Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศ และการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการเร่งตัวของการเบิกจ่ายภาครัฐเป็นสำคัญ

โดยคาดว่าจีดีพีจะเติบโต 2.6% และ 3.0% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับตัวเลขเดิมที่ประเมินไว้ครั้งก่อนเมื่อ เม.ย. 2567 สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าอาจกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงไตรมาส 4/67

คาดว่า กนง. มีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้าจากเศรษฐกิจไทยที่ยังอ่อนแอ ขณะที่การเติบโตระยะข้างหน้ายังมีจำกัด

โดย Krungthai COMPASS ประเมินว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวเพียง 2.3% จากมูลค่าส่งออกสินค้าซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่อาจเติบโตได้เพียง 0.5% ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศระยะข้างหน้ายังเปราะบาง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับต่ำ

กนง. มีมติข้างมาก ‘คง’ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมทั้งคงประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2567 และปี 2568

กนง. มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 3/2567 โดยมีสาระสำคัญดังนี้

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 2.6% ในปี 2567 และ 3.0% ในปี 2568 โดยเติบโตต่อเนื่องจาก 1.9% เมื่อปี 2566 ด้วยแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศ และภาคการท่องเที่ยวซึ่งปรับตัวดีขึ้น รวมถึงการเร่งตัวของการเบิกจ่ายภาครัฐภายหลังการประกาศใช้ พรบ.งบประมาณรายจ่ายปี 2567

อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับต่ำ จากปัญหาเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยบางรายการเมื่อเทียบกับต่างประเทศ รวมถึงแรงกดดันด้านกำลังซื้อในตลาดโลก

ส่วนช่วงที่เหลือของปีนี้ จะต้องติดตามทิศทางการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและการผลิต ตลอดจนความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในระยะข้างหน้า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ที่ 0.6% และ 1.3% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงเดือน เม.ย. และ พ.ค. ได้กลับมาเป็นบวก ส่วนหนึ่งจากผลของฐานที่ต่ำเมื่อปีก่อน ประกอบกับราคาพลังงานในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นตามการทยอยลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล

ขณะที่ราคาอาหารสดโดยเฉพาะกลุ่มผัก ผลไม้ และไข่ไก่ เร่งตัวขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงตามสภาพอากาศร้อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ที่ 0.5% และ 0.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ

ภาวะการเงินโดยรวมทรงตัว โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์ใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้สินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมขยายตัว ส่วนในกลุ่ม SMEs ซึ่งบางส่วนมีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อนั้น จำเป็นต้องใช้มาตรการช่วยเหลือแบบตรงจุด เช่น มาตรการค้ำประกันสินเชื่อ

สำหรับสินเชื่อในภาคครัวเรือนนั้นชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิตซึ่งคุณภาพสินเชื่อต่างด้อยลง ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวผันผวน โดยอ่อนค่าตามทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อีกทั้งยังได้รับผลกระทบจากประกอบกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจในประเทศช่วงที่ผ่านมา

การดำเนินมาตรการเฉพาะจุดผ่านสถาบันการเงิน โดยเฉพาะมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ควรมีอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง กระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (debt deleveraging) รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ตลอดจนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหา จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบการเงินในระยะยาว

Implication:

Krungthai COMPASS ประเมินว่ามีโอกาสที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า เนื่องจากการฟื้นตัวของไทยอ่อนแอและการเติบโตระยะข้างหน้ายังมีจำกัด

Krungthai COMPASS คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวเพียง 2.3% ต่ำกว่าการคาดการณ์ของ กนง. ที่ 2.6% จากการส่งออกสินค้าซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่ยังฟื้นตัวได้ช้า โดยประเมินว่า การส่งออกมีแนวโน้มเติบโตได้เพียง 0.5% หลังจากที่หดตัวเมื่อปีก่อน

จากการค้าโลกที่อาจฟื้นตัวได้ช้าท่ามกลางแรงกดดันหลายด้านโดยเฉพาะปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์และการแยกขั้ว ประกอบกับสินค้าส่งออกของไทยเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันและความต้องการสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ

สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย. 2567 ซึ่งมีมูลค่า 23,279 ล้านดอลลาร์ หากจะทำให้การส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ขยายตัว 0.5% ตามที่ประมาณการไว้ข้างต้นแล้ว มูลค่าการส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจะต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 23,964 ล้านดอลลาร์ จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง

อีกประการหนึ่งคือมูลค่าการส่งออกของไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปียังเติบโตได้ต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค แนวโน้มการส่งออกที่ฟื้นตัวอย่างจำกัดจะเป็นปัจจัยที่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีนี้

นอกจากนี้ Krungthai COMPASS ประเมินว่ากำลังซื้อภายในประเทศยังอ่อนแอ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อหมวดพื้นฐานที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉลี่ย 5 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 0.42% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดโควิด-19 (ปี 2560-2562) ที่ 0.6%

และแม้การบริโภคภาคเอกชนจะเติบโตได้ดีในไตรมาสที่ 1 แต่ส่วนหนึ่งมากจากการใช้จ่ายในหมวดโรงแรมและร้านอาหารตามการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวเป็นหลัก ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดอื่นยังเติบโตได้ต่ำหรือหดตัว เช่น หมวดยานยนต์

สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ โดย 4 เดือนแรกของปีหดตัว 23.5%YoY อีกทั้ง มูลค่าโอนที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาสที่ 1 ติดลบถึง 13.4%YoY จากทั้งบ้านจัดสรรและอาคารชุดที่หดตัว สะท้อนว่าอุปสงค์ภายในประเทศยังมีความเปราะบาง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า