Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าจะพูดถึงรองเท้าผ้าใบสุดอึดถึกทนที่หลายคนเคยใส่โดยเฉพาะในวัยเรียน แบรนด์ระดับตำนานที่หลายคนนึกถึงคงหนีไม่พ้น ‘นันยาง’

แต่เอาเข้าจริงๆ กว่าจะกลายเป็นรองเท้าผ้าใบสุดเก๋าที่อยู่คู่คนไทยมาได้ราว 68 ปี นันยางก็ผ่านร้อนผ่านหนาว ฝ่ามรสุมมาไม่น้อยเลยทีเดียว

เรื่องราวของ ‘นันยาง’ มีที่มาที่ไปอย่างไร TODAY Bizview ชวนไปเปิดตำนานแบรนด์สุดเก๋านี้กัน

จุดเริ่มต้นของนันยางมาจากเด็กหนุ่มชาวจีนวัย 15 ปี ที่ในวันนี้เขามีชื่อว่า “วิชัย ซอโสตถิกุล” เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากจีนแผ่นดินใหญ่ หอบเสื่อผืนหมอนใบสู่สยามในราปี 2460

เริ่มแรกเขาไม่ต่างจากคนจีนส่วนใหญ่ที่เข้ามาอยู่ในไทย คือไปทำงานเป็นลูกจ้าง ค่อยๆ เก็บเงิน จนเขาที่สุดก็สามารถเปิดธุรกิจของตัวเองได้ดังใจหวัง

บริษัทที่เขาเปิดมีชื่อว่า “บริษัท ฮั่วเซ่งจั่น จำกัด” เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป มีออฟฟิศเป็นอาคาร 2 ชั้น แถวสะพานพุทธ

13 ปีจากวันเริ่มต้นธุรกิจ ฮั่วเซ่งจั่นก็เจอกับความท้าทายแรกคือ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้ทำธุรกิจได้ยากลำบากเพราะเศรษฐกิจชะลอตัว มีการทิ้งระเบิดอยู่ตลอดเวลา ทำให้ส่งผลต่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

แต่หลังจากผ่านพ้นมรสุมนี้มาได้ ธุรกิจของเขายังคงมั่นคงและเติบโต จนปี 2491 ก็ตั้งบริษัท วัฒนสินพาณิชย์ จำกัด ย้ายออฟฟิศไปย่านตลาดน้อย

และพัฒนาธุรกิจไปสู่การค้าขายกับต่างประเทศ นำเข้า-ส่งออกสินค้าหลายชนิด และร่วมทุนธุรกิจกับชาวสิงคโปร์

โดยหนึ่งในสินค้าที่นำเข้าจากสิงคโปร์คือ รองเท้าผ้าใบ รุ่น 500 ผ้าสีน้ำตาล พื้นยางสีน้ำตาล ภายใต้ชื่อแบรนด์ “หนำเอี๊ย” ขายในราคาคู่ละ 12 บาท

ด้วยความที่ทนทานต่อการใช้งาน รองเท้าหนำเอี๊ยได้รับการตอบรับดีมาก ทำให้บริษัทเปลี่ยนกลยุทธ์จากขายของหลายอย่าง มาเป็นขายรองเท้าเป็นหลัก

รวมถึงเปลี่ยนชื่อแบรนด์จากการผันเสียงภาษาจีนแต้จิ๋ว มาเป็น “หนันยาง” ในภาษาจีนกลาง ซึ่งฮิตติดปากคนไทยเป็น “นันยาง” นั่นเอง และนี่คือจุดเริ่มต้น “รองเท้าสุดเก๋า” ที่ใครๆ ก็รู้จัก

ต่อมาประเทศไทยมีนโยบายเชิญชวนให้คนไทยใช้ของไทย “วิชัย ซอโสตถิกุล” เลยตัดสินใจซื้อกิจการและกรรมวิธีการผลิตจากสิงคโปร์ แล้วก่อตั้งเป็นบริษัท ผลิตยางนันยาง (ไทย) จำกัด

เขาตั้งโรงงานบนพื้นที่กว่า 4 ไร่ บนถนนเพชรเกษม ย่านภาษีเจริญ นำเข้าบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากสิงคโปร์มา และราว 6 ปีให้หลัง ก็เริ่มผลิตรองเท้าคู่แรก “นันยางตราช้างดาว” ในไทย ประทับตรา Made in Thailand

จากนั้นราว 4-5 ปี นันยางภายใต้วิชัยและภรรยา ก็พัฒนาและปรับกระบวนการผลิต แตกไลน์สินค้าใหม่สู่ “รองเท้าแตะตราช้างดาว” รุ่น 200 มี 2 สีให้เลือกคือ สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ขายคู่ละ 15 บาท และแน่นอนว่ากระแสตอบรับดีเช่นเคย

แล้วผ้าใบพื้นยางสีเขียวที่ใส่เดินไปไหนก็ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าดไปกับทุกพื้นผิว เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?

