SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุป สภาฯ ยังไม่ได้ลงมติ ‘พ.ร.ก.แก้ไขพ.ร.บ.อุ้มหาย’ หลังพรรคร่วมรัฐบาล ยื่นส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 172 หรือไม่

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดพิเศษ วันนี้ (28 ก.พ. 66) ซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลา 9.30 น. มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เหลือปฏิบัติหน้าที่ได้จำนวน 405 คน

โดย ส.ส.ได้ใช้เวลาอภิปราย ในการพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ที่รัฐบาลเสนอมา ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ที่รัฐบาลเสนอ เพื่อเลื่อนบังคับใช้ มาตรา 22-25 เป็นวันที่ 1 ต.ค. 2566 ด้วยเหตุผล หน่วยงานระดับปฏิบัติ คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่พร้อม โดยเฉพาะเรื่องจัดซื้ออุปกรณ์ ซึ่งวันนี้ทาง พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มาชี้แจงต่อสภาฯ เอง

การอภิปรายดำเนินต่อไป จนกระทั่งเวลาประมาณ 13.35 น. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้แจ้งว่า นายนิโรธ สุนทรเลขา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล ประธานวิปรัฐบาล ได้เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาฯ ว่า พ.ร.ก.ดังกล่าว ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรค 1 ให้ประธานส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 3 วัน นับแต่วันที่รับความเห็น และให้รอการพิจารณาไว้ก่อนตามมาตรา 173 ทั้งนี้จากตรวจสอบมีจำนวน ส.ส. เข้าชื่อ 100 คน ซึ่งไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงให้ รอการพิจารณาพ.ร.ก.นี้ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวโดยสรุปว่า เป็นที่น่าเสียใจที่กระบวนการพิจารณาของเราไม่แล้วเสร็จ ฟังจากสมาชิกส่วนใหญ่ที่อภิปราย ทุกคนขึ้นมาไม่อนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับนี้ การยื่นศาลรัฐธรรมนูญของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล จำเป็นต้องตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อเห็นแนวโน้มว่าจะถูกคว่ำ ก็ไปปรับใช้อีกช่องทางด้วยการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อดึงจังหวะออกไป

“จะเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ของรัฐสภาไทย ที่ชงโดย ครม. กินโดยครม. และก็อุ้มหายโดยครม.เอง น่าอับอายนะครับท่านประธาน มันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น สิทธิในการยื่นเพื่อจะไม่ให้อนุมัติ มันควรเป็นเสียงที่เห็นตรงข้ามว่าไม่ควรอนุมัติ ถ้าอนุมัติจึงยื่น ทุกคนเห็นหมดควรจะไม่อนุมัติ การยื่นครั้งนี้มันจึงแปลเจตนาอื่นไม่ได้เลย อาศัยกลไกของศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 60 วันในการวินิจฉัย ท่านมีเวลาถึง 2 เดือนที่จะระงับยับยั้งกฎหมายฉบับนี้ไว้ ในช่วงนี้ก็มีการบังคับใช้ไปตามพ.ร.ก.ที่ท่านออก ส่งต่อไปถึงรัฐบาลชุดหน้ายาวเลย กระบวนการต่างๆ ที่มีคนตั้งข้อสงสัย เพื่อให้ได้มาซึ่งการเลื่อนบังคับใช้ ที่จะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนที่แท้จริงหรือเปล่ามันก็เลยมีคำถามอยู่ตลอด” นพ.ชลน่าน

นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ในการยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ตั้งข้อสังเกตอื่นไม่ได้ว่า เป็นการระงับยับยั้ง อำนาจของสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น ความเสียหายเกิดขึ้น เช่น ในระหว่างเลือกตั้ง ถ้าพบว่า มีการใช้อำนาจล่วงละเมิดสิทธิของประชาชน คนที่เข้าชื่อเสนอ ต้องรับผิดชอบ เพราะไม่มีการให้ความเป็นธรรมในเรื่องสิทธิ

ด้าน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปรัฐบาล ได้ชี้แจงโดยสรุปถึงเหตุผลที่ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล ได้ยื่นเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ.ร.ก.ฉบับนี้ก่อนว่า ฝ่ายตนได้ยึดหลักนิติธรรม เมื่อได้ลงชื่อกันเพราะเห็นว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามเงื่อนไข ตามมาตรา 172 แห่งรัฐธรรมนูญ พวกเรามีข้อสงสัย และที่ฟังตั้งแต่เช้า ทุกคนเห็นด้วยว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่ชอบด้วย มาตรา 172 จึงมีความจำเป็นต้องยื่นให้ศาลวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 173

อีกทั้งการออก พ.ร.ก. ฉบับนี้ที่เกี่ยวข้อง กับมาตรา 22 -25 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอุ้มหาย แต่ยังมีพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการ พวกตนเป็น ส.ส.ก็มีจิตสำนึก เช่นเดียวกันในหลักนิติธรรม ในหลักสิทธิมนุษยชน และในหลักการที่เราจะต้องคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชน อยากให้ผู้นำฝ่ายค้านได้เคารพสิทธิของฝ่ายตนที่ได้ดำเนินการ โดยมีเหตุผล 3 ข้อ

1. การยื่นศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามมาตรา 173 และจะได้ปราศจากข้อสงสัยที่จะต้องถกเถียงต่อไปส่วนราชการก็จะได้ไปปฏิบัติได้

2. เป็นการร่นระยะเวลาลงมา ที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถ้าปล่อยไปให้ผ่าน พ.ร.ก.นี้ จะมีผลอีก 6 เดือนถึงวันที่ 1 ต.ค. 66 ถ้ายื่นศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 60 วัน 2 เดือนเท่านั้นเองที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมา ใน 2 เดือนนี้ ยังเชื่อมั่นว่า ส.ส. แม้จะอยู่ในช่วงไหนก็แล้วแต่ คนที่รักในสิทธิมนุษยชน เราต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป

3. ครั้งนี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ตนทำหน้าที่ในสภาฯ มา 9 สมัย ที่ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ได้ร่วมกันยื่นเสนอกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้เสนอ ลองคิดดูสิว่าพวกเราทุกคนรักและปกป้อง ที่จะประกันสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนหรือไม่” จึงขอยืนยันอีกครั้งว่า ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชวนได้กล่าวขอบคุณสมาชิกที่อยู่ร่วมทำหน้าที่ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา จากนั้นได้ให้ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้อ่านพระบรมราชโองการ พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญ ประจำปี ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 66

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ครม.เลื่อนบังคับใช้ ‘ร่างพ.ร.บ.ป้องกันทรมาน-อุ้มหาย’ เป็น 1 ต.ค. 66

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า