าจะมีความสุขกว่าการใช้งาน Facebook และ Instagram ที่มีกฎนั่นนี่เต็มไปหมด 

แต่การที่ทวิตเตอร์หันหลังให้การควบคุมเนื้อหา จะกลายเป็นใบเบิกทาง ให้ปัญหาคลาสสิคของโซเชียลมีเดียอย่าง Cyber Bullying, Hate Speech, เหยียดผิว เหยียดเชื้อชาติ ข่าวปลอม

ถ้าปัญหาเหล่านี้กลับมา ทวิตเตอร์ก็จะไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานอีกต่อไป รวมถึงไม่เป็นมิตรกับผู้ลงโฆษณา ซึ่งยังคงเป็นรายได้หลักของแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย 

การที่อีลอน มัสก์ ซื้อทวิตเตอร์สร้างความกังวลให้แก่นักวิเคราะห์ นักการเมืองโดยเฉพาะนักการเมืองสายเสรีนิยม 

ยกตัวอย่างเช่น Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกพรรคเดโมแครต ซึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์ Big Tech ทวีตว่า 

“ดีลนี้เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตยของเรา มหาเศรษฐีอย่างอีลอน มัสก์ เล่นตามกฎเกณฑ์ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ โดยสะสมอำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง” 

ส่วนองค์กรสนับสนุน Free Speech อย่าง The National Association for the Advancement of Colored People ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ อีลอน มัสก์ อย่าทำให้ทวิตเตอร์ กลายเป็น จานเพาะเชื้อสร้างความเกลียดชังที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย

ในทางตรงกันข้าม นักการเมืองฝ่ายขวา ชื่นชมยินดีกับดีลนี้ และยังบอกด้วยว่า ความคิดเห็นของฝ่ายขวาถูกกดทับมานานแล้ว 

[ อนาคตทวิตเตอร์ต่อจากนี้ อะไรๆ ก็ไม่แน่นอน ]

ไม่ใช่แค่สังคมตั้งคำถาม เพราะแม้แต่พนักงานทวิตเตอร์เอง ก็กังวลเรื่องอนาคตหน้าที่การงาน ว่า อีลอน มัสก์ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานมากขนาดไหน จะมีการเลย์ออฟหรือไม่ 

ล่าสุด Parag Agrawal ซีอีโอทวิตเตอร์ บอกกับพนักงานว่า ขณะนี้ยังไม่มีแผนการเลิกจ้างพนักงาน แม้ว่าเขาจะยอมรับว่าบริษัทอยู่ในช่วงเวลาแห่ง “ความไม่แน่นอน” 

ซึงตัวเขาเองก็ยังคงเป็นซีอีโออยู่ จนกว่าดีลการซื้อจะเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่ากินเวลาอีกหลายเดือน และตอนนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนบอร์ดบริษัทอนุมัติเท่านั้น 

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทวิตเตอร์ เพิ่มกฎข้อบังคับแก้ปัญหา Hate Speech ขยายขอบเขตให้ชัดเจนขึ้น แบนคำพูดที่ลดทอนความเป็นมนุษย์จากศาสนา ความทุพพลภาพ อายุ โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะเรื่องโควิด-19 ที่เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดความเกลียดชังต่อเชื้อชาติเอเชีย 

จากข้อมูลล่าสุด ทวิตเตอร์ได้จัดการ 4.8 ล้านบัญชี (ม.ค.-มิ.ย. 2021) ที่เข้าข่าย บอท สแปม และผู้ไม่หวังดีอื่นๆ 

ถ้า อีลอน มัสก์ สามารถเสกอะไรได้ตามใจ จากการเป็นเจ้าของทวิตเตอร์เต็มตัว เราก็จะมองเห็นการผ่อนคลายกฎการควบคุมเนื้อหา และสิ่งที่ตามมาคือ แบรนด์ ผู้ลงโฆษณา จะไม่กล้าลงโฆษณาในทวิตเตอร์อีก 

ที่ผ่านมา ทวิตเตอร์พยายามจะลดการพึ่งพาเม็ดเงินโฆษณา ด้วยการเปิดตัว Twitter Blue ฟีเจอร์พรีเมี่ยมแต่ผู้ใช้งานต้องจ่ายเงินรายเดือน เพื่อเข้าถึงฟังก์ชั่นพิเศษ 

เช่น Bookmark Folders เซฟโพสต์ในรูปแบบโฟลเดอร์, Undo Tweet ตั้งเวลายกเลิกส่งข้อความได้, Reader Mode ให้อ่านเนื้อหายาวๆ บนทวิตเตอร์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องอ่านเป็น thread ยาวๆ เป็นต้น 

ส่วน Jack Dorsey ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์ เห็นแย้งกับข้อกังวลต่างๆ  เขาออกมาทวีตในเชิงเห็นด้วย ที่จะนำ ทวิตเตอร์ออกจากตลาดหุ้นและลดบทบาทการเป็นโมเดลหารายได้จากโฆษณา และยังบอกด้วยว่า เชื่อใจ  อีลอน มัสก์ และเชื่อในภารกิจของเขา 

ชวนอ่าน 

ที่มา : TechCrunch, The Verge, The Guardian, Wired, Business Insider, Blognone 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า