หลังจากเปิดตัวรองเท้าแตะไปได้เพียง 1 ปี ทายาทรุ่นที่ 2 “เพียรศักดิ์ ซอโสตถิกุล” คัมแบ็กจากอังกฤษ ก็สานต่อกิจการด้วยการต่อยอดพัฒนารองเท้าพื้นสีเขียวขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์นักแบดมินตันโดยเฉพาะ

โดยรุ่นแรกของรองเท้าผ้าใบพื้นเขียวนี้คือ 205-S

ซึ่งด้วยความที่คร่ำหวอดในวงการแบดมินตัน ทำให้เพียรศักดิ์เข้าใจความต้องการของนักกีฬาชนิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง แม้จะสร้างความแปลกใหม่ในเรื่องของสี แต่คุณสมบัติก็ตอบโจทย์ได้อย่างตรงเป้านักกีฬา

หลังจากนั้นกลุ่มลูกค้าก็ขยายวงกว้างมากขึ้น ไปสู่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ นักกีฬาประเภทอื่นๆ การเกษตร อุตสาหกรรม อาชีพรับจ้าง รวมถึงการขนส่ง เรียกได้ว่าแทบจะทุกวงการต้องเคยได้ลองสัมผัส

กระทั่งปี 2515 นันยางก็เล็งเห็นตลาดใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรไทย และแทบจะมีจำนวนคงที่ในทุกๆ ปี ก็คือกลุ่มนักเรียน

นันยางขยายตลาดไปสู่กลุ่มนี้ จนฮิตติดตลาดเรื่อยมา มากไปกว่านั้น รองเท้านันยางยังตอบโจทย์กลุ่มกีฬาตะกร้อด้วย ซึ่งไม่ใช่แค่นักกีฬาตะกร้อไทย แต่ยังติดใจนักกีฬาประเทศเพื่อนบ้านด้วย

เมื่อดีมานด์สูงขึ้น บริษัทก็ขยายกำลังการผลิตด้วยการตั้งศูนย์การผลิตแห่งใหม่ย่านบางแค และยังจัดตั้งบริษัทอีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท นันยางอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ตามลำดับ และย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ถนนสี่พระยา ย่านบางรัก

แม้ดูเหมือนจะไปได้สวย แต่เมื่อเข้าสู่ยุคใหม่ที่กระแสต่างๆ ถาโถมเข้ามา นันยางเองก็ต้องปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน

ภายใต้เจเนอเรชั่นที่ 3 ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงอย่าง “ชัยพัชร์ ซอโสตถิกุล” และน้องเล็กรุ่นที่ 3 “จักรพล จันทวิมล” พวกเขาพานันยางปรับตัวด้วยการนำกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ เข้ามาเสริมคุณภาพซึ่งเป็นความแข็งแกร่งของแบรนด์อยู่แล้ว

พวกเขาทำอะไรรับเทรนด์และกระแสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบ้าง ลองมาดูกัน

-ตอกย้ำเรื่องวัสดุ ที่ว่ารองเท้าของนันยางทุกคู่ใช้ยางพาราไทย 100%

-ออกรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนหญิง เจาะตลาดกลุ่มใหม่

-ออกรองเท้าแตะช้างดาวรุ่นสำหรับพระสงฆ์

-ออกรุ่น Nanyan Red สำหรับแฟนๆ ลิเวอร์พูล

-ช่วงกระแสรักษ์โลกมาแรง นำรองเท้าแตะช้างดาวกับขยะรองเท้าแตะทั่วไป มา Upcycled แตกไลน์สู่รุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นอย่าง KHYA (ขยะ) รองเท้ารักษ์โลกสุดเก๋

-เปิดตัวกระเป๋า “Nanyang Bag 2020” ที่นำเอาป้ายไวนิลโฆษณามารีไซเคิล

-เกาะกระแสกลุ่มตลาดออนไลน์ของจุฬาฯ และ มธ. เปิดตัวรองเท้าแตะรุ่น COVID Edition เวอร์ชั่นลูกแม่โดม-รั้วจามจุรี

-ช่วงโควิดออกผลิตภัณฑ์ใหม่ “Nanyang Have Fun” คือ รองเท้าผ้าใบนักเรียนที่ไม่ต้องผูกเชือก ตอบโจทย์ชีวิตวิถีใหม่ ลดโอกาสสัมผัสเชื้อโรคลง

-นำแบรนด์ช้างดาวร่วมกับห่านคู่ ออกสินค้าที่มีการออกแบบร่วมกัน คือ เสื้อ กระเป๋า รองเท้า ในชื่อรุ่นว่า Legendary Edition

และนี่ก็คือเรื่องราวของ ‘นันยาง’ ที่ยืนหยัดอยู่ได้จากจุดเริ่มต้นของการมองเห็นโอกาส สร้างความสำเร็จด้วยคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า และคงความเก๋าให้อยู่ได้ทุกยุคสมัยด้วยการปรับตัวและทำความเข้าใจผู้บริโภคนั่นเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า